ประเภทของกองทุน กองทุนรวมถือว่าเป็นเครื่องมือ ในการลงทุนที่มีความหลากหลาย จึงจำเป็นอย่างมากที่คุณต้องทำความเข้าใจและศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของกองทุนรวม ให้ดีเสียก่อน ว่ามีความเหมาะสม และมีความสอดคล้องกับลักษณะในการลงทุนของคุณหรือไม่ หรือเหมาะกับคุณมากน้อยเพียงใด กองทุนรวมสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามนี้เลยค่ะ
แบ่งตามประเภทของการขายคืน หน่วยลงทุน สามารถแบ่งตามลักษณะของการจัดจำหน่าย และการไถ่ถอนคืนหน่วยลงทุนได้เป็น 2 ประเภท นั่นก็คือ “กองทุนแบบเปิด” และ “กองทุนแบบปิด” กองทุนรวมทั้ง 2 มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับความต้องการความคล่องตัว สามารถถอนตัวจากการลงทุน ได้ในทันทีตามความต้องการของคุณทุกเมื่อ เราของพูดถึงกองทุนแบบเปิดก่อนแล้วกันว่า เป็นอย่างไร
กองทุนแบบเปิด
เป็นกองทุนรวมชนิดที่อาจมีการกำหนดอายุของโครงการ หรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญก็คือ บลจ.สามารถที่จะขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมและต่อเนื่องได้ หลังจากที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในครั้งแรกไปแล้ว รวมถึงสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุน จากผู้ลงทุนได้เมื่อใดก็ได้ ตลอดเวลา โดยในทางปฏิบัติ บลจ. มักจะมีข้อกำหนดเกี่ยวกับระยะเวลาในการขาย ตลอดจนการรับซื้อคืนไว้ก่อนล่วงหน้า โดยอาจเปิดให้ทำการซื้อขายได้ทุกวันทำการ สัปดาห์ละครั้ง หรือเดือนละครั้ง หรืออาจจะเป็นปีละ 2 ครั้ง นั่นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดขึ้น
อย่างก็ตาม ผู้ลงทุนควรจะอ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขาย ตลอดจนการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากหนังสือชี้ชวน (Prospectus) ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนอาจจะยังไม่ทราบว่า ราคาซื้อขายหน่วยลงทุนจะเป็นเท่าไรในทันที ณ เวลาที่ทำรายการ สั่งซื้อขาย เนื่องจากต้องคอยจนกว่าจะมีการคำนวน NAV ต่อหน่วยของกองทุน ณ สิ้นวันทำการเสียก่อน นอกจากนี้ ขนาดของกองทุนยังสามารถขยายหรือลดลงได้อีกด้วย เนื่องจาก บลจ.สามารถขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ และผู้ลงทุนเองก็ยังสามารถนำหน่วยลงทุนมาขายคืนให้กับ บลจ.หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย กองทุนประเภทนี้จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากนักลงทุนในกองทุนรวมทั่วไปนั่นเอง
กองทุนแบบปิด
สำหรับกองทุนแบบปิด นั่นเป็นกองทุนรวมชนิดที่ บลจ.ไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยจะมีการกำหนดอายุ โครงการไว้อย่างชัดเจน และการกำหนดวันอย่างแน่นอน เปิดให้คุณได้จองหน่วยลงทุนเพียงครั้งเดียว เมื่อเริ่มโครงการหลังจากนั้นก็จะไม่มีการออกขายหน่วยลงทุน เพิ่มเติมแต่อย่างใด ทำให้จำนวนของหน่วยลงทุนของกองทุนคงที่ไม่มีการเพิ่มขึ้น หรือลดลง
นอกจากนี้ ผู้ลงทุนเองก็ยังไม่สามารถที่จะขายหน่วยลงทุนให้แก่ บลจ.หรือตัวแทนสนับสนุนการขายได้ ก่อนครบกำหนออายุของโครงการ คุณจะต้องถือเอาไว้เพื่อรอขายคืน เมื่อครบกำหนดอายุของโครงการเท่านั้น เพราะทาง บลจ.จะนำเงินที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ หรือ ทรัพย์สินทั้งหมด ที่อยู่ในกองทุนมาซื้อคืน หรือรับไถ่ถอนหน่วยลงทุน ก็ต่อเมื่อกองทุนหมดอายุลง (ราคาที่บลจ.รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจะมีมูลค่าเท่ากับ NAV ต่อหน่วย เมื่อครบกำหนดอายุโครงการแล้ว) ดังนั้น ก่อนที่คุณจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแบบปิด คุณควรที่จะทำความเข้าใจในเงื่อนไขและศึกษาเพิ่มเติม คุณควรจะพิจารณาให้ดีก่อนว่าระยะเวลาการ ลงทุนในกองทุนนั้น ๆ มีความสอดคล้องและ มีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่คุณต้องการใช้เงินในอนาคตหรือไม่ อย่างไร
ทั้งนี้ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนแบบปิดถือเป็นการลงทุนในระยะยาว และมีสภาพคล่องในการซื้อขายน้อย อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับการซื้อขาย ในหน่วยลงทุนของคุณ ทาง บลจ.สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนปิดที่คุณเป็นผู้บริหารไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรองได้ อย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่คุณต้องไม่ลืมว่า การซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ นั้น ๆ ผู้ลงทุนจะต้องมีการเปิดบัญชีซื้อขายกับบริษัทหลักทรัพย์ (Broker) เสียก่อน คุณจึงสามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้
ตารางเปรียบเทียบกองทุนแบบปิด และกองทุนแบบเปิด
กองทุนแบบปิด
|
กองทุนแบบเปิด
|
|
จำนวนหน่วยลงทุน
|
คงที่ ไม่เพิ่ม ไม่ลด
|
เพิ่ม หรือลดลงได้
|
อายุโครงการ
|
มีกำหนดที่แน่นอน
|
อาจมี หรือไม่มีกำหนด (Evergreen)
|
การซื้อขายหน่วยลงทุน
|
เปิดจองให้ซื้อได้ครั้งเดียวเมื่อเริ่มโครงการ โดยบลจ.จะไม่รับซื้อคืนหน่วยลงทุนจนกว่าจะครบอายุโครงการ แต่สามารถซื้อหน่วยลงทนเพิ่มเติม หรือขายคืนได้เฉพาะกรณีที่ บลจ.นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง หรือมีการแต่งตั้งตัวแทนจัดการซื้อขายขึ้น
|
สามารถซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม หรือขายคืนให้กับบลจ.โดยตรง หรืออาจติดต่อผ่านทางตัวแทนสนับสนุนการขายได้ ตามกำหนดเวลาที่ได้ระบุเอาไว้ให้หนังสือชี้ชวน
|
การจดทะเบียนซื้อขาย
|
นิยมจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรองอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
|
ไม่นิยมจดทะเบียนซื้อขายหน่วยลงทุนในตลาดรอง เพราะมีสภาพคล่องอยู่แล้ว |
ราคาซื้อขาย
|
เป็นไปตามกลไกของตลาด กรณีที่มีการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดรอง |
มีมูลค่าเท่ากับ NAV ต่อหน่วย บวกหรือลบค่าธรรมเนียม (ถ้ามี) |
การประกาศมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ |
ประกาศให้ทราบทุกวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ |
ประกาศให้ทราบทุกวันทำการที่มีการซื้อขายหน่วยลงทุน |