การค้ำประกัน หมายถึงการประกันการชำระหนี้แทนบุคคล เป็นสัญญาประเภทหนึ่ง ระหว่างบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ โดยมีเงื่อนไขคือ หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับภาระหนี้แทน เป็นการรับประกันว่าอย่างไรเสีย เจ้าหนี้ก็จะได้รับเงินคืนแน่นอน รูปแบบการค้ำประกันเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ค้ำประกันหลายคนละเลยที่จะศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงนามในสัญญา เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญากู้ยืมเงิน จึงทำให้ภาระหนี้มาตกอยู่กับผู้ค้ำประกัน ก่อนการค้ำประกันจึงควรพิจารณาให้รอบคอบว่าถ้าลูกหนี้ผิดสัญญา ตัวเองจะมีความสามารถในการรับชำระหนี้แทนหรือไม่ คราวนี้เรามาดูรูปแบบการค้ำประกัน และรายละเอียดของการค้ำประกันแต่ละแบบดูก่อน
รูปแบบการค้ำประกันต้องมีหลักฐานของผู้ค้ำ
รูปแบบการค้ำประกันจะต้องมีสัญญาจากผู้ค้ำประกัน ที่สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ถ้าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ ไม่ว่าหนี้ที่ค้ำประกัน จะเป็นหนี้อะไรก็ตาม อย่างหนี้เงินกู้ หนี้ค่าสินค้า หนี้การก่อสร้าง ฯลฯ ซึ่งหลักเกณฑ์หรือรูปแบบการค้ำประกันในการทำสัญญาค้ำประกันนั้น จะต้องทำตามหลักเกณฑ์คือ จะต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง และ ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดี เพื่อให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันแล้วก็จะไม่ทำให้ได้ประโยชน์เพราะไม่สามารถฟ้องบังคับผู้ค้ำประกันได้
ชนิดสัญญาของรูปแบบการค้ำประกัน
สัญญาของรูปแบบการค้ำประกันอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.สัญญาการค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวนกล่าวคือ ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าไหร่ ผู้ค้ำประกันก็จะต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนเท่ากันกับลูกหนี้ด้วย เท่ากับว่าผู้ค้ำจะต้องรับผิดชอบทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมถึงค่าเสียหายในการผิดนัดชำระหนี้ ค่าภาระติดพัน ตลอดจนค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการฟ้องร้องบังคับคดี และ 2.สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิด กล่าวคือ ผู้ค้ำประ กันได้ระบุจำนวนเอาไว้ว่าจะรับผิด แต่ไม่เกินจำนวนตามที่ได้ระบุไว้เท่านั้น หากลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ชำระหนี้แล้ว ผู้ค้ำประ กันก็จะใช้หนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้เฉพาะเท่าจำนวนที่ระบุไว้เท่านั้น
ข้อปฏิบัติในการเข้าทำสัญญาของรูปแบบการค้ำประกัน
รูปแบบการค้ำประกัน ที่เป็นข้อปฏิบัติคือผู้ใดจะเข้าเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้ของบุคคลอื่น ควรปฏิบัติตามนี้คือ จะ ต้องอ่านสัญญาค้ำประกันให้ครบถ้วนทุกข้อก่อนจะลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน และหากต้องการที่จะค้ำประกันหนี้เพียงบางส่วน ก็ให้เขียนระบุไว้โดยแจ้งชัดในสัญญาค้ำประกันว่า มีความประสงค์ที่จะค้ำประกันเป็นจำนวนเท่าใด และหากไม่ประสงค์ที่จะรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันแล้ว จะต้องดูในสัญญาว่ามีข้อความไหนที่ระบุว่าให้คุณต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้หรือไม่ ถ้าไม่มีจึงค่อยทำการลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน และหากผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว ผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิอย่างไร เพราะหากผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว จะสามารถมีสิทธิไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้เท่าจำนวนที่ได้ชดใช้แทนลูกหนี้ไปหรือไม่
รูปแบบการค้ำประกัน ที่ผู้ค้ำพ้นจากความรับผิดในกรณีลูกหนี้หนีหนี้
ผู้ค้ำประกันไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ในกรณีหากลูกหนี้ที่คุณเป็นผู้ค้ำประกันนั้นได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอน และเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ทำให้ผู้ค้ำประกันสามารถหลุดพ้นจากความรับผิดได้ และเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แทนลูกหนี้ แต่หากเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็ถือว่าหลุดพ้นจากความรับผิดเช่น กัน ซึ่งสามารถสอบถามรายละเอียดหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้
ลักษณะของสัญญารูปแบบการค้ำประกัน
การค้ำประกัน คือการที่บุคคลภายนอกได้เพิ่มการสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้ ซึ่งลักษณะของสัญญาที่เป็นรูปแบบค้ำประกันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะทำการฟ้องร้องบังคับคดีได้และหนี้ที่ค้ำประกันได้ต้องเป็นหนี้ที่สมบูรณ์เท่านั้น ซึ่งสาระ สำคัญของสัญญารูปแบบการค้ำประกัน แยกออกได้เป็น 5 ประการ คือ สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาอุปกรณ์ ,และผู้ค้ำประกันต้องเป็นบุคคลภายนอก ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องผูกพันหรือทำการเซ็นต์สัญญาตนต่อเจ้าหนี้ว่าเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นจะชำระแทน ซึ่งการค้ำประกันนั้นเป็นการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับบุคคลภายนอกที่มาเป็นผู้ค้ำประกัน และกฎหมายมิได้กำหนดแบบของสัญญาค้ำประกันไว้
หน้าที่และความรับผิดของรูปแบบการค้ำประกัน ของผู้ค้ำ
สิทธิและหน้าที่รวมถึงความรับผิด ของผู้รับประกัน ที่หลายคนยังไม่ทราบว่าจะต้องทำตัวอย่างไรบ้าง เพราะมีหลายคนที่ไปค้ำประกันบุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูง คนใกล้ชิด ลูกจ้าง ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็นการทำให้ตัวเองอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก เมื่อบุคคลที่ไปค้ำประกันเกิดมีการผิดนัดชำระหนี้หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “เบี้ยวหนี้ ไม่ยอมจ่าย” และหลบหน้าหายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย เหลือแต่ความเศร้าและความทุกข์ใจอยู่กับผู้ค้ำประกัน ที่ไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไรดี จะก้าวไปข้างหน้าก็ไปไม่ถึง จะถอยหลังก็ไม่ได้ แต่หากอยู่เฉยๆ ก็ถูกทวงหนี้ จนบางรายถึงขนาดฆ่าตัวตายเลยก็มี
อ่านเพิ่มเติม : ค้ำประกัน เรื่องที่ไม่สมควรทำไม่ว่ากับใคร