ยื่นภาษี ผิด แก้ยังไง ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน
การยื่นภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ทุกคนในประเทศไทยต้องทำ ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่มีรายได้ถึงขั้นที่ต้องเสียภาษีก็ตาม แต่มนุษย์เงินเดือนมือใหม่หลายคนกลับพบปัญหายื่นภาษี ผิด แก้ยังไง เกิดความรู้สึกตกใจ ทำอะไรไม่ถูก เพราะการยื่นภาษีสำหรับมือใหม่แล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากังวล แต่ความจริงแล้วถึงจะยื่นผิดก็ไม่เป็นไร เพราะทุกคนสามารถแก้ไข ยื่นภาษีผิด แก้ยังไง ทำเองได้ง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ตามที่เรากำลังจะแนะนำได้เลย
ยื่นภาษี ผิด แก้ยังไง สอนวิธีแก้ไขแบบละเอียด ไม่ต้องเสียค่าปรับ
สำหรับใครที่เกิดปัญหายื่นภาษี ผิด แก้ยังไง ทำใจเย็นๆ เอาไว้ก่อน เราสามารถแก้ไขกรณียื่นภาษีผิดได้ 2 กรณีด้วยกัน ประกอบไปด้วย
- กรณียื่นภาษี มีภาษีที่ต้องชำระ แต่ยังไม่ได้ชำระ
วิธีการแก้ไขให้กดเข้าสู่ระบบบนเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login เราจะเจอกับสถานะแบบค้างชำระ กดเข้าไปยังหมายเลขอ้างอิงยื่นแบบ เราก็จะพบกับแบบยื่นภาษีที่มีความผิดพลาด จากนั้นก็สามารถกดยกเลิกที่ปุ่มยกเลิกการยื่นแบบได้เลย เสร็จแล้วก็ให้ยื่นภาษีใหม่อีกครั้ง และระบุข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
- กรณียื่นภาษี มีภาษีที่ต้องชำระ ชำระภาษีเรียบร้อยแล้ว หรือไม่มีภาษีที่ต้องชำระ
ใครที่ยื่นภาษีไปแล้ว มีภาษีที่ต้องชำระ และชำระไปแล้ว หรือไม่มีภาษีที่ต้องชำระ ถือว่าแบบยื่นภาษีนั้นสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว เราเลยไม่สามารถยกเลิกยื่นแบบได้ แต่สามารถยื่นแบบใหม่ได้ด้วยวิธีการดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login แล้วเข้าสู่ระบบ
- เลือกยื่นแบบภ.ง.ด. 90 หรือภ.ง.ด. 91
- กรอกหมายเลขผู้ใช้กับรหัสผ่าน ระบบจะขึ้นข้อความเตือนว่าเรายื่นแบบไปเรียบร้อยแล้ว หากมีความประสงค์ยื่นแบบยื่นภาษีเพิ่มเติม ให้เรากดปุ่มตกลง แต่ถ้าจะไม่แก้ไขอะไรเพิ่มเติมก็ให้กดปุ่มยกเลิก
- หลังจากที่เรากดปุ่มตกลงเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกข้อมูลลงไปใหม่ทั้งหมดเหมือนกับการยื่นภาษีครั้งแรก
- หลังจากกรอกข้อมูลแล้วก็จะเข้าสู่หน้าคำนวณภาษี ถ้าใครจ่ายภาษีไปแล้ว หรือรับเงินคืนเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกไปยังช่อง 21 กรณีเพิ่มเติม จากนั้นกรอกจำนวนเงินภาษีที่เราจ่ายไปแล้ว หรือได้รับคืนมาแล้วลงไปในช่อง
- ระบบจะทำการคำนวณว่าเราต้องจ่ายภาษีเพิ่มอีกเท่าไหร่ หรือได้รับเงินคืนอีกเท่าไหร่
สำหรับใครที่ชำระภาษีด้วยการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ หากเป็นจำนวนที่มากกว่าที่เราต้องเสียภาษี เราสามารถติดต่อกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาในหนังสือแจ้งคืนเงิน ทางกรมสรรพากรจะมีการพิจารณาคืนเงินให้กับเราอย่างถูกต้องต่อไป แต่ในกรณีที่เราต้องได้เงินคืนมากกว่าเดิม สรรพากรก็จะมีการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ให้กับเรา แต่เงินที่ได้อาจจะช้าสักหน่อย เนื่องจากแบบยื่นภาษีของเรามีการยื่นมากกว่า 1 ฉบับในปีเดียวกัน
เตรียมตัวให้พร้อม ยื่นภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่ต้องแก้ซ้ำ
สำหรับใครที่ไม่อยากประสบปัญหายื่นภาษีไปแล้วเกิดข้อผิดพลาด ต้องมานั่งแก้ใหม่ จัดการการเงินใหม่หมด ต้องไปติดต่อสำนักงานสรรพากรให้ยุ่งยาก เราสามารถป้องกันได้ด้วยการยื่นภาษีอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก หากข้อมูลของเราถูกต้องครบถ้วน ทำครั้งเดียวก็จบเรียบร้อยแล้ว สำหรับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์แบบง่ายๆ มีดังนี้
- เข้าสู่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://efiling.rd.go.th/ จากนั้นกดปุ่มยื่นแบบออนไลน์ ใครที่ไม่เคยเป็นสมาชิกก็ให้สมัครสมาชิกก่อน โดยกรอกข้อมูลส่วนตัวอย่างเลขบัตรประชาชน หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสหลังบัตรประชาชน วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ อีเมล รหัสผ่าน
- เข้าสู่ระบบ จากนั้นให้กรอกรหัสผ่าน OTP ที่เราจะได้รับผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ระบุไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครสมาชิก
- ต่อมาให้เลือกแบบยื่นภาษีเงินได้ภ.ง.ด. 90/91 อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้บริการแล้วกดยอมรับ
- กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี ข้อมูลของผู้มีเงินได้จะประกอบไปด้วยเลขประจำตัวประชาชน ชื่อนามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่ติดต่อ และกิจการส่วนตัว สถานะสมรส กดปุ่มถัดไป
- ต่อมาจะเป็นการกรอกเงินได้ของเรา กรณีเป็นพนักงานบริษัท รายได้ของเราจะอยู่ในเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ใครทำอาชีพอิสระ หรือเป็นฟรีแลนซ์ สามารถกรอกข้อมูลจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ระหว่างทำงานก็ต้องขอหนังสือรับรองภาษีเอาไว้ด้วย
- กรอกค่าลดหย่อน จะมีทั้งค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนครอบครัว ค่าลดหย่อนในการเก็บออม ทำประกัน และค่าลดหย่อนบริจาค ในบางปีอาจมีค่าลดหย่อนพิเศษอย่างช็อปดีมีคืน ใครมีลดหย่อนอะไรก็กรอกไปตามจริง เตรียมเอกสารข้อมูลการลดหย่อนของตัวเองให้พร้อม
- ตรวจสอบข้อมูลว่าที่กรอกไปทั้งหมดถูกต้องแล้วหรือไม่ จากนั้นก็สามารถยืนยันการยื่นแบบได้เลย
หลังจากที่เรายื่นแบบเรียบร้อยแล้วก็จะรู้ว่าตัวเองมีภาษีที่ต้องจ่ายไหม หรือจะได้รับเงินภาษีที่ชำระไว้เกินหรือเปล่า ในกรณีที่เราไม่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม หรือต้องได้รับคืนภาษีที่ชำระเกินเอาไว้ กรมสรรพากรก็จะอนุมัติคืนภาษีให้กับเรา โดยสามารถเลือกรับได้ทั้งผ่านพร้อมเพย์ และบัญชีธนาคารกรุงไทย
สำหรับใครที่มีภาษีต้องชำระเพิ่ม เราสามารถชำระได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นผ่าน QR Code ผ่านแอปพลิเคชัน ผ่านตู้ ATM หรือผ่านบัตรเครดิต กรณีที่เรามียอดชำระเกินกว่า 3,000 บาทขึ้นไป เรายังสามารถผ่อนชำระภาษีได้ถึง 3 เดือนในจำนวนที่เท่ากัน ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกต่างหาก ระบบจะคำนวณยอดชำระในแต่ละเดือน และมี SMS แจ้งเตือนเมื่อถึงกำหนดวันที่ต้อง
สรุปแล้ว ยื่นภาษี ผิด แก้ยังไง สำหรับใครที่ยังไม่ได้ชำระภาษี เราสามารถกดยกเลิกแบบแล้วยื่นใหม่ได้เลย แต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียภาษี ต้องเสียภาษีเพิ่ม หรือได้รับเงินภาษีที่ชำระไว้เกินคืนเพิ่มจากเดิม เราไม่สามารถยกเลิกแล้วทำใหม่ได้ แต่สามารถยื่นใหม่เพื่อกรอกข้อมูลให้ถูกต้องได้เหมือนกัน วิธีการอาจยุ่งยากสักหน่อย แต่เราขอแนะนำว่าให้ทำอย่างถูกต้องเอาไว้ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง