จากที่เคยนำเสนอเรื่องของการลงทุนกับ แฟรนไชส์ ทีนี้เรามารู้ลึกรู้ทัน แฟรนไชส์ กันบ้างว่าหากคิดจะทำจริงๆ มันมีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะประสบความสำเร็จ และ อะไรทำให้แฟรนไชส์ ถึงยังได้รับความนิยมและเปิดๆ ปิด มีตัวแทนตัวตายกันอยู่ในทุกวันนี้
ก่อนอื่นมาดูกันว่าปัจจุบัน แฟรนไชส์ มีกี่ประเภท หลักๆที่เห็นโดยทั่วไปคือ อาหาร , สินค้า , บริการ ซึ่งจะมีแยกย่อยกันออกไปอีก เช่น อาหารจะมีทั้ง อาหารคาว อาหารหวาน เครื่องดื่ม จานด่วน และ เปิดร้าน ส่วนสินค้า จะเป็นการผลิตสินค้าเช่น พวกแก้ว เสื้อ ที่จะขายแฟรนไชส์ในลักษณะเปิดกิจการเป็นของตัวเอง แต่ต้องซื้ออุปกรณ์จากเจ้าของแฟรนไชส์ คล้ายๆกับพวกอาหาร และบริการ คือ ร้านไปรษณีย์ , ซักรีด , โรงเรียนสอนพิเศษ ที่เราสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีรูปแบบการลงทุนแตกต่างกัน แล้วจุดที่เราควรรู้และต้องศึกษาคืออะไร
อ่านเพิ่มเติม >>> ลงทุนแฟรนไชส์ จะคุ้มค่าไหม?? <<<
สิ่งแรกคือ จุดขายของ แฟรนไชส์ นั้นๆ ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ สิ่งนี้เป็นสิ่งแรกที่ทำให้เราสนใจ และ ลูกค้าสนใจ ซึ่งในบางครั้งลูกค้าไม่รู้เลยว่ามันเป็นเฟรนซ์ไชน์ คิดว่าเป็นการเปิดสาขา อย่างเช่น โรงเรียนกวดวิชา ที่ปัจจุบันมีหลายแห่งเป็นแฟรนไชส์แล้ว เพราะรูปแบบของสถานที่จะตกแต่งไปในทางเดียวกัน หลักสูตรแบบเดียวกัน หนังสือทุกอย่างเหมือนกันเพราะเป็นการควบคุมตามเกณฑ์ของแฟรนไชส์ แต่ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของผู้สอนเพราะขึ้นอยู่กับคนที่ซื้อแฟรนไชส์ไปว่าจะหาคนสอนเก่งๆได้มากน้อยแค่ไหน และ ที่จ่ายค่าแฟรนไชส์ ไปคือการซื้อแบรนด์ ซื้อระบบ แต่ไม่รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเองเพิ่มเติมคือ ค่าพนักงาน ค่าอุปกรณ์เพิ่มเติมนอกเหนือ และ ค่าอุปกรณ์ที่ต้องเพิ่มเติมภายหลัง ซึ่งทุกแฟรนไชส์จะเป็นแบบนี้เหมือนกันหมด
จากตัวอย่างที่ยกมาให้ดูนั้น หลายๆคนที่ไม่เข้าใจแฟรนไชส์จะคิดว่าจ่ายเงินแล้วได้ครบทุกอย่าง ซึ่งได้ทุกอย่างแต่ไม่ทุกครั้งและไม่ครอบคลุม บางอย่างเราต้องซื้อเพิ่ม หรือ จ่ายเพิ่มหากอยากได้ออฟชั่นเสริม ซึ่งแต่ละแฟรนไชส์ จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในการขายตัวแฟรนไชส์นั้น เขาจะไม่บอกเราทั้งหมด เราจะรู้ต่อเมื่อดูข้อตกลงต่างๆในสัญญา เพราะเหมือนเราเช่าแบรนด์ของเขา กฎกติกาทุกอย่างต้องตามข้อตกลง นอกเสียจากบางเฟรนซ์ไชน์ ที่ขายขาดหรือเรียกง่ายๆว่าขายแค่สูตรและอุปกรณ์หลังจากนั้นเรามาทำเอง บริหารเอง ซึ่งความเสี่ยงของการซื้อ แฟรนไชส์มาลงทุนนั้นเรียกว่า 50-50 เลยทีเดียวเพราะปัจจัยหลายอย่างที่เคยกล่าวในบทความที่แล้ว ซึ่งการการหาข้อมูลของแฟรนไชส์นั้นแน่นอนว่า ข้อมูลบางอย่างจะไม่มีบอกไว้ในหน้าเว็บไซต์ของ แฟรนไชส์ นั้นๆ ส่วนใหญ่จะโปรโมทถึงความน่าสนใจของ แฟรนไชส์ จุดเด่น , ซื้อแล้วได้อะไร , ขายอย่างไร , มีอะไรที่ทางแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าบ้าง แต่สิ่งที่เราต้องทำคือ การเปรียบเทียบระหว่าง แฟรนไชส์ที่มีรูปแบบเหมือนกัน
โดยต้องเจาะลึกถึงจำนวนสาชา , สิ่งที่ได้รับจากแฟรนไชส์ , ราคาต้นทุน , ราคาวัตถุดิบ หรือ อุปกรณ์ที่ต้องจ่ายเพิ่มในแต่ละครั้งที่ต้องการ , การบริการหลังการขาย สิ่งนี้สำคัญเพราะบางแฟรนไชส์ ขายแล้วไม่สนใจลูกค้าพูดง่ายๆซื้อแบรนด์ไปแล้วบอกแค่ว่าทำอย่างไร ขายอย่างไร จบปิ๊งทันที ที่เหลือลูกค้าแฟรนไชส์ต้องดิ้นรนเอง นื่คือสิ่งที่หลายๆคนประสบมาด้วยตัวเองสุดท้ายเงินลงทุนสูญเปล่าได้แค่เคาน์เตอร์เน่าๆ หรือ คีออสราคาแพงเกินจริงมาเท่านั้น
ดังนั้นเราต้องตรวจสอบข้อมูลแต่ละเฟรนซ์ไชน์นำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้เราคุ้มค่ามากที่สุด เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า และอีกสิ่งที่แฟรนไชส์มักจะนำเสนอเพื่อดึงดูดให้เราสนในคือ ความน่าเชื่อถือ รายได้ เพราะแน่นอนว่าทุกแฟรนไชส์ต้องมีคนที่ซื้อไปแล้วขายดี ขายดีมากๆ ขายพอได้ และ ขายไม่ดี แน่นอนว่าผู้บริหารแฟรนไชส์จะนำแต่ร้านค้าที่ขายดีมากๆ มาเป็นจุดโปรโมท มาเป็นจุดขาย มีการทำโบรชัวร์ หนังสือ หรือ แม้แต่ช่องในยูทูป ที่ทุกเจ้าจะเน้นแต่ร้านที่ดีมานำเสนอ เป็นจุดเด่นของแฟรนไชส์นั้นๆ
ดังนั้นหากสนใจเลือกแฟรนไชส์เพื่อเป็นการลงทุนเป็นกิจการของตัวเองควรศึกษาข้อมูลอย่างจริงจังและใช้เวลาพอสมควรเพื่อให้มั่นใจจริงๆ ว่าลงทุนไปแล้วไม่สูญเปล่า