ปัญหาเงินเฟ้อในปี 2558 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 1.8-2.5 ความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่ประมาณการจากการใช้จ่ายที่น้อยลงของภาครัฐนั้นถือว่าเป็นอันตรายต่อภาวะเงินเฟ้ออย่างมาก ทั้งยังมีการลดราคาของน้ำมันที่ต่ำลง พร้อมด้วยการออกมาใช้จ่ายเงินของประชาชนที่ลดลง แต่ภาวะหนี้ครัวเรือนกลับขยับตัวสูงขึ้น จึงทำให้ภาวะเงินเฟ้อเกิดการขยายตัวช้า ทั้งนี้ยังมีเรื่องของการปรับขึ้นราคาแก๊ส LPG ตามนโยบายปรับโครงสร้างพลังงานของรัฐ แต่ยังไม่ถึงภาวะเงินฝืดที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจเสียหายมากกว่าเดิม ซึ่ง ภาวะเงินเฟ้อ เมื่อต้นปีนั้นถือว่ามีการขยายตัวที่สูงสุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากประชาชนยังซื้อสินค้าอยู่บ้างและผู้ประกอบการก็ยังไม่ลดกำลังผลิตลงโดยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับสภาวะเงินเฟ้อ ประกอบด้วย ราคาสินค้าและบริการ, ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีเพียงพอหรือไม่ , อัตราดอกเบี้ยนั้นส่งผลต่อสภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ รวมไปถึงอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ค่าเงินจะอ่อนหรือแข็งตัวที่จะส่งผลต่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการอีกด้วย
สำหรับผู้บริโภคจะเป็นตัวชี้วัดที่การเปลี่ยนแปลงระดับราคาของสินค้าและบริการ คือกลุ่มสินค้าและบริการที่กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายส่วนใหญ่จะต้องซื้อใช้เป็นประจำ ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคในเป้าหมายเหล่านี้จะเลือกซื้อสินค้าจากตัวชี้วัดที่สำคัญคือ ด้านราคา ที่เป็นตัวชี้วัดราคาต่าง ๆ เช่น ราคาน้ำมัน, ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐาน เป็นต้น ด้านการคลังและงบประมาณ ด้านปริมาณเงินและอัตราดอกเบี้ย และการค้าระหว่างประเทศ, การส่งออกและบริการ ซึ่งตัวสินค้าทางการเกษตรในต้นปีนี้มีปริมาณที่สูงขึ้น แต่พอมาถึงปลายปีกลับเริ่มชะลอตัวลงตามสภาวะเศรษฐกิจของโลก ทั้งนี้เศรษฐกิจในประเทศไทยปี 2558 มีแนวโน้มที่จะขยายสูงกว่าที่ประเมินไว้เล็กน้อยจากการลงทุนของภาครัฐและการบริโภคของเหล่าเอกชน แต่แรงกดดันเงินเฟ้อลดลงจาปัจจัยด้านอุปทาน โดย ภาวะเงินเฟ้อปี 2558 ทั้งปีมีแนวโน้มที่ติดลบมาโดยตลอด แต่จะค่อยทยอยปรับตัวสูงขึ้นและอาจจะกลับมาบวกได้ในต้นปี 2559 จากผลของฐานราคาน้ำมันที่สูงขึ้น รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวกจึงมีการคาดการณ์ว่าเป้าหมายของเงินเฟ้อในต้นปีหน้าจะปรับมาเป็นบวกเพิ่มขึ้น
แรงกดดันของเงินเฟ้อที่ต้นทุนต่ำนั้นคือราคาเชื้อเพลิงในประเทศที่ราคาต่ำลง รวมถึงราคาน้ำมันที่จะมีการลดลงอีกไปถึงต้นปีหน้า อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อด้านอุปสงค์นั้นจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศของครัวเรือนกลับขยายตัวได้ดีกว่า เอื้อให้ผู้ประกอบการสามารถปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นได้บ้าง และมีการปรับขึ้นอัตราภาษีรถยนต์ในช่วงต้นปี 2559 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในปี 2558 และปี 2559 สูงกว่าเดิมถึงร้อยละ 1.1 และ 0.9 ตามลำดับ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อในปี 2558 ที่ร้อยละ -0.9 และมีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ซึ่งในเรื่องของการรับมือ ทางภาครัฐได้มีการวิเคราะห์ไว้เพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญและนำมาสู้พร้อมกับสามารถประมาณการณ์เงินเฟ้อได้ดังนี้
การใช้จ่ายของภาครัฐ
โดยเฉพาะในด้านของการลงทุนต้องปรับเพิ่มขึ้นทั้งเรื่องของการลงทุน และมาตรการเร่งก่อหนี้ผูกพันที่จะเข้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2559 และการลงทุนนอกงบประมาณจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่ 2 และเมื่อการใช้จ่ายในภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ภาคเอกชนเกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น ก็จะไปกระตุ้นให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับโครงการชองรัฐ เช่น การลงทุนร่วมกันในโครงการรถไฟฟ้า หรือการร่วมกันสร้างโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวที่สร้างรถไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งมาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมทั้งทำผู้มีรายได้น้อยสามารถมีที่อยู่อาศัยได้ และยังทำให้เกิดการจ้างงานและธุรกิจอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
ผลกระทบของภัยแล้ง
ที่ทำให้การเกษตรมีปัญหา ในปี 2558 มีสภาวะที่เรียกว่าน้ำแล้งจากการที่มีปริมาณฝนตกน้อยกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้น้ำในเขื่อนมีปริมาณต่ำ แต่ด้วยความที่เกษตรกรตอนนี้ได้ผันตัวเข้าไปทำงานที่อื่นจนหมดจนทำให้เหลือผู้ที่ทำนาจริงจังอยู่ไม่มากจึงสามารถที่พอจะประคองไปได้ ซึ่งมีการคาดการณ์แล้วว่าประมาณครึ่งปี 2559 ปริมาณการตกของฝนจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
ราคาน้ำมันในตลาดโลกลดลงมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้
โดยจะส่งผลถึงประมาณครึ่งปี 2559 แล้วก็จะกลับมามีแนวโน้มราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อีกครั้ง รวมทั้งปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวขึ้นด้วย ประชาชนจึงยังไม่ควรจะแตกตื่น หรือคิดไปว่าเศรษฐกิจนั้นกำลังแย่ แต่แค่เพียงรอเวลาที่ควรจะเป็น ซึ่งการคาดการณ์จะมุ่งไปที่กลางปีหน้า
จะเห็นได้จากข่าวของการที่ภาครัฐมักจะออกมาพร้อมกับนโยบายที่ช่วยกระตุ้นในด้านต่าง ๆ ทั้งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ภาคการโทรคมนาคม หรือภาคของการเกษตรและส่งออก เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคเอกชนและประชาชนให้ออกมาจับจ่ายใช้สอยกันให้เป็นไปตามปกติ ดังเช่นข่าวของการที่ภาครัฐสนับสนุนการนำเงินที่ได้จากการคืนภาษีไปซื้อสินค้าตามความต้องการของประชาชน และการลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นลงเพื่อช่วยภาคครัวเรือนในอีกหลาย ๆ ครั้ง ที่เป็นความพยายามของทางภาครัฐที่ลดการขยายตัวช้าของอัตราเงินเฟ้อให้ได้อีกด้วย