ค้าขาย ยื่นภาษียังไง? รวมประเภท และสรุปขั้นตอนการยื่นภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้า
ใกล้วันยื่นภาษีวันสุดท้ายเข้าไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นพนักงานบริษัท เจ้าของธุรกิจ พ่อค้าแม่ค้า หรือทุกคนที่มีรายได้มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ก็ต้องยื่นภาษีทั้งนั้น เนื่องจากการจ่ายภาษี ถือเป็นวิธีในการช่วยเหลือประเทศทางหนึ่ง เพื่อให้ประเทศมีเงินมากพอที่จะนำไปปรับปรุงพัฒนาด้านต่าง ๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือน เราสามารถรวบรวมยอดที่ต้องจ่ายภาษีจากยอดรวมหัก ณ ที่จ่าย หรือใบทวิ 50 ที่ได้รับในแต่ละปี แล้วสำหรับคนที่ ค้าขาย ยื่นภาษีอย่างไร? บทความนี้จะมาอธิบายวิธีการยื่นภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าแบบเข้าใจง่าย ช่วยให้คุณสามารถเข้าใจระบบภาษี และขั้นตอนการยื่นภาษีด้วยตัวเองอย่างถูกต้อง ไม่เสี่ยงต่อการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง
การยื่นภาษีคืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท?
ยื่นภาษี (Tax) คือ การแจ้งรายได้และค่าใช้จ่ายต่อกรมสรรพากร เพื่อให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีอากรสำหรับนำไปพัฒนาประเทศ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ตามกฎหมายกำหนด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยประเภทของภาษี มีทั้งหมด 7 ประเภท ดังนี้
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนด และมีรายได้เกิดขึ้น ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน”
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล: เป็นภาษีจัดเก็บสำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย: เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat): เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ: เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535
- ภาษีการรับมรดก: ภาษีการรับมรดก เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่ามรดกที่ทายาทแต่ละคนได้รับจากกองมรดก โดยที่ผู้รับมรดกเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษี
- อากรแสตมป์: อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
ค้าขาย ยื่นภาษียังไง ?
พ่อค้าแม่ค้ายื่นภาษีอะไร? พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประเภทที่ 8 หรือ ม.40(8) โดยจะต้องยื่นภาษีภายในเดือนมกราคม ถึงมีนาคมของปีถัดไป โดยเราสามารถคำนวนภาษีและยื่นภาษีด้วยตัวเองได้ ตามขั้นตอนดังต่อไป
ขั้นตอนการยื่นภาษีสำหรับร้านค้า ปี 2567
- เตรียมเอกสารสำหรับการยื่นภาษี
- บัตรประชาชน
- ทะเบียนบ้าน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี
- เอกสารแสดงค่าใช้จ่าย (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)
- คำนวนภาษีที่ต้องจ่าย และค่าลดหย่อนภาษี (หากมี)
- นำรายได้ทั้งหมดจากการขาย ลบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือให้บริการ
- คำนวนภาษีที่ต้องจ่าย โดยใช้โปรแกรม https://www.itax.in.th/vat/
- หักค่าลดหย่อนภาษี จากประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุน มูลนิธิ เป็นต้น
- เลือกช่องทางการยื่นภาษี
- ยื่นแบบกระดาษ:
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90/91 จากเว็บไซต์กรมสรรพากร
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
- เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ยื่นแบบฟอร์มและเอกสารที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่
- ยื่นแบบออนไลน์:
- สมัครสมาชิกบนเว็บไซต์กรมสรรพากร ผ่านเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms
- ล็อกอินเพื่อทำการลงทะเบียนเข้าระบบ
- เลือกเมนู “ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”
- เลือกแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90/91
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และตรวจสอบรายละเอียด
- แนบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
- ชำระภาษีและเก็บหลักฐานการจ่ายภาษี
- กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ ของกรมสรรพากร เช่น ธนาคาร เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือออนไลน์
- เก็บใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการชำระภาษีไว้เป็นหลักฐาน
คำนวนภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์
สำหรับใครที่อยากรู้วิธีการคำนวนภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ในฐานะที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการ เราจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประเภทที่ 8 หรือ ม.40(8) และนำข้อมูลนั้นเข้าระบบภาษี เพราะถ้าหากเราไม่เสีย อาจถูกค่าปรับภาษีได้ โดยมีวิธีคำนวนภาษีดังนี้
ตารางแสดงอัตราภาษีบุคคลธรรมดา
Photo Credit : www.rd.go.th/61662.html
วิธีที่ 1 คำนวนภาษีจากเงินได้สุทธิ
- เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน – เงินบริจาค = เงินได้สุทธิ
- เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามตารางอัตราภาษี) = ภาษีที่คำนวนจากเงินได้สุทธิ
วิธีที่ 2 คำนวนภาษีจากเงินได้สุทธิ
- เงินได้พึงประเมิน x 0.5 = ภาษีที่ต้องชำระ
หมายเหตุ : ตรวจสอบอัตราภาษีที่ได้ต้องจ่ายจากเงินได้สุทธิ รวมถึงหากคำนวนภาษีตามวิธีที่สองแล้ว ถ้ายอดไม่ถึง 5,000 บาท ให้จ่ายภาษีตามวิธีที่หนึ่ง
การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนการยื่นภาษี ซึ่งรัฐบาลนำเงินภาษีไปพัฒนาประเทศ เช่น สาธารณสุข การศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน อีกทั้งยังช่วยให้เราไม่เสี่ยงต่อการถูกค่าปรับสุดโหดด้วย สำหรับใครจ่ายภาษีเป็นครั้งแรก อย่าลืมควรข้อมูลและเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนยื่นภาษีด้วยนะ