เวนคืนกรมธรรม์ ประกันชีวิต คำนวณอย่างไร รวมสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนทำประกัน
ประกันชีวิต นั้นคนส่วนใหญ่นิยมทำไว้เพื่อที่ว่าวันหนึ่งเราจากโลกใบนี้ไปคนข้างหลังจะได้สบาย ถึงแม้ว่าบางกรมธรรม์อาจจะไม่ได้จ่ายเงินหลังจากที่ผู้ทำประกันสิ้นอายุขัยไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเป็นจำนวนมาก แต่เชื่อว่ามันก็เพียงพอให้สามารถจัดงานศพได้แบบสบาย ๆ อย่างแน่นอน
ต้องยอมรับว่าเบี้ยประกันนั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูงในแต่ละปี บางคนอาจต้องทำงานทั้งเดือนมาเพื่อจ่ายเบี้ยประกันให้กับตนเองเลยทีเดียว อีกทั้งในช่วงเวลาที่สถานการณ์ยังปกติก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะเวลาเจ็บป่วยอะไรก็สามารถไปรักษาได้จากสิทธิ์ประกันสุขภาพที่พ่วงเอาไว้ แต่เมื่อถึงวันหนึ่งที่เราไม่สามารถจ่ายเบี้ยประกันได้หลายคนก็คงรู้สึกสงสัยไม่น้อยเลยทีเดียวว่าเราจะสามารถทำยังไงได้บ้าง ความจริงแล้วเราสามารถยุติการจ่ายเบี้ยประกันในระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งได้ก่อน
แต่สำหรับใครที่อยากจะยุติการจ่ายเบี้ยประกันไปเลยแบบถาวรก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือ การเวนคืนกรมธรรม์นั่นเอง ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณ เวนคืน กรมธรรม์ประกันชีวิตที่หากคำนวณให้ดีบางทีคุณอาจจะได้รับเงินคืนก็ได้เช่นเดียวกัน เราจึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ การเวนคืนกรมธรรม์ และการคำนวณเวนคืน ประกันชีวิต กันว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
เปิดวิธีการเวนคืนกรมธรรม์และการคำนวณ เวนคืน กรมธรรม์ประกันชีวิต
ก่อนจะไปดูวิธีการคำนวณ เวนคืน กรมธรรม์ประกันชีวิตสิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจก็คือการเวนคืนกรมธรรม์หมายถึงอะไร มันคือการที่ผู้ทำประกันต้องการจะขอยกเลิกกรมธรรม์เพื่อยุติการจ่ายเบี้ยประกันและการรับเงินสดจากบริษัทประกัน โดยเราจะสามารถขอเวนคืนได้ก็ต่อเมื่อกรมธรรม์ของเรามีมูลค่าเงินสดเกิดขึ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเกิดขึ้นในช่วงปีที่ 2 หรือหลังจากที่เราชำระเบี้ยไปแล้วเป็นเวลา 2 ปีนั่นเอง เราจะทราบได้อย่างไรว่ามูลค่าเงินสดตอนนี้อยู่ที่เท่าไหร่ก็สามารถไปดูได้จากตารางมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์
ยกตัวอย่าง หากเราตัดสินใจเวนคืนกรมธรรม์หลังจากที่จ่ายเบี้ยประกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราไปดูในตารางกรมธรรม์มีการแสดงมูลค่าเวนคืนอยู่ที่ 59 บาท เท่ากับว่าเงินเอาประกัน 1,000 บาทจะมีมูลค่าในการเวนคืน 59 บาท หากเรามีประกันชีวิตทุน 200,000 บาท เราก็จะมีมูลค่าเวนคืนอยู่ที่ 11,800 บาท เป็นจำนวนเงินที่ทางบริษัทประกันจะต้องจ่ายให้กับเราหลังจากเวนคืนกรมธรรม์เป็นที่เรียบร้อยแล้วหรือ
เวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต คุ้มจริงหรือ?
การจะคำนวณว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจ่ายเบี้ยประกันไปแล้วกี่ปี ในช่วงปีแรกของการทำประกันนั้นต้องยอมรับว่ามูลค่าในการเวนคืนที่เราจะได้รับจะไม่มากสักเท่าไหร่ อย่างเช่นในกรณีที่เรายกตัวอย่างมาว่าจ่ายเบี้ยประกันไปแล้ว 3 ปี มีมูลค่าการเวนคืนอยู่ที่ 59 บาทต่อเงินเอาประกัน 1,000 บาท ทุนประกันชีวิต 200,000 บาท ในแต่ละปีเราอาจจะต้องเสียค่าเบี้ยประกันตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น
เมื่อจ่ายไป 3 ปีเป็นที่เรียบร้อยแล้วแน่นอนว่ามันย่อมมากกว่ามูลค่าที่เราจะได้รับเวนคืนที่ 11,800 บาทอย่างแน่นอน หากเป็นเช่นนั้นย่อมไม่เกิดความคุ้มค่าอย่างแน่นอน เนื่องจากเงินที่เราได้รับจากการเว้นคืนกรมธรรม์นั้นเป็นจำนวนที่น้อยกว่าเบี้ยประกันที่เราเคยจ่ายไป แต่อย่างไรก็ตามหากมันจะช่วยให้คุณสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในช่วงที่มีปัญหาทางการเงินมันก็ยังนับว่าเป็นทางออกที่คุ้มค่าอยู่ดี เพราะนอกจากเราจะไม่ต้องจ่ายเงินในช่วงเวลานี้แล้วเรายังจะได้รับเงินก้อนมาอีกด้วย
ปัญหาก็คือหากคุณนั้นเป็นผู้มีรายได้และต้องยื่นแบบแสดงรายได้เพื่อจ่ายภาษีบุคคลธรรมดาให้กับสรรพากร เท่ากับว่าการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันที่เราเคยจ่ายไปแล้วมาเวนคืนก่อนครบ 10 ปีนั้น เราจะต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับการลดหย่อนไปเช่นเดียวกัน ซึ่งถือว่าค่อนข้างยุ่งยากเลยทีเดียวในกรณีที่หากคุณเป็นผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี
เวนคืนกรมธรรม์ ประกันชีวิตตัวเดิมเพื่อซื้อประกันตัวใหม่ดีกว่าหรือไม่
หลายคนอาจมองว่ากรมธรรม์ตัวเดิมนั้นไม่ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงต้องการจะเวนคืนกรมธรรม์เพื่อซื้อประกันตัวใหม่ สิ่งที่จะต้องพิจารณานั้นจะประกอบไปด้วยผลประโยชน์ที่เราจะได้รับจากประกันตัวเดิมจะหายไปหรือลดลงไปหรือไม่ แม้ว่าเราจะได้รับเงินจากการเวนคืนแต่ต้องไม่ลืมเรื่องประกันสุขภาพที่พ่วงมา สำหรับบางคนที่มีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคประจำตัวการทำประกันฉบับใหม่อาจจะไม่ครอบคลุมการรักษาโรคเหล่านั้นอีกแล้วเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงที่ทำให้เราอาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้นอีกด้วย อย่างเช่นเดิมทีเราทำประกันชีวิตโดยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันอยู่ที่ปีละ 20,000 บาท หากจ่ายต่อเนื่องเราก็จะต้องจ่ายต่อไปแค่ปีละ 20,000 บาทเท่านั้น แต่ในกรณีที่เราเวนคืนแล้วทำประกันตัวใหม่เมื่ออายุมากขึ้นกว่าเดิมก็อาจจะทำให้เราต้องเสียเบี้ยประกันที่สูงมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วยไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพก็ตาม ปัญหาเรื่องสัญญาแนบท้ายประกันตัวเดิมสิ้นสุดลงก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ชวนปวดหัวเช่นเดียวกัน เพราะการทำประกันใหม่ในเรื่องของการคุ้มครองสุขภาพนั้นบริษัทย่อมพิจารณาอายุหรืออาจให้เราตรวจสุขภาพใหม่ หากเรามีอาการเจ็บป่วยอะไรขึ้นมาก็อาจจะทำให้บริษัทใหม่ไม่รับทำประกันก็ได้เช่นเดียวกันโดยเฉพาะประกันสุขภาพ
สรุปแล้วการคำนวณเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองเพียงแค่เข้าไปดูในกรมธรรม์ว่ามูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ของเราตามปีที่เราจ่ายเบี้ยประกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วอยู่ที่เท่าไหร่ จากนั้นก็นำเอามาคำนวณด้วยสูตร เงินเอาประกันภัย/1,000 x มูลค่าเวนคืน อย่างเช่นในกรณีตัวอย่างมูลค่าเอาประกันภัย 200,000/1,000 x 59 บาท จะเท่ากับ 11,800 บาทนั่นเอง