ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 2568 เป็น 400 บาทบางจังหวัด มีผล 1 ม.ค. 68 นี้
หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ประชาชนคนไทยก็เฝ้ารอว่าจะมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามนโยบายหาเสียงตอนไหน ซึ่งล่าสุดก็มีการประกาศ ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 2568 เป็น 400 บาทบางจังหวัด มีผล 1 ม.ค. 68 นี้ พร้อมสรุปค่าแรงใหม่ทุกจังหวัด หากพร้อมแล้วไปดูกันเลย
การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 2568
ล่าสุดนี้ทางกระทรวงการคลัง ได้ออกมาประกาศหลังบอร์ดการประชุมมีมติเอกฉันท์ในการ ปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ปี 2568 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มวันละ 7 – 55 บาท (เฉลี่ยร้อยละ 2.9) ซึ่งสูงสุดจะอยู่ที่ 400 บาท/วัน (เฉพาะที่ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และสุราษฎร์ธานี เฉพาะอำเภอเกาะสมุย) และต่ำสุดอยู่ที่ 337 บาท/วัน
ตารางสรุปค่าแรงขั้นต่ำ 2568 (17 อัตรา)
การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่งผลอะไรบ้าง?
ต่อผู้ใช้แรงงาน
- รายได้ที่เพิ่มขึ้น
ผู้ใช้แรงงานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังซื้อ และยกระดับคุณภาพชีวิต
- แรงจูงใจในการทำงาน
การปรับค่าแรงอาจสร้างแรงจูงใจให้ผู้ใช้แรงงานพัฒนาทักษะ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- ค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น
แม้ว่ารายได้จะเพิ่มขึ้น แต่สินค้า และบริการบางประเภทอาจปรับราคาขึ้นตามค่าแรงที่สูงขึ้น
ต่อนายจ้าง
- ต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายด้านแรงงานสูงขึ้น อาจส่งผลให้นายจ้างต้องปรับโครงสร้างธุรกิจหรือลดจำนวนพนักงาน
- การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน
นายจ้างอาจต้องลงทุนในเทคโนโลยีหรือการฝึกอบรมพนักงานเพื่อเพิ่มผลผลิตให้คุ้มค่ากับค่าแรงที่สูงขึ้น
- การย้ายฐานการผลิต
บางธุรกิจอาจพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่ที่มีค่าแรงต่ำกว่า
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม
- กระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ
รายได้ที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
- เงินเฟ้อ
ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ซึ่งอาจกระตุ้นเงินเฟ้อในบางช่วงเวลา
- การดึงดูดแรงงานต่างชาติ
ประเทศไทยอาจดึงดูดแรงงานฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น หากค่าแรงขั้นต่ำสูงกว่า
ข้อดี-ข้อเสียของการปรับค่าแรงขั้นต่ำ
ข้อดี:
- เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน
- กระตุ้นการบริโภค และเศรษฐกิจในระยะสั้น
- ลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้
ข้อเสีย:
- ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น อาจกระทบต่อ SME
- ความเสี่ยงจากการปรับราคาสินค้า และบริการ
- นายจ้างบางรายอาจลดจำนวนพนักงาน
การปรับตัวหลังขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 2568
สำหรับผู้ใช้แรงงาน
- บริหารจัดการรายได้ และออมเงิน
- พัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงาน
สำหรับนายจ้าง
- ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยลดต้นทุน
- สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และบริการ
สำหรับรัฐบาล
- สนับสนุน SME ในการปรับตัว
- ควบคุมราคาสินค้า และบริการให้สมดุลกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
การปรับค่าแรงขั้นต่ำในปี 2568 เป็นเรื่องที่ดีสำหรับแรงงานไทยทั่วประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลกระทบต่อนายจ้าง และเศรษฐกิจประเทศโดยรวมด้วยเช่นกัน กล่าวได้ว่าเป็นนโยบายที่มีทั้งผลดี และผลเสีย ดังนั้นจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้การเปรับครั้งนี้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ และสังคมในระยะยาวนั่นเอง