การคำนวณเบี้ยประกันรถยนต์จะคำนวณตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ตัวกำหนดพิกัดราคาเบี้ยประกัน เป็นการประเมินอัตราเบี้ยประกัน เป็นผลมาจากการวิเคราะห์สถิติที่เกี่ยวข้องกับวินาศภัย โดยวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา และคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต การวิเคราะห์ที่ว่านี้ เป็นการวิเคราะห์ด้วยศาสตร์ที่เรียกว่า “คณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial science)” องค์ประกอบหลักคือ
- พฤติกรรมคนใช้รถ ราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมการขับรถ และการเคลมประกันในอดีตของคนรุ่นพ่อแม่คุณ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าคุณอยากให้อัตราเบี้ยประกันรถยนค์ในอนาคตถูกลง มันก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน และความซื่อสัตย์ในการเคลมประกันของคนรุ่นใหม่
ก่อนวางแผนซื้อรถ หลายคนคงไม่ทันได้นึกถึง หลังจากที่คุณซื้อรถมาแล้ว อาจมีค่าใช้จ่ายที่มากมายตามมาได้ รวมถึงเบี้ยประกันด้วย ถ้าอยากทราบว่าประกันภัยรถยนต์สำหรับรถยนต์นั่ง เป็นอย่างไร คุณสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คปภ. (สำนักงานกำกับและส่งเสริมธุรกิจการประกันภัย) www.oic.or.th
ทำความเข้าใจพิกัดอัตราเบี้ยประกันรถยนต์นั่ง
ในที่นี้เราขอยกตัวอย่างรถยนต์นั่ง (รถไม่เกิน 7 ที่นั่งรวมคนขับ) สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล (รหัส 110) และการใช้เพื่อการพาณิชย์ (รหัส120) มีการกำหนดอัตราพื้นฐาน อัตราตามการประเมินความเสี่ยง และอัตราตามความคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
ตารางที่ 1 เบี้ยประกันพื้นฐาน
ค่าตัวเลขในตารางนี้ จะใช้เป็นฐานตั้งต้นในการคำนวณเบี้ยประกันตามองค์ประกอบอื่น ๆ ต่อจากนี้ไป โดยกำหนดช่วงที่บริษัทประกันภัยจะนำไปใช้คำนวณ ดังนี้
ตารางที่ 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงภัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถที่นำมาประเมินเบี้ยประกันภัย จะประกอบด้วย ลักษณะการใช้รถ, ขนาดรถยนต์ (เครื่องยนต์), อายุผู้ขับขี่, อายุรถยนต์, จำนวนเงินที่เอาประกันภัย และกลุ่มรถยนต์ (จัดตามราคาอะไหล่และค่าซ่อม)ดังนี้
หมายเหตุ : ลักษณะการใช้รถทั้งหมด สามารถแบ่งออกมาได้ 10 แบบด้วยกัน ที่ถือว่ามีอัตาเสี่ยงที่แตกต่างกันไป นั่นคือ การใช้ส่วนบุคคล, ใช้เพื่อการพาณิชย์, ใช้เพื่อรับจ้างสาธารณะ, ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ (ขนส่งที่มีความเสี่ยงสูง อย่าง ก๊าซ น้ำมัน ฯลฯ), รถยนต์ป้ายแดง (สำหรับผู้ค้ารถยนต์หรืออู่ซ่อม), รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถใช้ในการเกษตร, รถใช้ในการก่อสร้าง และอื่น ๆ (ที่ไม่สามารถจัดกลุ่มได้)
หมายเหตุ: กรณีมี 2 คนจะถือว่าเอาอายุที่มีความเสี่ยงมากกว่าเป็นเกณฑ์
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย : เริ่มต้นที่ 50,000 บาท สูงสุดที่ 60 ล้านบาท ในที่นี้แสดงเป็นตารางย่อ ๆ สำหรับรถยนต์นั่ง (รถขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่งรวมคนขับ) สำหรับใช้งานส่วนบุคคลหรือใช้เพื่อการพาณิชย์ ให้พอเข้าใจภาพดังนี้
กลุ่มรถยนต์ : จะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานค่าอะไหล่ และค่าซ่อม ซึ่งจะแจกแจงยี่ห้อ / รุ้นไว้ถ้วมีได้ระบุไว้ จะอนุโลมใช้ยี่ห้อหรือรุ่นใกล้เคียง ค่าความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มไว้ ดังนี้
ตัวอย่างรถแต่ละกลุ่ม
- กลุ่มที่ 1 ได้แก่ รถระดับหรู หรือพวกรถนำเข้าทั้งคน อย่าง Bentley, Cadillac, Jaguar
- กลุ่มที่ 2 ได้แก่ รถบน หรือที่ไม่ค่อยมีในตลาด หาอะไหล่ยาก อย่าง Volvo, Citroen, Holden, Opel Calibra/Omega/Vectra, Saab, Rover, Toyota Crown
- กลุ่มที่ 3 จะเป็นแบบกลุ่มที่ 2 แต่ยังพอหาอะไหล่ได้ง่ายกว่า อย่าง Fiat, Ford, Hyundai, Mazda Astina / Cronos, Honda Accord / Civic / CRV
- กลุ่มที่ 4 – 5 จะเป็นรถทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่าง
ตารางที่ 3 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3
การคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3 เป็นการเพิ่มเงินคุ้มครอง โดยเพิ่มจากที่เกินความจำกัดของความรับผิดชอบพื้นฐาน (เช่น พ.ร.บ./ความคุ้มครองพื้นฐานตามวงเงินเอาประกันตามตาราง 2) แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 แบบ นั่นก็คือ
- ความรับผิดชอบต่อความบาดเจ็บ หรือมรณะของบุคคลภายนอก หรือผู้โดยสารในรถ (ที่เรียกว่า บจ.)
- ความรับผิดต่อความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอก (หรือเรียกว่า ทส.)
วงเงินที่เพิ่มสำหรับ บจ. เริ่มต้นที่ 100,000 บาท/คน หรือ10 ล้านบาท/ครั้งจนถึงไม่จำกัด (Unlimited) ส่วน ทส. จะเริ่มต้นที่ 200,000 บาท / ครั้งจนถึงไม่จำกัด
ตัวอย่างบางส่วนสำหรับกรมธรรม์ประเภท 1
ตารางที่ 4 อัตราเบี้ยประกันสำหรับการประกันภัยเพิ่มเติม
การประกันเพิ่มเติมจะประกอบด้วย ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (รย.01) ประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย.02) และการคุ้มครองการประกันต้นผู้ขับขี่ (รย.03)
การคุ้มครองประกอบด้วย
- การสูญเสีย ชีวิต
- สูญเสีย มือ เท้า สายตา
- ทุพพลภาพถาวร
- ทุพพลภาพชั่วคราว
ตัวอย่างตารางอัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (รย.01)
ตารางอัตราเบี้ยประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ
ประเภทรถยนต์ : รถยนต์นั่ง (รหัส 110 120) การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (ร.ย. 02): อัตราเบี้ยประกันไม่เกิน
- สำหรับรถรหัส 110
- สำหรับรถรหัส 120
ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดเป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานที่ทางบริษัทประกันภัยต่าง ๆ จะนำไปเป็นฐานหลักในการคำนวณเบี้ยประกันภัยให้กับลูกค้าที่ทำประกัน สำหรับตัวอย่างการคำนวณคุณสามารถอ่านต่อในบทความ “การคำนวณเบี้ยประกันรถยนต์ (ตอนที่ 2)” เพื่อเป็นแนวทางในการคำนวณหาเบี้ยประกันภัย ซึ่งคุณสามารถวางแผนและบริหารเงินได้ดีขึ้น
หมายเหตุ : ข้อมูลภายในตารางเรานำมาจาก (คปภ.) โดยตรงเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2559