การบอกเลิกสัญญาจ้าง เป็นสิ่งหนึ่งที่นายจ้างหรือเจ้าของกิจการนั้นรู้สึกไม่ค่อยอยากทำสักเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตกันไม่น้อยเลยล่ะ แต่ว่าในบางครั้งก็มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำการบอกเลิกสัญญาจ้างกับอีกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งความต้องการจัดระเบียบบุคลากร จำเป็นต้องมีการคัดคนที่ไม่ได้คุณภาพออกไป รวมไปถึงเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทเพื่อความอยู่รอดของคนส่วนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็ล้วนจำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาจ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น ไม่สามารถกระทำได้ด้วยเพียงคำพูดเพียงอย่างเดียว หรือเดินมาหาลูกจ้างพร้อมกับพูดคำว่าเชิญออก แต่จำเป็นที่จะต้องทำตามข้อกฎหมายบังคับด้วย โดยเราก็มีความรู้เล็กๆเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาจ้างดังนี้
การบอกเลิกสัญญาจ้าง เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
-
สัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างเอาไว้
-
สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้
โดยการบอกเลิกสัญญาจ้างทั้ง 2 แบบ ก็มีลักษณะดังนี้
สำหรับในกรณีที่ 1. สัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างเอาไว้
- เราสามารถทำการบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยทำเป็นหนังสือออกมาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยเราจะบอกล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
- หากนายจ้างเป็นฝ่ายที่ต้องทำการยกเลิกจ้างหรือเลิกจ้างงานในทันที นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
- เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชนให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541
สำหรับกรณีที่ 2. สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้
ในกรณีนี้ สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ซึ่งการที่นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างนั้น จำเป็นที่ต้องระบุสาเหตุไว้ด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะผิดกฎหมายได้และสูญเสียผลประโยชน์ของนายจ้างเองได้ โดยในส่วนนี้ มีสิ่งที่เราต้องควรรู้ดังนี้
- ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากนายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นมาอ้างทีหลังไม่ได้ ซึ่งข้อจำกัดนี้อยู่แค่ในส่วนของการห้องเรียกค่าชดเชน ไม่รวมถึงการฟ้องเรียกเงินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเรื่องเรียกค่าเสียหาย
- ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างพร้อมเหตุผล นายจ้างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น นายจ้างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการจ่ายเงินค่าชดเชยเสมอไป โดยยังมีกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ รวมไปถึงกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- เมื่อลูกจ้างจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- เมื่อลูกจ้างมีความประมาท จนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง
- เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือมีการฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่งของนายจ้างโดยว่าชอบด้วยกฎหมายและมีความเป็นธรรม และนายจ้างก็ได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ยกเว้นในบางกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนอย่างกรณีร้ายแรง (หนังสือเตือนให้มีผลบังคับไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด)
- เมื่อลูกค้างละทิ้งหน้าที่เป็นระยะเวลา 3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันควร
- เมื่อลูกจ้างได้รับโทษทางกฎหมายอย่างเช่นจำคุกตามคำพิพากษา ยกเว้นแต่การกระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ
เมื่อนายจ้างทำการบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างแล้ว หากเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยที่จะต้องมีการจ่ายเงินชดเชย นายจ้างจะต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 118 ในลักษณะดังนี้
- สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบอย่างน้อยหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย
- สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบหกปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้าย
- สำหรับลูกจ้างทำงานครบติดต่อกันสามปีแต่ไม่ถึงหกปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย
- สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ถึงยี่สิบปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้าย
- สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันยี่สิบปีขึ้นไป ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย
ซึ่งการจ่ายเงินของเลิกสัญญาจ้างนายจ้างตามมาตรา 118 ก็ได้รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยนะ พูดง่ายๆก็คือต่อให้ธุรกิจล้มละลาย แต่เมื่อว่าตามกฎหมายมาตรา 118 นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย