แนะนำการลดหย่อนภาษี 2566 เตรียมพร้อมก่อนยื่นภาษีปีนี้
ใกล้สิ้นปีแล้ว ช่วงนี้หลายคนเริ่มกำลังมองหาวิธีลดหย่อนภาษีในปี 2566 ยิ่งถ้าใครมีรายรับหรือฐานเงินเดือนสูง ก็จะต้องจ่ายภาษีสูงขึ้น ซึ่งนอกจากการยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์แล้ว ยังมีเคล็ดลับการลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจปีนี้ เหมาะสำหรับคนที่อยากจ่ายภาษีน้อยลง และได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า มาฝากทุกคนกัน แต่จะมีวิธีลดหย่อนภาษีแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง? ลองมาอ่านในบทความนี้
ความสำคัญของการยื่นภาษี 2566
การยื่นภาษีปี 2566 หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนที่มีรายได้ ต้องเสียภาษีให้กับสรรพากรย้อนหลังทุกปี โดยจะเป็นการเก็บภาษีจากเงินได้ หรือรายรับที่เราได้มาทั้งปี เพื่อให้รัฐนําเงินภาษีที่เก็บได้ไปจัดสรรและใช้ประโยชน์ กลายเป็นสวัสดิการรัฐ สร้างผลประโยชน์กลับคืนสู่สังคม ซึ่งเราในฐานะพนักงานประจำ มีหน้าที่ที่ต้องยื่นภาษีในรูปแบบของการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาแบบ ภ.ง.ด. 90/91 โดยสามารถยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์
ขั้นตอนการยื่นภาษี 2566 และเอกสารที่ต้องใช้
- เตรียมเอกสารให้ครบ โดยจะมีทั้งหนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากบริษัท รวมถึงเอกสารลดหย่อนภาษี รวมถึงกองทุน SSF/RMF ที่เราซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี
- จากนั้น เข้าไปที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/login เพื่อทำการสมัคร และยื่นแบบฟอร์มการเสียภาษี ผ่านช่องทางออนไลน์
- กรอกข้อมูลลดหย่อนภาษี เช่น การบริจาคเงินให้แก่มูลนิธิ หรือการซื้อกองทุน SSF
- นอกจากนี้ เรายังเลือกได้ว่าจะนำเงินที่เสียภาษีไปสนับสนุนพรรคการเมืองที่เราสนใจ
ตารางคำนวนการเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) | เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุด | อัตราภาษี |
1 – 150,000 | 150,000 | ได้รับการยกเว้น |
150,000 – 300,000 | 150,000 | 5% |
300,000 – 500,000 | 200,000 | 10% |
500,001 – 750,000 | 250,000 | 15% |
750,001 – 1,000,000 | 250,000 | 20% |
1,000,001 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25% |
2,000,001 – 5,000,000 | 3,000,000 | 30% |
5,000,001 | – | 35% |
แนะนำการลดหย่อนภาษี ด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ
หลังจากที่เรารู้จักกับขั้นตอนและการคำนวนภาษีด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว ทีนี้เราลองมาดูเคล็ดลับการแนะนำการลดหย่อนภาษี 2566 กันบ้าง แต่จะมีวิธีไหนที่น่าสนใจ และเหมาะกับสำหรับไลฟ์สไตล์เรามากที่สุด ลองอ่านข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ได้เลย
- ลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน
วิธีแรก เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ชอบซื้อกองทุนและสะสมกันยาว ๆ โดยเราสามารถซื้อกองทุนประกันสังคม กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) โดยเราสามารถเลือกซื้อกองทุนหลายตัวรวมกันได้ ยิ่งซื้อเยอะ ก็จะยิ่งได้ค่าลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้นตามปี
- ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและลดหย่อนภาษีสำหรับครอบครัว
นอกจากนี้ เราสามารถเลือกวิธีการลดหย่อนภาษีส่วนตัวและลดหย่อนภาษีสำหรับครอบครัวได้ โดยสามารถแบ่งเป็น การลดหย่อนภาษีบุตร การลดหย่อนภาษีบิดามารดา การลดหย่อนภาษีส่วนตัว การลดหย่อนภาษีคู่สมรส การลดหย่อนภาษีผู้พิการ และการลดหย่อนภาษีค่าฝากครรภ์ และทำคลอด
- ลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อประกัน
ไม่เพียงแต่การซื้อกองทุนจะช่วยลดหย่อนภาษี แต่การซื้อประกันก็ช่วยให้เราลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่เราต้องศึกษาและเลือกกองทุนที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด โดยจะมี การลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิต ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตแบบบำนาญ ประกันสุขภาพตัวเองและบิดามารดา เป็นต้น
- ลดหย่อนภาษีด้วยการบริจาค
นอกจากการบริจาคจะช่วยให้เราอิ่มใจแล้ว ยังช่วยเราลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งเราสามารถเลือกได้ว่าจะลดหย่อนภาษีจากการบริจาคทั่วไป ลดหย่อนภาษีจากการบริจาคให้มูลนิธิ ลดหย่อนภาษีจากการบริจาคให้โรงพยาบาล โรงเรียน หรือหน่วยงานของรัฐ ลดหย่อนภาษีจากการบริจาคให้พรรคการเมือง
สนใจวิธีการลดหย่อนภาษีแบบไหน อย่าลืมนำข้อมูลจากการแนะนำการลดหย่อนภาษี 2566 ไปศึกษาและทำตามเงื่อนไข เพื่อป้องกันไม่ให้เราต้องจ่ายภาษีแพงเกินความจำเป็น หรือถูกภาษีเรียกเก็บย้อนหลังได้ แต่ถ้าใครอยากสนใจอยากลงทุน การลดหย่อนภาษีด้วยกองทุน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด