ซื้อบ้านหลังแรก ผ่อนไม่ไหว รับมือยังไงดี?
ปัญหาใหญ่ของคนกู้ซื้อบ้าน เมื่อเราผ่อนบ้านมาแล้วได้ไม่นานนัก แล้วเกิดปัญหาด้านการเงินขึ้น ทำให้ไม่สามารถผ่อนบ้านต่อไปได้ โดยเฉพาะการซื้อบ้านหลังแรก เพราะสินเชื่อบ้านถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ ต้องผ่อนชำระในระยะยาวเป็นสิบปี ไปพร้อมกับดอกเบี้ย แต่ยังไงก็ตาม หากใครที่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ อย่าเพิ่งท้อกัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า ซื้อบ้านหลังแรก ผ่อนไม่ไหว ทำยังไงดี? เรามีวิธีช่วยให้คุณรับมือกับปัญหานี้ มาเริ่มกันเลย
วิธีรับมือปัญหา หากผ่อนบ้านต่อไม่ไหว ทำยังไง?
ปัญหาผ่อนบ้านของคนมีมากมายแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะมีรายได้ลดลงทำให้ผ่อนต่อไม่ไหว ค้างชำระหนี้ หรือถึงขั้นถูกฟ้องยึดบ้าน เราเชื่อว่านี่ เป็นทางออกของคนผ่อนบ้านไม่ไหว โดยมีวิธีช่วยรับมือปัญหา หากผ่อนบ้านต่อไม่ไหว ด้วยวิธี ต่อไปนี้
- การขอลดอัตราดอกเบี้ย
วิธีนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถยังพอมีแรงผ่อนบ้านได้ต่อไป ด้วยการขอให้ทางธนาคารลดอัตราดอกเบี้ยบ้านลงจากอัตราปกตินั่นเองค่ะ สำหรับวิธีนี้ เหมาะกับผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี ไม่เคยค้างชำระหนี้ เพราะธนาคารจะพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งเราสามารถขอเข้าไปรับคำปรึกษา และรับคำแนะนำได้ โดยแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น มีรายได้ลดลง และมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เป็นต้น หรือวิธีนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การขอ Retention หรือการขอลดอัตราดอกเบี้ย หากเราผ่อนบ้านมาแล้วเกิน 3 ปี อัตราดอกเบี้ยจะมีการปรับเพิ่มขึ้น หรืออีกวิธีหนึ่ง คือการขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นก็สามารถทำได้เช่นกัน
- การขอขยายระยะเวลาชำระหนี้
วิธีนี้ คือการที่เราขอขยายระยะเวลาชำระหนี้กับทางธนาคาร เช่น สัญญาบ้านเดิมกำหนดระยะเวลาผ่อนบ้าน 20 ปี ซึ่งเราสามารถขอเจรจาขยายระยะเวลาผ่อนบ้านออกไปอีก 10 ปี เพื่อให้อัตราผ่อนชำระหนี้ต่อเดือนลดลง แล้วหากภายหลังสถานการณ์ด้านการเงินกลับมาดีขึ้น เราก็สามารถนำเงินก้อนมาโปะเพื่อปิดหนี้ให้หมดเร็วขึ้น เป็นต้น เงื่อนไขที่ธนาคารจะใช้ประกอบร่วมกับการพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ ได้แก่
-
-
- ธนาคารจะขยายระยะเวลาออกไปต้องไม่เกิน 40 ปี เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ได้ผ่อนไปแล้ว
- ปีที่สิ้นสุดการชำระหนี้ ผู้กู้ต้องมีอายุไม่เกิน 70 ปี
-
- การขอลดยอดชำระหนี้
วิธีนี้ คือ การขอผ่อนชำระหนี้บ้านต่ำกว่างวดปกติ สำหรับวิธีนี้ จะสามารถทำได้กรณีที่ยอดชำระบ้านต่อเดือนสูงกว่ายอดดอกเบี้ยต่อเดือนอย่าง 500 บาท และการขอลดยอดชำระหนี้ต่ำกว่าปกติจะสามารถขอได้เพียงครั้งเดียว โดยระยะเวลาที่ขอผ่อนชำระบ้านต่ำกว่าปกติจะต้องไม่เกิน 2 ปี สำหรับวิธีนี้ เหมาะสำหรับคนที่ยังมีรายได้ประจำอยู่ แต่รายได้ลดลง หรือมีรายได้เท่าเติม แต่รายจ่ายเพิ่มขึ้น ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติสำหรับคนที่มีประวัติการชำระหนี้ที่ดี โดยต้องผ่อนชำระทุกเดือน เพียงแต่ยอดชำระลดลงเท่านั้น
- การขอผ่อนผันหนี้ที่ค้างชำระ
วิธีนี้ เป็นกรณีที่มีหนี้ค้างผ่อนชำระ อาจเกิดจากมีเหตุขัดข้องที่ทำให้ชำระหนี้คืนไม่ได้ และการที่จะสามารถชำระหนี้คืน 2-3 งวดในเดือนเดียวอาจเป็นภาระที่หนักเกินไป ซึ่งกรณีนี้ ขอผ่อนผันหนี้ค้างชำระได้นานสูงสุดถึง 36 เดือน หรือ 3 ปี โดยธนาคารจะมีเงื่อนไขรูปแบบการชำระคืน ได้แก่
-
-
- การชำระคืนเป็นเงินก้อนเล็กในทุกเดือน คือ การผ่อนหนี้ที่ค้างเพิ่มเข้าไปในแต่ละเดือน
- ชำระเป็นเงินก้อนโดยแบ่งเป็นงวด ๆ คือ การตกลงร่วมกันกับธนาคารว่าจะชำระคืนเป็นจำนวนกี่งวด และงวดละเท่ากัน
- การตกลงร่วมกันจะชำระหนี้ทั้งหมดตามกำหนดเวลา คือ ชำระคืนในระยะเวลาหนึ่ง กรณีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีหนี้ค้างไม่สูงมาก และยังมีรายได้เพียงพอ
-
- การขอพักชำระหนี้
วิธีนี้ คือการขอพักชำระหนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ ขอพักชำระเฉพาะเงินต้น และขอพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
-
-
- การขอพักชำระเงินต้น หรือการขอชำระเฉพาะส่วนดอกเบี้ย คือ เป็นการชำระหนี้เฉพาะดอกเบี้ยของงวดนั้น ๆ เท่ากัน ธนาคารสามารถพักชำระเงินต้นได้นานสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน และทำได้ครั้งเดียว ทำให้ยอดผ่อนต่อเดือนลดลง หากภายหลังสถานการณ์กลับมาดีขึ้น ก็สามารถนำเงินมาโปะเงินต้นได้ วิธีนี้ เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้ลดลง หรือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นแต่รายได้เท่าเดิม
- การขอพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย คือ วิธีนี้ไม่ต้องชำระอะไรทั้งสิ้น การหยุดชำระหนี้ทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยในกรณีพิเศษ ภายในระยะเวลา 3-6 เดือนขึ้นอยู่แต่ละธนาคาร เช่น สถานการณ์โควิด 19 เป็นต้น ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก ธนาคารจะออกมาตราการมาช่วยเหลือลูกหนี้
-
คงพอจะเห็นภาพกันแล้วว่า หากเราตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถผ่อนบ้านต่อไปได้ วิธีข้างต้นดังกล่าว จะช่วยให้เราสามารถปรับให้เหมาะสมกับกรณีที่เกิดปัญหาขึ้นกับเราได้ เพื่อให้เราสามารถรับมือกับปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อช่วยให้เราสามารถแก้ไขทุกสถานการณ์ได้อย่างประสบความสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตาม การขอรับคำปรึกษา และคำแนะนำจากทางธนาคาร จะช่วยให้เราหาทางออกได้เหมาะสมที่สุด