บ่อยครั้งในเรื่องของการทำธุรกิจ การดูสภาวะทางการเงินของผู้บริโภคก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราลืมไม่ได้ก่อนที่จะทำธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่งเพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเลือกซื้อสินค้าหรือเลือกใช้บริการจากเรา เพราะถ้าหากว่าพวกเขาเหล่านั้นมีสภาพทางการเงินที่ดี มีความคล่องตัวสูง ก็จะทำให้พวกเขาเหล่านั้นกล้าที่จะใช้จ่ายเงินกันมากขึ้น แต่ในทางกลับกันหากพวกเขาเหล่านั้นมีสภาพทางการเงินที่ไม่ค่อยดี มีความคล่องตัวที่ไม่ดีเท่าที่ควร พวกเขาเหล่านั้นก็เลือกที่จะประหยัดเงินและเลือกซื้อสิ่งของเฉพาะที่ตัวเองจำเป็น ฉะนั้นแล้วการดูสภาพทางการเงินอีกฝ่ายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเลยล่ะ
จึงทำให้ หนี้ครัวเรือน เป็นสิ่งที่เราไม่ควรที่จะมองข้ามในส่วนนี้ เพราะว่าหนี้ควรเรือนเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบเลยล่ะ และในตอนนี้ดูเหมือนว่าภาคครัวเรือนจะมีระดับหนี้สูงกว่าของ 80% ของ GDP โดยเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศที่มีรายได้อยู่ระดับเดียวกัน และที่สำคัญระดับฐานะครอบครัวที่น่าเป็นห่วงไม่ใช่ครอบครัวที่มีฐานะดีหรือมีฐานะร่ำรวย แต่เป็นครอบครัวที่มีฐานะรายได้ต่ำเนื่องจ้างมีหนี้ที่ต้องชำระสูงกว่าครอบครัวที่มีรายได้ฐานะปานกลาง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเราต้องดูด้วยว่าหนี้สินเหล่านั้นเป็นหนี้สินที่เกี่ยวกับอะไรและเพื่ออะไร โดยในตอนนี้ก็มี 4 สถานการณ์ใหญ่ๆที่เกิดขึ้นดังนี้
- มีจำนวนสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินถึง 5 เท่า
- มีสภาพคล่องทางการเงินที่ต่ำ
- 36% ของรายได้ทั้งหมดต้องใช้ชำระหนี้
- มีการเติบโตของรายได้ลดต่ำลง
ซึ่งจาก 4 สถานการณ์ใหญ่ๆนี้ก็นับได้ว่าเป็นข้อมูลอย่างดีที่จะช่วยวิเคราะห์กำลังการซื้อของผู้บริโภคและวิเคราะห์ราคาสินค้าของเราที่เรากำลังจะวางขาย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดเจาะลึกเกี่ยวกับสภาพทางการเงินของคนทั่วไปว่าส่วนใหญ่มีรายละเอียดแบบไหน ดังนี้
-
อัตราการก่อหนี้
ในตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่มีสินทรัพย์ที่คิดเป็นประมาณ 5 เท่าของหนี้สิน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่ออุปโภคบริโภค ใช้จ่ายซื้อของต่างๆในชีวิตประจำวันรวมไปถึงการซื้อรถยนต์ และถัดมาก็เป็นการกู้เงินเพื่อที่อยู่อาศัย กู้เพื่อทำธุรกิจหรือการเกษตรตามลำดับ
-
สภาพคล่องของครัวเรือน
ในตอนนี้สภาพคล่องของหลายๆครัวเรือน ไม่ค่อยคล่องตัวเท่าที่ควรโดยประเมินจากสัดส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินต่อหนี้สินสินปัจจุบันของครัวเรือน ซึ่งในส่วนนี้จะชี้ให้เห็นถึงความสามารถในการชำระหนี้สิน โดยครัวเรือนไทยจะพบว่าส่วนใหญ่แล้วจะมีการถือครองสินทรัพย์ในมูลค่ามากก็จริง แต่ทรัพย์สินทางการเงินหรือสภาพคล่องทางการเงินสูงเพียง 10% ของสินทรัพย์ทั้งหมด หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งคือมีเงินที่สามารถใช้ได้ทันทีเพียง 10% ของสินทรัพย์ทั้งหมด
-
ภาระการชำระหนี้
สัดส่วนภาระของหนี้ต่อรายได้ถือว่าค่อนข้างสูง โดยเมื่อรวมหนี้สินที่ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยของแต่ละครัวเรือน เราจะพบว่าอยู่ที่ประมาณ 36% ของเงินเดือน กล่าวคือถ้าในแต่ละเดือน เราได้รับเงินเดือน 100 บาท เราต้องจ่ายเงินเป็นประมาณ 36 บาทให้กับหนี้สิน และทำให้เหลือใช้เพียง 64 บาท แน่นอนว่ามีความเสี่ยงสูงไม่น้อยเลยล่ะที่จะชำระหนี้ไม่ตรงระยะเวลาที่กำหนดและในส่วนของเงินที่เหลือใช้เพียง 64% เมื่อตีเป็นเงินแล้ว แน่นอนว่ามีโอกาสไม่น้อยเลยล่ะที่จะต้องกู้เพื่อ
-
อัตราการเติบโตของรายได้
ในทุกๆปี รายได้ของเหล่ามนุษย์เงินเดือนจะต้องมีการเติบโตเพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับค่าเงินที่เฟ้อ แต่ในช่วงนี้รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนที่เป็นหนี้กลับเติบโตได้น้อย โดยเติบโตได้เพียง 8% จากที่เคยเติบโตได้ถึง 10% ทำให้การบริโภคมีข้อจำกัดที่เพิ่มมากขึ้นและทำให้ต้องมีการกู้ยืมเพื่อรักษาระดับการบริโภค
ในเรื่องของหนี้สิน แต่ละพื้นที่ก็มีความสามารถในการชำระหนี้ที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยให้เราสามารถวางแผนในเรื่องของการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดีโดยดูว่าในพื้นที่ที่เราอยู่มีจุดแข็งและจุดอ่อนอย่างไร และในแต่ละพื้นที่ก็มีดังนี้
– ภาคเหนือ มีค่า DSR ที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศในทุกกลุ่มอาชีพ แต่มีทรัพย์สินต่ำ มีพื้นที่ทำกินน้อย
– ภาคกลาง มีความแข็งแกร่งในทุกๆด้านเมื่อมองโดยรวม แต่ในบางกลุ่มยังคงมีหนี้สินที่สูง
– ภาคตะวันตก การเติบโตของสินค้าจำพวกเกษตรมีความเสถียรมากกว่าในพื้นที่อื่น แต่ด้วยการกู้เงินที่สูง ทำให้มีความคล่องต่ำ
– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสินทรัพย์ที่สูง มีพื้นที่ทำกินที่มาก แต่ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ
– ภาคตะวันออก มีแนวโน้มรายได้โดยรวมค่อนข้างดี แต่เหล่าเกษตรกรมี DSR สูงถึง 67%
– ภาคใต้ มีรายได้ที่สูง แต่ก็ยังมีความคล่องที่ต่ำและการเติบโตของรายได้ที่ช้า
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามหนี้ครัวเรือนก็ไม่ได้แสดงถึงความอ่อนแอของครัวเรือนในสังคมไทยเสียทั้งหมดและในแต่ละพื้นที่ก็มีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป ซึ่งในส่วนของความสามารถในการชำระหนี้เป็นสิ่งที่สามารถคาดเดาได้ยาก ต้องจับตาดูกันต่อไปและก็ต้องรอดูว่าในระยะยาวรัฐบาลจะกำหนดโครงการหรือกำหนดนโยบายอะไรออกมาในการช่วยเหลือในเรื่องของหนี้สินภายในครัวเรือน อาจจะเน้นไปที่การพัฒนารายได้ในด้านอาชีพและพัฒนารายได้ของครัวเรือนเป็นหลัก