เมื่อก้าวเข้าเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนคงต้องระวังเรื่องโรคติดต่อของลูกที่จะเกิดขึ้น สำหรับตัวผู้เขียนเอง เพิ่งพาลูกไปหาหมอและรับยา แต่โชคดีที่ยังไม่ถึงขั้นป่วยนอนโรงพยาบาล และที่โชคดีไปกว่านั้นคือได้ทำประกันสุขภาพของเด็กไว้ โรคที่พบเจอคือ โรคติดเชื้อไวรัส (Viral Infection) ถึงแม้ว่าจะรักษาความสะอาด ล้างมืออยู่ตลอด หรือกินอาหารที่ร้อน ไม่มีความเสี่ยง แต่เด็ก ๆ ก็ยังป่วยได้ อาการของการติดเชื้อไวรัส อยู่ดี ๆ ก็เกิดขึ้นกับลูกช่วงบ่าย ทั้ง ๆ ที่ช่วงเข้า เหมือนจะไม่มีอะไรเกิดขึ้น น้องยังวิ่งเล่นได้เป็นปกติ
อาการติดเชื้อไวรัสมีดังนี้
- มีไข้ โดยเริ่มตัวร้อน และวิ่งเล่นน้อยลง
- มีอาการอาเจียน
- ภายในคอเกิดอาการคอแดง ร้อนใน (เฮอร์แปงไจน่า) ตุ่มแผลในปากเด็ก โรค “เฮอร์แปงไจน่า” (Herpangina) หรือโรคตุ่มแผลในปากเด็ก เป็นโรคในตระกูลเดียวกับโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจายสู่อากาศได้ ดังนั้นหากเด็กที่เป็นโรคเฮอร์แปงไจน่าไอ หรือจาม โดยไม่ปิดปาก เด็กๆ ที่อยู่รอบข้างก็อาจติดเชื้อได้ง่ายๆ
- มีอาการถ่ายเหลว มีเมือก
อาการจะมีเวลาทั้งหมด 3 วัน โดยคุณหมอจะให้การรักษาเริ่มต้นโดยการให้ยาลดไข้ (ไทลินอลของเด็ก) และมียาชาแก้เจ็บคอโดยกินตามอาการ นอกจากนี้คุณหมอจะให้แบคทีเรีย ที่อยู่ในแคปซูลมากิน (Infloran Cap) โดยเป็นยาที่ต้องเปิดแคปซูลและเอาผงภายในแคปซูล ใส่ในแก้วยา และผสมนมเปรี้ยว (เช่น ยาคูลล์) เพราะในนมเปรี้ยวมีแบคทีเรียดี โดยกินยาเช้าและเย็น 2 เวลา เป็นเวลา 5 วันก็จะดีขึ้น ถ้าไม่หายภายใน 3 วันก็กลับไปหาหมออีกรอบหนึ่ง อาการถ่ายเหลวจะค่อย ๆ หายไป แต่ยาที่อยู่ในแคปซูลนี้ต้องเก็บไว้ในตู้เย็น
วิธีรักษาผู้ป่วยโรคเฮอร์แปงไจน่า
ถึงจะเป็นโรคที่ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถกำจัดไวรัสชนิดนี้ได้โดยตรง วิธีรักษาจึงเป็นการดูแลผู้ป่วยตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ปวด หรือหยดยาชาภายปาก เพื่อช่วยลดอาการเจ็บแผลในปาก เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปผู้ป่วยก็จะสามารถค่อยๆ ฟื้นตัวได้เองนอกจากนี้ควรทานอาหารอ่อนๆ เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย รสไม่จัด และดื่มน้ำสะอาดมากๆ เพื่อช่วยลดไข้ ลดอาการขาดน้ำ และย่อยอาหารได้ง่ายขึ้นค่ะ
วิธีป้องกันจากโรคเฮอร์แปงไจน่า
- รักษาความสะอาดของลูกน้อย อย่าให้หยิบจับอาหารเข้าปาก หากยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด
- ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดเด็กๆ ที่กำลังป่วยเป็นโรคนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสติดเชื้อ
- หากพบเด็กที่เป็นโรคนี้ ควรให้เขาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หรือให้เขาใช้ผ้าปิดปาก หรือสวมหน้ากากอนามัย เมื่อออกนอกบ้าน
- รักษาสุขภาพของลูกน้อยให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อภูมิคุ้มกันในร่างกายจะได้ต่อสู้กับเจ้าเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยค่าใช้จ่ายหาหมอจะอยู่ที่ประมาณ 1,300 – 1,500 บาท สำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (OPD) จากประสบการณ์ของผู้เขียนมองว่าควรเลือกทำประกันให้เด็กแบบทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เพราะค่าใช้จ่ายไปหาหมอแต่ละทีมีสูงอย่างต่ำก็ต้อง 1,000 – 2,000 บาท ส่วนการนอนค้างที่โรงพยาบาล (IPD) ก็จะสูง 20,000 – 35,000 บาทแล้ว การทำประกันประเภทนี้จะราคาสูง ต่อปีอาจจะต้องเสียสูงถึง 39,000 – 49,000 บาทได้ แต่จะได้ความคุ้มครองเวลาท่องเที่ยวในประเทศแถบเอเชีย (ยกเว้นฮ่องกง) ในแง่ฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยของเด็กบางทีเราก็ไม่สามารถหาสาเหตุได้ บางครั้งก็สร้างความกังวลให้กับเราอย่างมาก เพราะถึงแม้เราจะทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว เด็กน้อยก็ยังป่วยได้ แต่เราก็อย่าให้เราหมดกำลังใจ ขอให้ดูแลลูกต่อไป ค่อย ๆ ดูแลและเล่นกับเขา กรณีที่มีไข้เกิน 38.5 องศาต้องระวัง และถ้าถึง 39 องศาควรพิจารณานอนพักที่โรงพยาบาลเพื่ออยู่ความดูแลของแพทย์ โดยส่วนตัวถ้ามีไข้ต่ำก็จะไปหาแพทย์แล้วเพื่อความปลอดภัย