การบริหารการเงินส่วนบุคคล หากสามารถบริหารให้ดีผลที่ได้ไม่ใช่เพียงการมีรายได้พอสำหรับจ่ายหนี้สินและใช้จ่ายในแต่ละวันเท่านั้น แต่คุณภาพชีวิตและความมั่นคงในด้านการเงินในชีวิตจะมีขึ้นได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อสามารถบริหารการเงินให้ปลอดหนี้สิน มีเงินเพียงพอที่จะใช้จ่ายได้อย่างไม่ขัดสนและมีเหลือสำหรับการออมและลงทุนเพื่ออนาคตด้วย ทว่าหลาย ๆ คนยังคงไม่ผ่านแม้แต่ขั้นแรกของการหาเงินชำระหนี้ต่าง ๆ ในแต่ละวัน จึงต้องกลับมาวิเคราะห์ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เริ่มแก้ที่ต้นเหตุทีละเปาะแล้วจึงจะสามารถปลดหนี้และตั้งตัวได้ เคล็ดลับในการวางแผนการบริหารเงินจากติดลบเป็นศูนย์และเป็นบวกก็คือ
1 วิเคราะห์ที่มาของรายจ่ายหรือหนี้
สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ ต้องหันมาจริงจังกับรายละเอียดหนี้ที่มีและรายจ่ายต่าง ๆ กันก่อนว่า ในการบริหารเงินส่วนตัวและครอบครัวที่เรารับผิดชอบอยู่ มีหนี้ก้อนใดจากทางใดบ้าง และมีรายจ่ายประจำ รายจ่ายปลีกย่อยอะไรบ้าง
เริ่มจากหนี้ มีอยู่สองชนิดก็คือ หนี้ที่จำเป็นในชีวิตและหนี้ที่ฟุ่มเฟือย
- หนี้ที่จำเป็นในชีวิต
ก็ได้แก่หนี้ที่เราจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายจริง ๆ เช่นการกู้สินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ ค่าทุนการศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น หนี้ในส่วนนี้นับว่าไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ยกเว้นแต่ว่าเป็นหนี้ที่เกินตัว เช่นกู้เงินซื้อบ้านหลังใหญ่ราคาแพงเกินความเป็นจริงทำให้เกิดภาระการผ่อนสูงเกินจะแบกรับ กู้ซื้อรถยนต์ราคาแพงเกินไปหรือหลายคันเกินไป ในกรณีนี้เราต้องลดทอนและปรับเปลี่ยนถ้าต้องการตั้งตัวให้ได้ไว ๆ อาจจะไปซื้อบ้านหลังใหม่ที่เล็กลง ราคาถูกลง แต่สวยงามน่าอยู่ไม่แพ้กัน ทำให้ลดเงินผ่อนลงมีเงินมากขึ้นในระยะยาว รถยนต์คันเล็กลง เป็นต้น
- หนี้ฟุ่มเฟือย
สำหรับหนี้ฟุ่มเฟือยก็เช่น การเป็นหนี้บัตรเครดิตที่ใช้จับจ่ายซื้อของทั่วไปมากจนเกิดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้มีเงินจ่ายเฉพาะขั้นต่ำ ถ้าเป็นเข่นนี้ยากที่จะผ่อนหมดแล้วคงไม่สามารถปลดภาระหนี้ได้ง่าย ๆ ไม่มีวันมีเงินเก็บได้ วิธีแก้ไขบริหารใหม่ก็คือ ลดรายจ่ายส่วนไม่จำเป็นลง เช่นการสังสรรค์กับเพื่อน การซื้อของใช้แฟชั่นต่าง ๆ เน้นคุณประโยชน์และความคุ้มค่าคุ้มราคา รับประทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง ตั้งเป้าปิดหนี้บัตรทีละใบ เริ่มจากใบที่ดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน ไม่นานก็จะลดหนี้ลงจนกระทั่งปลอดหนี้ในส่วนนี้ได้
2 วิเคราะห์ที่มาของรายรับ
รายรับเป็นตัวบ่งชี้สถานะที่แท้จริงทางการเงินระยะยาวให้เราได้ บางคนบางครอบครัวใช้น้อย ไม่ฟุ่มเฟือย หนี้น้อยแต่ก็ยังไม่สามารถตั้งตัวสร้างฐานะได้ ไม่สามารถมีเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำได้ ปัญหาคงไม่ได้มาจากหนี้สิน แต่ต้องมาบริหารรายรับหรือรายได้ โดยวิเคราะห์ว่ารายรับที่มีเข้ามาแต่ละเดือน สามารถเพียงพอในการใช้จ่ายและเหลือเก็บหรือไม่ ตราบใดที่ยังใช้ไม่ชนเดือน หรือใช้พอดีไม่เหลือเก็บ หากยังนิ่งนอนใจอยู่จะไม่สามารถไปถึงจุดบริหารการเงินสำเร็จได้เลย วิธีแก้ไขก็คือ ต้องพิจารณางานที่ทำว่ารายได้ที่ไม่เพียงพอเป็นเพราะอะไร งานที่ทำมีเงินรายรับน้อยเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ แม้จะเงินเดือนขึ้นก็ไม่สมดุลกัน ต้องคิดหาวิธีหารายได้เพิ่ม เช่น หางานพิเศษ รายได้จากทางอื่นเพิ่ม เปลี่ยนงานเป็นงานที่มีรายได้มากขึ้น เป็นต้น หากการใช้จ่ายพอดีไม่ฟุ่มเฟือยแต่ยังไม่มีเงินเก็บ แน่นอนว่าปัญหาอยู่ที่รายได้ที่น้อยไป เมื่อหาทางเพิ่มรายได้ก็จะเริ่มมีหนทางที่จะมีเงินเก็บนั่นเอง
สูตรที่สามารถช่วยคำนวณว่า เรามาถึงจุดที่พ้นจากการติดลบมาในสู่ความเสมอตัวและสู่ความเป็นบวกของรายได้หรือไม่เช็คได้จาก
เมื่อคำนวณอัตราส่วนมาแล้วผลลัพท์มากกว่า 1 แสดงว่าเข้าสู่ความเป็นบวก หมายถึงสามารถที่จะก้าวไปสู่ความมั่นคงในการบริหารเงินส่วนตัวได้
เมื่อเราสามารถทำรายรับและรายจ่ายให้สมดุลย์กันได้แล้ว ต่อมาเราจะทำอย่างไรให้การบริหารเงินเป็นบวกได้อย่างมีเสถียรภาพ คงไม่ใช่เพียงแค่การคุมรายรับรายจ่ายเท่านั้น แต่เป็นการทำให้เงินเก็บส่วนที่เหลือจากรายจ่ายแล้ว เรานำไปทำให้งอกเงยได้ ยิ่งมีอัตราการงอกเงยสูงแค่ไหน ความมั่นคงทางการเงินส่วนบุคคลก็มากขึ้นตาม ซึ่งทำได้โดยหาแหล่งลงทุน เมื่อรวบรวมเงินเก็บได้แล้ว ควรมองหาแหล่งลงทุนที่จะทำให้เกิดรายได้งอกเงยออกมาจากเงินเก็บเหล่านั้น เช่นการลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น เงินฝาก ทองคำ กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
เมื่อสามารถที่จะมีทรัพย์สินจากการลงทุนที่งอกเงยขึ้น นั่นหมายความว่าการบริหารการเงินส่วนบุคคลของคน ๆ นั้นเริ่มประสบความสำเร็จ มีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ ความมั่นคงทางการเงินมีสูตรคำนวณดังนี้คือ
เมื่อสามารถคำนวณผลลัพท์ออกมาได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ นั่นย่อมแสดงว่า คุณสามารถบริหารการเงิน จาก “ เงินพอใช้ เป็น เงินเหลือใช้ ” ได้ประสบความสำเร็จแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณหยุดการทำงานประจำ หรือเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้นในชีวิต การเงินและรายได้ก็ยังคงมั่นคงอยู่ไม่ส่งผลกระทบกระเทือนอีกต่อไป