การหมั้น เป็นประเพณีไทยที่มีมาช้านาน ในปัจจุบันหนุ่มสาวที่รักชอบพอกันก็ยังนิยมที่จะจัดงานหมั้นหมายคนที่เรารักไว้ก่อนที่จะแต่งงาน แม้ว่ากฎหมายจะไม่ได้บังคับให้มีการหมั้นก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะว่าการมั่นเป็นเหมือนการให้คำสัญญากันไว้ก่อน ว่าจะอยู่คู่กันตลอดไป จนถึงวันที่พร้อมจะแต่งงานนั่นเอง
การหมั้น คือ คือสัญญาอย่างหนึ่งที่คู่รักชายและหญิงตกลงพร้อมใจกันที่จะอยู่ร่วมกันโดยทำการแต่งงานสมรสในวันข้างหน้า จะหมั้นกันหรือไม่หมั้นกันก็ได้ไม่มีใครว่า และจะทำสัญญากันด้วยวาจาก็ได้ แต่ทั้งนี้ด้วยประเพณีของไทยเรา จะนิยมหมั้นหมายกันไว้ก่อนแต่งงานมากที่สุด
ของหมั้นก็เป็นทรัพย์อะไรก็ได้ที่ฝ่ายชายให้แก่ฝ่ายหญิงโดยทรัพย์สินนั้นจะมีค่ามากหรือไม่ได้มีค่าอะไรมากก็ตาม เพื่อเป็นหลักฐานในการหมั้นนั้นเป็นของหมั้นทั้งหมด ไม่ได้เน้นไปที่ราคาของทรัพย์สินที่ใช้ในการหมั้น และจะตกเป็นทรัพย์สมบัติของฝ่ายหญิง
1. ต้องอายุอย่างต่ำ 17 ปีบริบูรณ์ คืออายุของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงที่ทำสัญญาหมั้นกัน กฎหมายใช้คำว่าตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ คืออายุ 17 ปี เต็ม ถ้าฝ่ายใดอายุไม่ถึงก็ไม่ได้ต้องทั้งคู่ ไม่เช่นนั้นการหมั้นจะเป็นโมฆะหรืออาจต้องได้รับการยินยอมจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายก่อนนั่นเอง
2.ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ข้อนี้เกี่ยวกับความยินยอมที่มีให้เกิดการหมั้นของบิดาและมารดา ถ้ายังมีชีวิตอยู่ทั้งคู่ แก่ถ้าบิดาหรือมารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเสียชีวิตแล้ว หรือไม่มีอำนาจแล้วตามกฎหมายก็ให้ฝ่ายที่ยังอยู่ให้ความยินยอมได้ คนเป็นมารดาของเด็กถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา มารดาเท่านั้นที่จะให้ความยินยอมได้ ผู้รับบุตรธรรมก็มีอำนาจยินยอมได้เหมือนกัน ทั้งไปถึงผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบิดามารดาก็ให้อำนาจได้เช่นกัน
3.กฎหมายที่กำหนดห้ามเรื่องของการสมรสไว้นั้น ในการทำสัญญาหมั้นก็ทำไม่ได้ด้วยเช่นกัน คนวิกลจริต คนบ้า คนที่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนที่ไร้ความสามารถแล้ว จะมาทำสัญญาหมั้นไม่ได้ บุพการี จะหมั้นกับผู้สืบสันดานไม่ได้ บุพการีก็คือ พ่อแม่ของเรา ปู่ย่าตายายของเรา ผู้สืบสันดานก็คือ ลูกหลาน เหลนลื้อ จะหมั้นกันไม่ได้ ซึ่งนี่ก็คือกฎการหมั้นแบบคร่าวๆ ที่ผู้จะทำการหมั้นควรรู้เอาไว้นั่นเอง
ถ้าหมั้นแล้วไม่ยอมสมรสกัน ?
ก็จะฟ้องบังคับให้จดทะเบียนสมรสไม่ได้ ได้แต่เรียกค่าทดแทน ของหมั้น สินสอดคืนเท่านั้น ค่าทดแทนก็เช่นกัน ความเสียหายแก่ร่างกายของฝ่ายหญิง เพราะอาจจะมีการล่วงเกินกันถึงขั้นได้เสีย ก็ถือว่าเป็นความเสียหายต่อร่างกายของฝ่ายหญิงแล้ว หรือแม้แต่ชื่อเสียงของฝ่ายหญิง ที่เสียชื่อเสียง ยิ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในแวดวงผู้ดีด้วยแล้ว ฝ่ายหญิงเขาถือว่าเสียชื่อเสียงเมื่อไม่ได้ทำการสมรส ฝ่ายชายก็เสียชื่อเสียงได้เหมือนกัน ไม่ได้เฉพาะแต่ฝ่ายหญิงฝ่ายเดียว เพราะฝ่ายชายบางทีก็เป็นบุคคลชั้นสูงก็อาจทำให้ฝ่ายชายต้องมาเสียชื่อเสียงเมื่อไม่มีการแต่งงานสมรสกัน ก็เรียกค่าทดแทนกันได้ ค่าทดแทนยังรวมไปถึงค่าการเตรียมการที่จะมีการจัดงานแต่งงานก็เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่นค่าก่อสร้างเรือนหอ ค่าการ์ดเชิญไปงานแต่งงาน ค่าจองสถานที่งาน ค่าอาหาร ค่าชุดเจ้าสาว และยังมีค่าจัดการทรัพย์สิน อาชีพการงานด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรสกันแน่นอน แต่ไม่เป็นไปอย่างที่จะได้สมรสกัน เช่นค่าขายกิจการต่าง ๆ ของตนไปด้วยราคาถูก หรือลาออกจากงานเพื่อหวังว่าจะไปอยู่ด้วยกันในอีกที่หนึ่งซึ่งห่างไกลกันเพื่อจะได้มาอยู่ใกล้ชิดกันเมื่อแต่งงานแล้วก็เรียกค่าทดแทนได้
การเลิกสัญญาหมั้น
สามารถทำได้ตามกฎหมาย อย่างการตกลงกันด้วยดีไม่มีปัญหาใดๆ ก็ดี โดยฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชาย หรืออาจจะเกิดจากเสียชีวิตของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็เป็นเหตุสุดวิสัยที่จะแต่งการกันได้ ไม่ถือว่าผิดสัญญาหมั้นแต่อย่างใด และฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายแต่อย่างได หรือถ้ามีเหตุสำคัญแก่คู่หมั้น ก็เลิกสัญญาหมั้นได้ เช่นเป็นโรคร้ายแรง คู่หมั้นมีคนอื่นก็เลิกสัญญาหมั้นกันได้ แต่จะเรียกค่าทดแทนได้หรือไม่ก็อยู่ที่สาเหตุเกิดจากความผิดของฝ่ายใด ถ้าหญิงไปมีชายอื่น ฝ่ายชายเลิกสัญญาหมั้นได้และเรียกของหมั้นกับค่าทดแทนได้ แต่ถ้าฝ่ายหญิงไม่ได้มีความผิดอะไร เช่นป่วยเป็นโรคเอดส์ ฝ่ายชายเรียกค่าทดแทนไม่ได้
การหมั้น สำคัญ และเป็นประเพณีที่ดีงามของสังคมไทยมาตลอด แต่ก็อาจเกิดปัญหาได้ถ้าผิดสัญญาหมั้น อาจเสียค่าทดแทน และคืนของหมั้นได้ ขึ้นอยู่กับฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด ดังนั้นการหมั้นจึงมีความสำคัญกับตัวเรา คู่รักและครอบครัวแต่ทั้งนี้ก่อนจะทำการหมั้นอย่าลืมคิดคำนึงให้ดีซะก่อน และทำความเข้าใจกับข้อกำหนดนการหมั้นให้ดี รวมถึงคู่หมั้นเองจะต้องมีความรักและความซื่อสัตย์ต่อกัน ทำตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ในขณะหมั้นจนถึงวันที่ได้แต่งงานกันจริงๆ ซึ่งหากใครทำผิดสัญญา อย่าลืมว่าจะต้องชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ให้กับอีกฝ่ายหนึ่งด้วย