หนี้เสียบัตรเครดิต แก้ยังไง? แนวทางแก้หนี้ง่าย ๆ เพิ่มสภาพคล่องการเงิน
การมีหนี้สินเป็นเรื่องปกติของคนในปัจจุบัน แต่การมีหนี้สินเกินตัวก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพการเงิน จิตใจ รวมถึงความเป็นอยู่ได้ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่ค้างชำระเกินกำหนด 30 วันขึ้นไปจนกลายเป็นหนี้เสีย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการถูกฟ้องร้อง ถูกยึดทรัพย์ หรือถูกขึ้นบัญชีดำ และหากใครที่กำลังประสบปัญหาหนี้เสียบัตรเครดิตอยู่ ก็อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะยังมีวิธีแก้หนี้อยู่หลายวิธี วันนี้เราจึงมาแนะนำแนวทาง หนี้เสียบัตรเครดิต แก้ยังไง? แนวทางแก้หนี้ง่าย ๆ เพิ่มสภาพคล่องการเงิน สำหรับใครที่อยากรู้ อ่านบทความนี้ได้เลย
หนี้ส่วนบุคคล มีกี่ประเภท?
หนี้ส่วนบุคคล คืออะไร? คือหนี้ที่เกิดจากจากความต้องการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน โดยมักมีวงเงินไม่สูงนัก ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (ยกเว้นสินเชื่อบ้านแลกเงิน และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ) สามารถแบ่งประเภทได้ตามระยะเวลา และอัตราดอกเบี้ย ได้ดังนี้
- หนี้ระยะสั้น : เป็นหนี้ที่มีระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 1 ปี เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบ้านแบบรีไฟแนนซ์
- หนี้ระยะยาว : เป็นหนี้ที่มีระยะเวลาผ่อนชำระตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อการศึกษา สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ
- หนี้เพื่อค่าใช้จ่ายจำเป็น : เป็นหนี้ที่ใช้ในการดำรงชีพ เช่น หนี้ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง
- หนี้เพื่อการลงทุน : เป็นหนี้ที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าในอนาคต เช่น หนี้ซื้อบ้าน หนี้ซื้อรถ
- หนี้เพื่ออุปโภคบริโภค : เป็นหนี้ที่ใช้ในการซื้อสินทรัพย์เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนตัว เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนมือถือ
ก่อนสร้างหนี้ ควรพิจารณาอะไรบ้าง?
ก่อนที่เราจะเลือกกู้สินเชื่อเพื่อนำเงินมาหมุนนั้น เราควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการชำระหนี้ โดยประเมินจากรายได้และรายจ่ายของตนเอง, ระยะเวลาในการผ่อนชำระที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้, เลือกอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า เพื่อประหยัดเงินในการชำระหนี้, และศึกษาเงื่อนไขอื่นๆ ของหนี้อย่างละเอียด เช่น ค่าธรรมเนียม เบี้ยปรับ เป็นต้น
แนวทางในการจัดการหนี้ส่วนบุคคล
หากมีหนี้ส่วนบุคคล ควรจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากรวบรวมข้อมูลหนี้ทั้งหมด เช่น ยอดหนี้คงเหลือ อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ เป็นต้น จากนั้นจึงจัดลำดับการจ่ายหนี้ โดยเรียงจากหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เพราะจะช่วยให้ประหยัดเงินได้มากกว่า รวมถึงเราควร มองหารายได้เสริม เพื่อเพิ่มโอกาสในการหารายได้ และหาเงินในการชำระหนี้ อีกทั้งเราควรหาทางเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอลดอัตราดอกเบี้ยหรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระ ก็จะทำให้ปัญหาในการผ่อนชำหนี้นั้น มีหนทางในการแก้ไขและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางในการชำระหนี้จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้มีการระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการชำระหนี้บัตรเครดิต และหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลไว้ ดังนี้
1.ปรึกษาเจ้าหนี้เพื่อเจรจาและขอคำปรึกษาในการจัดการ
กรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถผ่อนชำระตามกำหนดเวลา ควรรีบติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ โดยลูกหนี้ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบถึงผลกระทบด้านรายได้ พร้อมทั้งให้ข้อมูลหรือเอกสารประกอบการพิจารณา (ถ้ามี) นอกจากนี้ ลูกหนี้ควรศึกษามาตรการช่วยเหลือของเจ้าหนี้ และให้ความร่วมมือในการเจรจา โดยหลังจากการปรับเงื่อนไขการผ่อนชำระแล้ว ลูกหนี้ควรปฏิบัติตามเงื่อนไขใหม่ที่ตกลงไว้ และไม่ก่อหนี้เพิ่มเติม
2.คำแนะนำสำหรับสินเชื่อแต่ละประเภท
2.1 สินเชื่อบัตรเครดิต
- จ่ายขั้นต่ำ โดยอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำสำหรับบัตรเครดิตที่ 5% สำหรับปี 2565 และกำหนดที่ 8% ในปี 2566 เพื่อไม่ให้มีประวัติค้างชำระ
- หากสามารถจ่ายได้มากกว่าขั้นต่ำ ควรจ่ายตามความสามารถ
- บรรเทาภาระการจ่ายชำระหนี้ โดยลดอัตราการผ่อนชำระหนี้ขั้นต่ำของบัตรเครดิต
- ไม่มีประวัติค้างชำระ
2.2 สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล (บัตรกดเงินสด) ที่มีลักษณะเป็นสินเชื่อหมุนเวียน: Revolving Loan
- เปลี่ยนประเภทหนี้โดยแปลงเป็นสินเชื่อระยะยาว (Term loan) เพื่อจ่ายชำระเป็นงวด และเจรจาเงื่อนไขกับสถาบันการเงินในประเด็นดังนี้ โดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของท่าน
- ระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้* เช่น ขอจ่ายชำระเป็นงวดรายเดือนภายในระยะเวลา X ปี ตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้ เป็นต้น
- อัตราดอกเบี้ย* เช่น ขอให้เจ้าหนี้ทบทวนอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าอัตราเดิม หรือตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ ภายหลังการเปลี่ยนประเภทหนี้ เจ้าหนี้จะพิจารณาให้ใช้วงเงินของบัตรเครดิต/บัตรกดเงินสดเดิมตามความเหมาะสม ในเบื้องต้น ท่านสามารถคำนวนอัตราดอกเบี้ย และงวดการชำระเงิน ผ่านโปรแกรมคำนวนเงินกู้ (คลิกที่นี่) เพื่อพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของท่าน
- การรวมหนี้กับหนี้บ้าน : กรณีที่มีหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว โดยสามารถรวมกับหนี้สินเชื่อรายย่อยข้ามสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ เพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย และขยายเวลาการผ่อนชำระ ตามมาตรการสนับสนุนการรวมหนี้ ของ ธปท. หนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจ่ายดอกเบี้ยไม่เพิ่มจากอัตราเดิม
2.3 สินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะผ่อนชำระเป็นงวด หรือ สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน
- ขอให้ทบทวนอัตราดอกเบี้ย*ให้ต่ำกว่าอัตราเดิม หรือ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้* เพื่อให้ค่างวดลดลง โดยขอผ่อนชำระภายใน ระยะเวลา X ปี (ตามกำลังที่สามารถชำระหนี้ได้) ตามรายได้ที่ลดลงเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ท่านสามารถคำนวนอัตราดอกเบี้ย และงวดการชำระเงินเบื้องต้น จากโปรแกรมคำนวนเงินกู้ (คลิกที่นี่)
- ขอผ่อนค่างวดแบบขั้นบันได (step up) โดยทยอยจ่ายหนี้หรือค่างวดเพิ่มขึ้นในภายหลัง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ที่ลดลงในช่วงแรกและจะทยอยดีขึ้นในภายหลัง
- การรวมหนี้กับหนี้บ้าน : กรณีที่มีหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่แล้ว โดยสามารถรวมกับหนี้สินเชื่อรายย่อยข้ามสถาบันการเงิน และ/หรือ ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นได้ เพื่อลดการจ่ายดอกเบี้ย และขยายเวลาการผ่อนชำระ ตามมาตรการสนับสนุนการรวมหนี้ ของ ธปท. หนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจ่ายดอกเบี้ยไม่เพิ่มจากอัตราเดิม
2.4 การพักชำระค่างวด
- เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงชั่วคราว และคาดว่ารายได้จะกลับมาเท่าเดิมเมื่อสถานการณ์เป็นปกติ
2.5 การขยายเวลา/ลดค่างวด
- เหมาะกับลูกหนี้ที่รายได้ลดลงอย่างชัดเจนในระยะยาว หรืออาจต้องใช้เวลาปรับตัวนาน
2.6 การรวมกับสินเชื่อบ้านภายใต้กลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินเดียวกัน
- ลดภาระการผ่อนชำระรายเดือน
- ช่วยลดดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาการผ่อนชำระ
2.7 การคืนรถ
- ไม่โดนฟ้องร้อง
- หากมีหนี้ส่วนต่าง อาจเจรจาขอผ่อนชำระ หรือจ่ายชำระทั้งจำนวนเพื่อปิดหนี้ทันที
หมายเหตุ : การพิจารณาระยะเวลาในการจ่ายชำระหนี้ หรือ อัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสถาบันการเงิน และการเจรจาร่วมกันระหว่างลูกหนี้และสถาบันการเงิน
3.ศึกษามาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน
เจ้าหนี้สถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามแนวทางที่ ธปท. กำหนด ในรูปแบบและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ลูกหนี้สามารถศึกษามาตราการของสถาบันการเงินแต่ละแห่งได้ทางเว็บไซด์ หรือ call center ของสถาบันการเงินนั้น ๆ และทางเว็บไซด์ COVID-19 ของ ธปท.
อ่านบทความจบ หลายคนควรรู้แล้วการเป็นหนี้นั้น ไม่ก่อให้เกิดผลดีใด ๆ ดังนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการกู้หนี้ยืมสินเกินตัว เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวได้ รวมถึงควรวางแผนการใช้หนี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และมีอนาคตทางการเงินที่มั่นคงมากขึ้น
อ้างอิง: https://www.bot.or.th/th/satang-story/managing-debt/