สภาวะสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคที่ต่างก็พากันขึ้นราคามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เหล่ามนุษย์เงินเดือนและพ่อค้าแม่ค้า หรือแม้กระทั่งในนักธุรกิจรายใหญ่ ก็ล้วนแล้วแต่จะต้องมีการบริหารการเงินที่เป็นการดูแลการเงินให้มีความเรียบร้อยและรอบคอบเข้าไว้ก่อนในกรณีที่ฉุกเฉินเมื่อต้องมีการใช้เงินในอนาคต
การวางแผนทางการเงิน ถือว่าเป็นข้อที่ควรจะปฏิบัติเป็นอย่างแรกที่ทุกคนสมควรที่จะต้องทำ ทั้ง วิธีวางแผนการเงิน ของตัวเองและครอบครัวให้มีความเหมาะสม ประกอบไปด้วยการสำรวจตัวเอง การกำหนดเป้าหมาย การจัดส่วนของการบริหารเงิน โดยจะต้องมีการจัดงบดุลในการคุมเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนตัว ที่จะต้องมีการรวบรวมตัวเลขรายได้ที่มีอยู่ทั้งหมด, รวบรวมและจดบันทึกรายจ่ายในแต่ละเดือน ว่าจะต้องมีการใช้จ่ายไปกับเรื่องใดบ้าง คาดคะเนรายจ่ายที่มีอยู่ในอนาคต เพื่อทำสรุปงบประมาณ แล้วตั้งเป็นงบดุลเงินสด ติดตามการใช้จ่ายและการปรับปรุงงบประมาณ
เมื่อเข้าสู่ วิธีวางแผนการเงิน ก็ต้องเริ่มที่จะมีการออม โดยที่การออมนั้นควรที่จะมีการแยกบัญชีเงินฝากออกมาเป็น 3 บัญชี ได้แก่
- บัญชีการใช้จ่ายเผื่อยามฉุกเฉิน
- บัญชีเงินออม
- ตัวบัญชีเพื่อการลงทุน
การบริหารหนี้สินก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสามารถหนีกับดักทางการเงิน เป็นไปตามสุภาษิตว่าการไม่มีหนี้ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐ ซึ่งตัวหนี้นั้นก็มีทั้งแบบ หนี้ดีและหนี้ฟุ่มเฟือย ที่จะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์วิธีการที่ดีที่สุดในการลดหนี้ คือ การที่พยายามใส่เงินในจำนวนมากที่สุด โดยที่จะไม่กระทบกับรายจ่ายประจำที่จำเป็นเพื่อเป็นการชำระหนี้สินที่ถูกคิดดอกเบี้ยเอาไว้แพงที่สุด
การวางแผนเพื่อการประหยัดภาษี ก็เป็นวิธีการง่าย ๆ ที่สรรหาคำตอบของการลดหย่อนภาษี ที่ประกอบไปด้วย ดอกเบี้ยการกู้ซื้อบ้าน เงินบริจาค และการทำประกันชีวิต เป็นต้น และการวางแผนทางการเงินของคู่สมรสที่จะต้องมีแผนทางการเงินในอนาคตที่มีระยะยาวถึง 10 ปี และสามารถที่จะจัดแยกเงินออกมาเป็นหลายบัญชี ตามวัตถุประสงค์ของการใช้เงินในแต่ละประเภท
ถ้าต้องการหรือจำเป็นที่จะต้องมีการใช้รถยนต์ ก็ต้องมีแผนในการซื้อรถยนต์ ที่ค่าใช้จ่ายในการซื้อรถก็ไม่ควรที่จะเกินอัตรา 15% ของรายได้ของครอบครัวเพื่อที่จะไม่เกิดสภาวะการใช้เงินหรือภาระการผ่อนส่งที่เกินตัว ส่วนของแผนการเงินเพื่อการซื้อบ้านก็ให้เลือกโครงการที่ดีที่มีค่าใช้จ่ายที่ต่ำสุด กู้เงินให้น้อยที่สุดและมีการผ่อนชำระให้เร็วที่สุดอีกด้วย
และเมื่อต้องมีลูกก็ต้องมีแผนการเงินเพื่อการมีลูก โดยให้เริ่มจากการสำรวจค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการคลอดบุตร และค่าเลี้ยงดูบุตรต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมดนี้สามารถที่จะจัดการได้ คือ เมื่อพอเริ่มที่จะตั้งครรภ์ก็ต้องเริ่มที่จะเก็บเงิน และบริหารเงินที่ดี และยังต้องมีแผนการเงินเพื่อการศึกษาของลูก ต้องคำนวณหาค่าเล่าเรียนที่ต้องคิดจากตัวค่าเงินในปัจจุบันและอนาคต โดยให้รวมอัตราการเพิ่มของค่าเทอมหรือเงินเฟ้อเฉลี่ยไปต่อปีที่ประมาณ 5% เข้าไปด้วย แผนการเงินในการเกษียณก็จะต้องมีการคำนวณ ที่เมื่อตอนเกษียณต้อมีการคำนวณด้วยการเอา 1 หารด้วย 10 แล้วนำเอามาคูณด้วยอายุปัจจุบัน และคูณรายได้ทั้งปี ถ้ามีเงินออมที่น้อยกว่าที่คำนวณได้ ก็ต้องมีการเก็บเงินในสัดส่วนที่มากยิ่งขึ้น จึงจะสามารถพอต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตได้
นอกจากนี้ยังมีวิธีการคิดในการแบ่งเงินเอาไว้สำหรับการใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉิน และกันเอาไว้สำหรับสร้างหลักประกันที่เรียบร้อยแล้ว เงินที่เหลือจะเป็นเงินในส่วนที่นำเอามาลงทุนได้ ซึ่งก็จะเป็นประเภทของบริหารเงินการลงทุน ที่มีตั้งแต่ตัวหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวมและตัวเงินฝาก การลงทุนเหล่านี้ผู้ลงทุนจะต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดก่อนการลงทุนในทุก ๆ ครั้ง การจัดการเงินออมในแต่ละเดือนให้กลายเป็นเหลือเก็บก่อนค่อยเอาไปใช้ หรือเหลือจ่ายก่อนค่อยเอาไปเก็บ จะมีการจัดขึ้นมาเป็นสมการที่น่าสนใจของการออมเงินที่ต้องลองมาดูว่าการออมแบบใดที่จะเหมาะสมกับตัวเอง คือ
รายได้ – เงินออม = รายจ่าย (เหลือเก็บแล้วก็ค่อยเอาไปใช้)
รายได้ – รายจ่าย = เงินออม (เหลือจ่าย ค่อยเอาไปเก็บ)
สมการการออมเงินที่ดีต้องเป็นไปในรูปแบบแรก คือ การหักออมเอาไว้ก่อน ที่เหลือจึงค่อยนำไปใช้จ่ายได้ตามที่ต้องการ เพื่อที่จะกันเงินสำหรับการออมที่ทีอยู่อย่างสม่ำเสมอในแต่ละเดือน แต่สำหรับคนที่มีการมองหาความมั่งคั่ง สมการนี้ก็ถือว่ายังไม่มีความเพียงพอ ต้องเลือกเป็นรูปแบบของสมการเศรษฐีแทนนั่นคือ
รายได้ – เงินออม – เงินลงทุน = รายจ่าย
โดยหลังจากการหักเงินออมแล้ว ยังจะต้องมีการแบ่งเงินในส่วนหนึ่งไว้สำหรับลงทุนด้วย เพื่อให้เงินเป็นตัวทำงาน เงินที่ทำการลงไปจะได้งอกเงยขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ก่อนที่จะทำการลงทุน ก็ควรที่จะต้องมีการสำรวจตนเองเพื่อที่จะดูว่า สามารถที่จะยอมรับต่อความเสี่ยงในการลงทุนนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ปัจจุบันเหล่าสถาบันทางการเงินต่าง ๆ มีรูปแบบของการทดสอบในการวัดระดับความเสี่ยงสำหรับลูกค้าก่อนการตัดสินใจในการลงทุนก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นการเลือกวัดระดับความเสี่ยงที่ลูกค้าแต่ละรายจะสามารถยอมรับได้ และเลือกประเภทของการลงทุนที่มีความเหมาะสมให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ และเป้าหมายในการลงทุน พร้อมความเหมาะสมของการลงทุนในแต่ละคน