อัปเดต บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำขยับเป็น 8% ตามประกาศแบงก์ชาติ เริ่ม 1 ม.ค.67
เมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาประกาศเรื่องบัตรเครดิต ให้ทำการจ่ายขั้นต่ำขยับเป็น 8% ตามประกาศแบงก์ชาติ ที่จะเริ่มต้นในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งปรับจากอัตราการผ่อนชำระจากเดิม 5% เป็น 8% ของยอดเงินตามใบแจ้งยอดบัญชี แต่ไม่ต่ำกว่า 300 บาท ในวันนี้เราจะมาอัปเดต บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำขยับเป็น 8% ตามประกาศแบงก์ชาติ เริ่ม 1 ม.ค.67 ที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้ามาช่วยแก้หนี้ หรือซ้ำเติม เราควรเริ่มวางแผนการเงินใหม่หรือไม่? ซึ่งเราจะพาไปดูรายละเอียดต่าง ๆ แบบเจาะลึกพร้อม ๆ กัน
ข้อควรรู้ รายได้บริษัทบัตรเครดิตมาจากไหน
ก่อนอื่นเลยก็ต้องรู้ก่อนเลยว่ารายได้ของบัตรเครดิตนั้นมาจากไหนซึ่งโดยปกติจะแบ่งสัดส่วนของรายได้มาจาก 3 ช่องทางหลักได้แก่
- ค่าธรรมเนียม เนื่องจากบัตรเครดิตส่วนใหญ่จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรายปี โดยจะมีการแจ้งรายละเอียดการจัดเก็บให้ทราบอยู่ในใบสมัครบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็น 500, 1000, 1500, 2000 บาทรวมถึงค่าธรรมเนียมจากการใช้จ่ายในแต่ละครั้งที่หักจากผู้ถือบัตรในการชำระค่าสินค้า หรือบริการ
- ดอกเบี้ย อีกหนึ่งอย่างก็คือ “ดอกเบี้ย” ซึ่งมาจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินอนุมัติวงเงินให้ผู้ถือบัตรซึ่งเมื่อมีการใช้จ่ายตามยอดวงเงินแล้วไม่มีการชำระเงินคืนตามกำหนด ผู้ใช้ก็จะถูกคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนด
- รายได้อื่น ๆ นอกจากค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยแล้ว ก็ยังมีรายได้อื่น ๆ เช่น ค่าปรับการจ่ายค่าธรรมเนียมล่าช้า การทวงถามหนี้ ส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อใช้จ่ายในต่างประเทศ หรือค่าโฆษณา เป็นต้น
บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำ
ต่อมาก็จะพูดถึงการจ่ายขั้นต่ำของบัตรเครดิตขั้นต่ำซึ่งเป็นการจ่ายเงินคืนที่ใช้จ่ายเพียงสัดส่วนที่ธนาคาร หรือสถาบันทางการเงินกำหนดไว้ซึ่งในปัจจุบันจะอยู่ที่ 5% ของยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดซึ่งหากจ่ายขั้นต่ำเป็นประจำจะทำให้ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงถึง 16% ต่อปี ทั้งนี้ ธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย (Grace Period) ซึ่งถ้าหากยังไม่พ้นระยะเวลาตรงนี้ก็ไม่นับว่าเป้นหนี้บัตรเครดิต
สำหรับการเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำในวันที่ครบกำหนดชำระ ธนาคาร หรือสถาบันการเงินจะยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยและเริ่มคิดดอกเบี้ยรายวันตั้งแต่วันแรกที่จ่ายเงินสินค้าซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
- ส่วนที่ 1: คิดดอกเบี้ยจากยอดทั้งหมดที่จ่ายไปซึ่งนับจากวันที่จ่ายถึงวันก่อนครบกำหนดชำระ
- ส่วนที่ 2: คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินที่ยังไม่ได้จ่ายคืนซึ่งจะคิดดอกเบี้ยนับจากวันที่จ่ายยอดขั้นต่ำถึงวันสรุปค่าใช้จ่ายเดือนถัดไป
สิ่งที่ควรรู้ หากเลือกจ่ายยอดขั้นต่ำต่อไป ยอดหนี้และดอกเบี้ยก็จะทยอยเพิ่มขึ้นส่งผลให้ระยะเวลาผ่อนก้ยิ่งเพิ่มขึ้นซึ่งส่วนใหญ่ก็ผ่อนไม่หมดเป็นหนี้ทบไปเรื่อย ๆ
บัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำ ขยับเป็น 8% ตามประกาศแบงก์ชาติ เริ่ม 1 ม.ค. 67
หลังจากมีการออกประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่เตรียมปรับอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำเป็น 8% หลังลดเหลือ 5% เพื่อช่วยเหลือช่วง COVID-19 และในปี 2568 ก็จะปรับขึ้นอีกรอบไปใช้ในอัตรา 10% เพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็อาจจะทำให้ด้านผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตมีความกังวลถึงการเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตที่จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ถือบัตร รวมถึงธนาคารและสถาบันการเงินก็มีความกังวลเพราะอาจจะก่อให้เกิดหนี้เสีย (NPL) มากขึ้นซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตเมื่อมีการปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำจาก 5% เป็น 10%
ปี 2567 ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมปรับเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตขั้นต่ำเป็น 8% หลังลดเหลือ 5% เพื่อช่วยเหลือช่วง COVID-19 และปี 2568 จะปรับเพิ่มอีกกลับไปใช้อัตรา 10% เพื่อควบคุมระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง ด้านผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตแสดงความกังวลว่าการเพิ่มอัตราจ่ายยอดบัตรเครดิตจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ถือบัตรเพราะรายได้หลักของบัตรเครดิตมาจากดอกเบี้ยที่เก็บมาจากผู้ที่ชำระยอดขั้นต่ำโดยมีสัดส่วนประมาณ 20 – 25% ซึ่งหากปรับเพิ่มก็อาจจะก่อให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น
แต่ในจุดนี้ธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กลุ่มผู้มีรายได้สูงก็อาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่สำหรับธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ออกบัตรให้กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำอาจจะได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงในมุมผู้บริโภคเองที่เตรียมตัวรับผลกระทบอย่างเต็มที่เพราะส่วนใหญ่จะมีหนี้บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 1 ใบจึงยิ่งเพิ่มโอกาสการเกิดหนี้เสียให้สูงมากขึ้น
และยังมีความกังวลอีกเรื่องจากการที่ชมรมธุรกิจบัตรเครดิตเตรียมหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อขอขยายเพดานดอกเบี้ยบัตรเครดิตจาก 16% เป็น 18% ซึ่งหากดูภาพรวมแล้วนับว่ามีผลกระทบเชิงลบต่อทั้งระบบและอาจจะไม่ได้แก้หนี้ครัวเรือนอย่างที่ธปท. ต้องการจึงอาจจะเป็นช่วงเวลาที่จะต้องหันกลับไปมองปัญหาเชิงโครงสร้างเนื่องจากครัวเรือนมีรายได้ไม่พอจ่ายซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการยังขาดความรู้ในการจัดการปัญหาด้านการเงินส่วนบุคคลและความรู้ทางการเงินพื้นฐานอื่น ๆ ที่จะช่วยการป้องกันการก่อหนี้เกินตัว
การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับบัตรเครดิต จ่ายขั้นต่ำขยับเป็น 8% ตามประกาศแบงก์ชาติในมกรา 67 อาจจะส่งผลกระทบเชิงทั้งระบบอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตามหากยังไม่มีท่าทีจากธปท.ที่จะเปลี่ยนมาใช้อัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตเดิมขั้นต่ำที่ 5% ก็อาจจะต้องทำให้ถึงเวลาที่ผู้บริโภคต้องปรับตัว