ปัญหาที่สามารถเกิดได้กับทุกคนในกรณี ค้างค่ารถ หรือผ่อนชำระล่าช้า ซึ่งส่วนใหญ่นั้นหากค้างแค่ 1-2 งวดจะมีค่าปรับจาการทวงถามและการจ่ายล่าช้า ซึ่งกรณีนี้ยังถือเป็นเรื่องปรกติแต่หากปล่อยค้างถึงงวดที่ 3 จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันทีเพราะมีสิทธิโดนยกเลิกสัญญาเช่าซื้อ มีสิทธิโดนยึดรถ ซึ่งวันนี้มีแนวทางการแก้ปัญหาที่สามารถลดความกังวลใจไปได้มาแนะนำกัน
กรณี ค้างค่ารถมากกว่า 1 งวด แต่ไม่ถึง 3 งวด
หากมีปัญหาในการผ่อนชำระหรือต้องจ่ายล่าช้า สิ่งแรกที่ควรทำคือแจ้งกับไฟแนนซ์ทันทีคือให้โทรไปติดต่อกับพนักงานของไฟแนนซ์ที่เราผ่อน แจ้งเลขที่สัญญาและนัดวันชำระพร้อมทั้งสอบถามรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหากจ่ายล่าช้าต้องจ่ายอะไรบ้าง หากค้างสองงวดแล้วต้องชำระอย่างไรเช่น ชำระสองงวดเสียเท่าไหร่ หรือ จ่ายก่อน 1 งวดค้าไว้ 1 งวดจะโดนค่าล่าช้าเท่าไหร่และมีผลเสียหายอะไรหรือไม่นอกจากเครดิตบูโร ซึ่งหากคำนวณค่าใช้จ่ายแล้วคิดว่าเดือนนี้จ่ายไม่ทันแน่ๆ ให้โทรไปติดต่อล่วงหน้าดีกว่าที่จะโดนโทรตามหรือปล่อยไว้เป็นดินพอกหางหมู
กรณีค้างค่ารถเกิน 3 งวด
ปัญหานี้ค่อนข้างจะหนักพอสมควรเพราะค่างวดรถไม่ใช่ถูกๆ และหากค้างถึง 3 งวดทางไฟแนนซ์มีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้และมีสิทธิ์มายึดรถคืนด้วย และการจ่ายชำระหากค้าง 3 งวดส่วนใหญ่จะต้องจ่ายครบทีเดียวทั้ง 3 งวดพร้อมด้วยค่าปรับและค่าต่อสัญญาและบางแห่งอาจมีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก ซึ่งในกรณีนี้หากสามารถชำระ 3 งวดได้ควรจ่ายให้หมดหรืออย่างน้อยต้องจ่าย 2 งวดเพื่อลดยอดค้างลงแต่ก็ยังโดนค่าปรับตามที่กล่าวมาอยู่ดี ส่วนในกรณีจะมีการยึดรถนั้น ทางไฟแนนซ์ไม่สามารถกระทำโดยพละการได้ พนักงานที่มายึดรถต้องมีหนังสือจากไฟแนนซ์มาด้วย ซึ่งมีผู้รู้ให้คำแนะนำดังนี้
ให้ตรวจสอบพนักงานที่มาทำการยึดรถ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากทางไฟแนนซ์ พนักงานต้องมีบัตรพนักงานหรือหนังสือและบัตรประชาชนยืนยันการได้รับอำนาจโดยชอบธรรม หากพนักงานปฏิเสธให้ดูเอกสารต่างๆให้แจ้งความได้ทันทีในข้อหาข่มขู่ร่วมกันลักทรัพย์ และในการยึดรถผู้เช่าซื้อต้องค้างชำระค่าเช่าซื้อรวม 3 งวด และต้องค้างชำระติดต่อกันทั้งสามงวด รวมระยะเวลาบอกกล่าวจากผู้เช่าซื้อล่วงหน้าอีก 1 เดือน รวมเป็นยอดค้างทั้งหมด 4 งวดติดต่อกัน จึงจะสามารถเข้าไปยึดรถกลับคืนมาได้ และในมาตรา 574 ยังกำหนดไว้ชัดเจนว่า การจะกลับเข้าครองทรัพย์สินที่เช่าซื้อ จะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดเกินไปอีกงวดหนึ่ง ดังนั้นการยึดรถของสถาบันการเงิน หากมีการยึดก่อน 4 งวด จึงเป็นการยึดที่มิชอบด้วยกฎหมาย ผู้เช่าซื้อมีสิทธิฟ้องกลับได้ทันที และผู้เช่าซื้อสามารถร้องเรียนได้ที่ สคบ.อีกทางหนึ่งด้วย
ซึ่งมีกรณีศึกษาจาก คำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ 2677/2547 ระบุอย่างชัดเจนว่า เมื่อยังไม่ได้ให้เวลาพอสมควร ให้ผู้เช่าซื้อชำระจำนวนเงินที่ค้างชำระ ถึงแม้จะค้างชำระ 3 งวด ไม่ถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญา ไฟแนนซ์ไม่มีสิทธิยึดรถคืน ถือว่าเป็นการยึดรถโดยละเมิด ทำให้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลง ไฟแนนซ์ต้องคืนเงินค่างวดที่ค้างชำระทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย แต่มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์จากผู้เช่าซื้อ สรุปคือ ถ้าไฟแนนซ์เข้ายึดรถก่อนครบ 4 งวด ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ ผิดกฎหมายและประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 ข้อ 3 (4) บัญญัติว่าผู้ให้เช่าซื้อสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด 3 งวดติด ๆ กัน และผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย 30 วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสีย ไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าว (ข้อมูลการยึดรถจาก สมาชิกหมายเลข 1888126 pantip.com)
ดังนั้นจากคำแนะนำของผู้รู้ที่ได้มาบอกเล่าเรื่องการยึดรถอย่างถูกต้องนั้น หมายความว่าหากค้างค่างวดถึง 3 งวดผู้เช่าซื้อยังมีเวลาพอที่จะเคลียร์ยอดค้างส่วนนั้นแต่ต้องไม่ปล่อยไว้เกิน 4 เดือนเพราะไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายยึดรถตามกฎหมายได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือหากรู้ว่าต้องมีปัญหากับการจ่ายชำระควรรีบติดต่อพนักงานและหาทางแก้ไขอย่าปล่อยไว้จนเป็นดินพอกหางหมูแล้วแก้ไม่ได้เพราะจำนวนเงินมันเยอะ และควรคิดให้รอบคอบก่อนซื้อรถซื้อมาแล้วผ่อนไม่ไหวกลายเป็นหนี้เสียทำให้ตัวเองเสียเครดิตไปอีกต่างหาก
ไม่อยากเสี่ยงโดนยึดรถ ถ้าเงินไม่พอจ่ายค่างวดรถ สินเชื่อบุคคลซิตี้ ช่วยคุณได้ คลิกที่นี่