แนะนำวิธี แก้หนี้ เพิ่มทุน ปลดหนี้พร้อมเพิ่มสภาพคล่องฉบับทำได้จริง
“หนี้” คำที่พูดถึงแล้วอาจทำให้ใครหลายคนรู้สึกกังวลเพราะคงไม่มีใครอยากเป็นหนี้แน่นอน แต่ด้วยสภาวะปัจจุบันที่เราต้องเผชิญทั้งพิษเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อต่าง ๆ ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าแรงอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต หรือดูแลครอบครัวทำให้ต้องมีการกู้เงิน หรือสินเชื่อ มาใช้เพื่อหมุนเวียน จึงก่อให้เกิดหนี้ แล้วจะทำอย่างไรให้เราจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะมา แนะนำ วิธีแก้หนี้ เพิ่มทุน ที่จะช่วยให้คุณจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทฺธิภาพ พร้อมเช็กลิสต์สำรวจตนเอง
5 เช็กลิสต์แนะนำวิธี แก้หนี้ เพิ่มทุน
เริ่มกันที่ 5 เช็คลิสต์ที่จะช่วยให้คุณได้สำรวจตนเอง พร้อมการวางแผนที่จะช่วยให้หนี้ที่มีอยู่หมดไวขึ้น ดังนี้
- สำรวจตนเอง ว่าเรามีหนี้อะไรบ้าง จำนวนเท่าไรเพื่อวางแผนว่าจะรวมหนี้ดีไหม หรือจะทยอยโป๊ะจ่ายหนี้ก้อนไหนก่อนซึ่งให้เริ่มต้นโดยลิสต์หนี้ที่เรามีทั้งหมด และเรียงลิสต์แต่ละรายการว่ามีวงเงิน พร้อมดอกเบี้ยที่จ่ายแต่ละก้อนเท่าไร โดยให้เลือกจัดลำดับหนี้ที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไว้เป็นรายการแรก แล้วทยอยไล่ลำดับลงมา จากนั้นให้ลองนำมาคำนวณทั้งหมดดูว่ายอดหนี้ทั้งหมดเท่าไรแล้วนำไปวางแผนเพื่อปลดหนี้
- วางแผนปลดหนี้ ต่อมาเมื่อได้ยอดหนี้ทั้งหมด พร้อมลิสต์รายการเจ้าหนี้ดอกเบี้ยสูงสุดไล่ไปจนถึงดอกเบี้ยต่ำที่สุดแล้วให้ลองไปติดต่อขอสินเชื่อใหม่จากสถาบันทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาหนี้ทั้งหมดของเราซึ่งบางธนาคารอาจจะค่อนข้างเข้มงวดในการอนุมัติหากเป็นหนี้ก้อนใหญ่ เราจึงอาจจะต้องมีแผนสำรองโดยอาจจะเลือกปลดหนี้จากเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยเยอะที่สุดก่อน เพื่อไม่ให้ดอกเบี้ยเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้วค่อยทยอยโป๊ะก้อนอื่น ๆ ที่รองลงมา
- ลงมือทำ แผนจะดีแค่ไหนหากไม่ลงมือทำก็ย่อมไม่เกิดผล โดยเราควรเริ่มต้นทำตามแผนให้สำเร็จซึ่งจะต้องมีการระบุเวลาในการปลดหนี้เพื่อช่วยให้เรามีกรอบระยะเวลาว่าจะหมดเมื่อไหร่ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นภาพความเสถียรภาพทางการเงินมากขึ้น
- มองหาตัวช่วย ซึ่งตัวช่วยที่ดีที่สุดคงไม่พ้นการหารายได้เสริมโดยควรจะเริ่มต้นจากสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนมากนัก เช่น การขายของออนไลน์ รับงานฟรีแลนซ์ โดยเอาทักษะที่มีมาหารายได้เพิ่มเติม เป็นต้น
- ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง แม้จะทำตามข้อ 1- 4 มาดี แต่การใช้จ่ายยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิมอาจจะทำให้กระทบการชำระหนี้ที่อาจจะไม่เป็นไปตามแผน หรืออาจจะสร้างหนี้เพิ่มจากการใช้บัตรเครดิตที่ไม่ระวังจากการนำมารูดจ่ายเพื่อใช้หมุนเวียนซึ่งอาจส่งผลกระทบจึงควรใช้จ่ายบัตรเครดิตเท่าที่จำเป็น และแนะนำให้ใช้เงินสดจ่ายไปก่อนทุกครั้งจะดีกว่า
5 สินเชื่อแก้หนี้ที่น่าสนใจในปี 2566
ต่อมาหลังจากทำเช็กลิสต์ตนเองพร้อมวางแผนจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะเลือกแก้หนี้ที่ไหนเลยขอแนะนำวิธีแก้หนี้ เพิ่มทุนจาก 5 สินเชื่อต่าง ๆ ดังนี้
- สินเชื่อส่วนบุคคล UOB i-Cash จากธนาคารยูโอบีที่จะเป็นหนึ่งในคำตอบของคนมีค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำไปชำระ หรือหมุนเวียนภายในครอบครัว รวมถึงชำระหนี้สินต่าง ๆ ที่ให้วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ 16.99 – 24.99% ต่อปี และมีระยะเวลาในการผ่อนคืน 12 – 60 เดือน
- สินเชื่อ Krungsri iFIN จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะเป็นสินเชื่อสำหรับผู้ที่ต้องการเงินก้อนเพื่อนำไปปิดหนี้ หรือใช้เป็นค่าใช้จ่าย หรือเป็นเงินก้อนฉุกเฉินที่ให้วงเงินกู้สูงสุด 2 ล้าน หรือไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ที่ให้อนุมัติไวไม่ต้องใช้หลักประกัน
- สินเชื่อส่วนบุคคลประชาชนสุขใจ จากธนาคารออมสิน ที่ออกมาสานฝันคนอยากสร้างอาชีพ มีรายได้น้อย หรืออยากหารายได้อีกทางเพื่อนำไปโป๊ะหนี้โดยให้วงเงินกู้ตั้งแต่ 10,000 – 200,000 บาท พร้อมระยะเวลาผ่อนให้เลือกนาน 3 – 10 ปีที่เหมาะกับบุคคลทั่วไป และผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ
- สินเชื่อกรุงไทยใจป้ำ จากธนาคารกรุงไทย ที่อนุมัติเงินไวให้เงินหมุนเวียนธุรกิจ หรือนำไปใช้เพื่อชำระหนี้โดยมีวงเงินให้สูงสุดถึง 1 ล้านบาทโดยไม่ต้องอาศัยคนค้ำซึ่งเหมาะทั้งคนทำงานประจำ ประกอบธุรกิจส่วนตัว และอาชีพอิสระในอัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปีที่มีระยะเวลาในการผ่อนชำระตั้งแต่ 12 – 60 เดือน
- สินเชื่อเงินด่วน Xpress Loan จากธนาคารกสิกรไทยเพื่อให้คุณได้นำไปใช้หมุนเวียนที่ให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของรายได้จึงเหมาะกับเจ้าของกิจการ ฟรีแลนซ์ รวมถึงผู้มีรายได้ประจำโดยคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกที่ 17 – 25% ต่อปี และมีระยะเวลาในการผ่อนคืน 12 – 60 เดือน
ทั้ง 5 แหล่งสินเชื่อถือเป็นวิธีแก้หนี้ เพิ่มทุนที่อยากแนะนำเนื่องจากสามารถนำไปใช้ชำระหนี้ต่าง ๆ ที่มีอยู่สามารถช่วยให้ชำระได้ครบเมื่อรวบหนี้ หรือนำไปทยอยโปะเจ้าหนี้ที่มีดอกเบี้ยสูงให้หมดก่อน ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่าหากกู้ไปแล้วจะลดยอดหนี้ที่มีลงได้จริง ไม่งั้นจะกลายเป็นการเพิ่มหนี้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งทั้งหมดจะต้องทำควบคู่ไปกับ 5 เช็กลิสต์ข้างต้นเพื่อช่วยให้การจัดการหนี้นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ