เราทุกคนล้วนรู้กันดีว่า ประเทศไทยนั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งอาหารของโลก มีการส่งออกสินค้าด้านเกษตรกรรม อย่างเช่น ข้าว ผลไม้ และสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่างๆอย่างเช่นยางพารา และอื่นๆอีกมากมาย นอกผลิตและส่งสินค้าจำพวกอิเล็คทรอนิกส์ให้กับประเทศต่างๆที่สั่งซื้อจากเรา ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถค้ำจุนประเทศและก็เป็นรายได้หลักให้แก่เกษตรกร ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ แต่ในปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้ว่ามี เกษตรกร หลายๆส่วนที่เริ่มประท้วงถึงราคาสินค้าที่พวกเขาได้ทำการผลิตและส่งออก เพราะว่ามีราคาที่ต่ำมากเกินไป มันเป็นเพราะอะไรกันล่ะ
ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจกับปัญหาราคาสินค้าส่งออกที่ต่ำ เรามาทำความเข้าใจกับเรื่องง่ายๆกันก่อน ถ้าหากว่าเรามีวัตถุดิบชนิด A ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครต่อใครก็ล้วนต้องการเพื่อที่จะนำไปผลิตเป็นสินค้าวางขาย แน่นอนว่าเราสามารถขายวัตถุดิบชนิด A ได้ในราคาที่เราต้องการ แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้ผลิต ได้ทำการลดกำลังการผลิตลง ทำให้วัตถุดิบชนิด A มีความต้องการน้อยลง ด้วยเหตุนี้วัตถุดิบ A จึงมีราคาที่ถูกลง
ซึ่งการที่ราคาในการรับซื้อสินค้ามีราคาถูกลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทที่นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยได้รับผลกระทบ ต้องทำการลดกำลังการผลิตลง วัตถุดิบจึงมีราคาต่ำลง สิ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยนั่นก็คือราคายางพารา ที่กำลังเป็นข่าวกันอยู่ เนื่องด้วยกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง ที่ผลิตสินค้าและส่งออกรถยนต์ลดลง กลุ่มประเทศที่มีการผลิตสินค้าที่ต้องใช้ยางพาราจากเราลดต่ำลง ทำให้ความต้องการยางพาราลดต่ำลงตามไปด้วย ส่งผลกระทบต่อราคายางพาราอย่างมาก
การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของเรา เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะเปรียบได้กับเป็นการแปรรูปสินค้าชิ้นนั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบ ซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มนั้นนอกจากจะทำให้สินค้าส่งออกของเรามีราคาสูงขึ้นแล้ว ยังสามารถนำเทคโนโลยีไปพัฒนาต่อยอดได้ด้วย โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มนั้น คือการนำสิ่งที่เรามีอยู่ มาทำให้มีคุณค่า มีราคามากยิ่งขึ้น หากใครยังนึกไม่ออกหรือนึกออกแล้วแต่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ลองนึกถึงเศษเหล็กดู เศษเหล็กนั้นอาจจะดูไร้ราคา แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่มีคนหัวใส คิดที่จะเปลี่ยนเศษเหล็กเหล่านั้น ให้เป็นสิ่งของที่มีคุณค่า มีราคาล่ะ ยางพาราก็เช่นกัน หากมีการเพิ่มมูลค่า จะทำให้ยางพารามีราคาเพิ่มขึ้นได้
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นวิธีการดั้งเดิมและช่วยเราได้อย่างมาก ซึ่งการลดต้นทุนการผลิตนั้น ยังช่วยให้มีกำไรเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้อาจทำให้สินค้าของเราเป็นที่นิยม และได้เปรียบกว่าสินค้าคู่แข่ง เพราะเราสามารถขายในราคาที่ถูกกว่าได้ สิ่งที่เราเห็นได้ชัดอย่างมากเลยก็คือเรื่องของราคาการส่งออกข้าวสารระหว่างไทยกับเวียดนาม ถึงแม้ว่าคุณภาพข้าวไทยจะดีมากก็ตาม แต่ด้วยต้นทุนการผลิตข้าวไทยที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศเวียดนาม ทำให้ข้าวจากเวียดนามมีราคาถูกกว่าส่งผลให้ราคาข้าวไทยตกต่ำลง ซึ่งการลดต้นทุนในสิ่งของบางสิ่งบางอย่างนั้น ก็ต้องการเวลาในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการช่วยลดต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายสักเท่าไหร่ เพราะผู้คนมักไม่เล็งเห็นถึงความสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา จึงทำให้ราคาสินค้ามีต้นทุนการผลิตที่สูง