ดอกเบี้ยบ้าน 2.50% เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี วิกฤตการณ์คนผ่อนบ้าน
คนซื้อบ้านถึงกับช็อกไปตาม ๆ กัน ขณะที่เราเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจหลังเชื้อไวรัสโควิด 19 แพร่ระบาดได้ไม่นาน ทุกอย่างควรจะดีขึ้นตามลำดับ แต่หลายอย่างกลับไม่เป็นอย่างนั้นซะได้ ล่าสุดนี้คณะกรรมการนโยบายการเงินเพิ่งแถลงการณ์ขึ้นดอกเบี้ยไปสด ๆ ร้อน ๆ ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ก็มีการแถลงปรับดอกเบี้ยบ้าน อีกครั้งเป็น 2.50% เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี เรียกได้ว่าเป็นงานหนักสำหรับคนผ่อนบ้านกันเลยทีเดียว
ดอกเบี้ยบ้าน 2.50% เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี เกิดจากอะไร
สาเหตุเกิดมาจากหลากหลายปัจจัยที่ทำให้คณะกรรมการต้องตัดสินใจทำแบบนี้ ตอนนี้เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวในภาพรวม ถึงแม้ว่า การขยายตัวจากอุปสงค์ต่างประเทศจะชะลอตัวลงไปบ้างก็ตาม อัตราเงินเฟ้อก็มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นในปีหน้า เป็นไปตามกลไกการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ พอรวมเข้ากับแรงกดดันจากอุปทานด้วยปรากฏการณ์เอลนีโญ่ เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายไปกันใหญ่ คณะกรรมการเลยประเมินว่าบริบทของเศรษฐกิจในตอนนี้ที่กำลังฟื้นตัว นโยบายการเงินก็ควรที่จะดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมายอย่างยั่งยืน และหาวิธีการเพิ่มเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว นอกจากนี้ยังต้องรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคตอีกด้วย
ซึ่งครั้งล่าสุดที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงถึงขนาดนี้ เราต้องย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรือเมื่อปี 2013 กันเลย และประเทศไทยของเราก็ยังไม่เคยมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตัวเลขนี้มาก่อนอีกเลย เหตุการณ์นี้เลยทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนมีมุมมองแตกต่างกันออกไป สำหรับประชาชนคนธรรมดาอย่างเราก็ต้องแบกรับผลกระทบแบบเต็มๆ โดยเฉพาะคนที่กำลังผ่อนบ้านอยู่ ยิ่งผ่อนมานานเกิน 3 ปี ยิ่งได้รับผลกระทบมากกว่าเดิม
อัตราดอกเบี้ยขึ้น 0.25% เราต้องผ่อนสินเชื่อบ้านเพิ่มเท่าไหร่
สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ยังเห็นภาพไม่ชัด ว่าการปรับดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงินเพียง 0.25% จะส่งผลกระทบกับเรามากสักแค่ไหนกันเชียว เราขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน อย่างเช่น เรากู้เงินจากธนาคาร 3 ล้านบาทเพื่อซื้อบ้าน ผ่อนชำระเดือนละ 20,000 บาท คำนวณอัตราดอกเบี้ยของเราแล้วอยู่ที่ 6% พอมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย 6.25% อัตราดอกเบี้ยของเราก็พุ่งขึ้นไปแตะ 6% เท่ากับว่าเราต้องผ่อนชำระค่าสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นอีก 500 บาท เป็นจำนวนเงิน 20,500 บาท
หรือในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเราอยู่ที่ 6.75% ต้องผ่อนงวดละ 21,500 บาท ดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นเป็น 7% เราต้องชำระค่าสินเชื่อบ้านเพิ่มขึ้นถึง 600 บาทเลย กลายเป็นเงินจำนวน 22,100 บาทต่อเดือน เงินจำนวนประมาณ 500-600 บาทต่อเดือนอาจไม่มากมายอะไรสำหรับบางคน แต่ลองจินตนาการดูว่าถ้าเราต้องจ่ายเพิ่มแบบนี้ไปเรื่อยๆ เป็นประจำสักปีนึง ก็ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเหมือนกัน
รับมือยังไงเมื่อเจอวิกฤตการณ์ดอกเบี้ยปรับตัวพุ่งสูง
สำหรับใครที่เจอวิกฤตการณ์ดอกเบี้ยปรับตัวพุ่งสูงเข้าไปในรอบ 10 ปีแล้วช็อก ความจริงแล้ว ก็มีวิธีการที่จะช่วยให้เราเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ได้เหมือนกัน เราขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้สำหรับคนที่ผ่อนบ้านเกิน 3 ปีขึ้นไป ดอกเบี้ยบ้านตอนนี้เป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเรียบร้อยแล้ว เพราะคนที่กำลังผ่อนบ้านในช่วง 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยเป็นแบบคงที่ เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับตัวของดอกเบี้ยนโยบาย ส่วนวิธีการมีดังนี้
-
วางแผนทางการเงิน
วางแผนการเงินตัวเองให้ดี หาเงินคงเหลือที่หักลบภาระหนี้สินและค่าใช้จ่ายจากเงินได้ของเราเรียบร้อยแล้ว ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น อย่างเช่น การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล การออกไปกินบุฟเฟต์ หรือการดื่มกาแฟลงไปบ้าง ก็จะช่วยให้เรามีเงินเหลือมากพอที่สามารถแบกรับภาระดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ วิธีการนี้ยังเป็นการจัดการทางการเงินที่ยั่งยืน ช่วยให้เรามีเงินเก็บมากพอที่จะสะสมไปปิดหนี้ได้อีกต่างหาก ยิ่งเราปิดหนี้เร็วมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เราสามารถประหยัดดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้นด้วย อย่าดูถูกเงินเหลือใช้จากค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ เพราะถ้าเราเอามารวมกันตลอดทั้งปี อาจได้เงินจำนวนที่ทุกคนคาดไม่ถึงก็ได้เหมือนกัน
-
เจรจาขอลดดอกเบี้ย
สำหรับใครที่วางแผนทางการเงินก็แล้ว แต่รู้สึกว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นแบบนี้ช่างตึงมือเสียเหลือเกิน ถ้าเรายังฝืนต่อไปมีหวังขาดสภาพคล่องแน่นอน เราขอแนะนำว่าให้เข้าไปเจรจากับธนาคารเลย เราสามารถขอยื่นเรื่องเจรจากับธนาคารผู้เป็นเจ้าหนี้ของเรา เพื่อขอให้พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ อย่างเช่น การปรับอัตราดอกเบี้ยจากแบบลอยตัวให้เป็นแบบคงที่ไปก่อนระยะเวลาหนึ่ง อย่างน้อยให้ผ่านช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยกำลังปรับตัวขึ้นสูงในตอนนี้ ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องกดดันเรื่องการเงินจนเกินไป แต่วิธีการนี้จะได้ผล ก็ต่อเมื่อเราเตรียมตัวก่อนอย่างน้อย 1 เดือน เท่ากับว่าเราต้องไปเจรจากับธนาคารก่อนที่ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้น ใครที่สนใจวิธีนี้ อาจต้องติดตามข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่เป็นประจำ และทราบว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในตอนนี้จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยยังไง
-
รีไฟแนนซ์บ้าน
เป็นวิธีการที่ดูเหมือนจะง่ายที่สุด แต่ก็ยุ่งยากที่สุดเหมือนกัน ในเมื่อเราผ่านพ้นช่วงเวลาโปรโมชั่น 3 ปีแรกแล้ว และต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยลอยตัวที่พุ่งขึ้นสูงไม่หยุด วิธีการจัดการก็คือการรีไฟแนนซ์นั่นเอง วิธีนี้หรือไม่ต่างอะไรจากการที่เราขอสินเชื่อบ้านใหม่อีกครั้งกับธนาคารแห่งใหม่ อย่างเช่น ตอนเราจะซื้อบ้านครั้งแรก เราไปขอสินเชื่อบ้านกับธนาคาร A จำนวนเงิน 3 ล้านบาท ผ่อนชำระ 3 ปี เป็นเงินทั้งหมด 1 ล้านบาท เท่ากับว่าตอนนี้เราเหลือหนี้สินอยู่ 2 ล้านบาท
ให้เราไปเจรจากับธนาคาร B ว่าเราอยากจะรีไฟแนนซ์ด้วย ธนาคารแห่งใหม่ก็จะเสนอโปรโมชัน และสิทธิพิเศษมากมายที่จะดึงดูดใจเราให้กู้เงินกับพวกเขาเอาไปปิดหนี้กับธนาคาร A ถ้าตกลงปลงใจกันเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้รับเงินจากธนาคาร B มา จากนั้นก็ให้เรานำเอาเงินที่ได้ไปชำระหนี้ให้กับธนาคารแห่งแรกนั่นก็คือธนาคาร A หลังจากนั้นเราก็ผ่อนกับธนาคาร B ไปยาวๆ เราสามารถเลือกได้ว่าจะขอสินเชื่อเท่ากับราคาประเมิน หรือเท่ากับหนี้สินที่เราเหลืออยู่
ใครอยากได้เงินไปลงทุน หรือเพิ่มสภาพคล่องก็ขอกู้ตามราคาประเมินได้เลย ใครที่อยากปิดหนี้ไวๆ ยังไม่อยากได้เงินใช้ตอนนี้ ก็ขอสินเชื่อเท่ากับหนี้ที่เราเหลืออยู่จำนวน 2 ล้านก็ได้เหมือนกัน เราสามารถเลือกได้ด้วยว่าจะผ่อนชำระเป็นระยะเวลายาวนานแค่ไหน จะ 10 ปีถึง 30 ปีก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ยิ่งเราเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนานมากขึ้น ก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้มากขึ้นไปด้วย ถึงอย่างนั้น เราก็ต้องคำนวณเรื่องดอกเบี้ยให้ดีเหมือนกัน เพราะยิ่งผ่อนนาน ดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงตามไปด้วย เราเลยต้องตัดสินใจที่ดีก่อนที่จะขอสินเชื่อใดๆ กับใครก็ตาม
สรุปแล้ว ดอกเบี้ยบ้าน 2.50% เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี เกิดจากมติของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่ต้องการเพิ่มเสถียรภาพทางการเงิน จึงส่งผลกระทบต่อคนที่กำลังผ่อนบ้านด้วยอัตราดอกเบี้ยลอยตัวอยู่ เพราะถ้าในอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยบ้านของเราก็จะเพิ่มไปด้วย เนื่องจาก ธนาคารจะปรับดอกเบี้ยตามแน่นอน เราจึงต้องวางแผนให้ดีขึ้น หรืออาจหาวิธีการแก้ไขอื่น อย่างเช่น การเจรจากับเจ้าหนี้ หรือการรีไฟแนนซ์บ้าน สำหรับเพื่อนๆ ที่ผ่อนบ้านเกิน 3 ปีแล้วต้องลองตัดสินใจดูว่าวิธีการไหนที่ตอบโจทย์เรามากที่สุดกัน