วางแผนการเงิน ก่อนแต่งงาน ทำยังไงบ้าง ให้งบไม่บาน มีงานดั่งใจ
เมื่อมีชีวิตคู่จนถึงจุดหนึ่งที่อยากก้าวไปอีกขั้น เชื่อว่าหลายคนก็คงจะวาดฝันถึงการแต่งงานที่จะตามมา อีกทั้งล่าสุดประเทศไทยได้ผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าคู่รัก LGBTQIA+ เตรียมจะจัดงานแต่ง และจดทะเบียนกันเพิ่มในเร็ว ๆ นี้อีกมากอย่างแน่นอน แม้ว่างานแต่งจะเป็นงานที่มีแต่ความโรแมนติกหวานชื่น แต่เบื้องหลังการจัดงานแต่งงานมีค่าใช้จ่าย และรายละเอียดมากมายที่เราคาดไม่ถึง การเก็บเงินแต่งงานจึงต้องคำนวณงบประมาณ และวางแผนก่อนแต่เนิ่น ๆ แล้ว วางแผนการเงิน แต่งงาน ทำยังไงบ้างสำหรับจัดงานให้ดี เมื่อถึงวันแห่งความสุขจะได้มีแต่ความประทับใจ ไม่มีพลาด
วางแผนการเงิน แต่งงาน ทำยังไงบ้าง
ขั้นตอนที่ 1 ทำความรู้จักตัวเอง
ก่อนแต่งงานมาเริ่มที่ทำความรู้จักทั้งตัวเองและว่าที่เจ้าบ่าวเจ้าสาวว่ามีสถานะการเงินเป็นยังไง มีรายรบ รายจ่าย มากน้อยแค่ไหน มีภาระทางการเงินแต่ละคนยังไงบ้าง
เช่น ตอนนี้นาย A เจ้าบ่าว มีอายุ 33 ปี เป็นพนักงานเงินเดือนบริษัทเอกชน มีเงินเดือน 50,000 บาท มีภาระผ่อนรถเดือนละ 9,000 บาท นาง B เจ้าสาว มีอายุ 30 ปี ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้ต่อเดือนสุทธิ 100,000 บาท ไม่มีภาระอื่น ๆ
ขั้นตอนที่ 2 ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน
จากนั้นกำหนดวันแต่งงานเพื่อให้มีความชัดเจนของเป้าหมายและระยะเวลาวางแผนออมเงินสำหรับ งานแต่งงาน ควรกำหนดระยะเวลาแต่งงานคร่าว ๆ ออกมาก่อน เช่น จะแต่งงานกันใน อีก 1 ปี หรือ 2 ปี ข้างหน้า ช่วงเดือนไหน เป็นต้น เพื่อที่จะประเมินว่าเราจะช่วยกันเก็บเงินหรือลงทุนเดือนละเท่าไร เพื่อฟหวังผลตอบแทนหรือเงินออมที่เพียงพอทันเวลา
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ขั้นตอนนี้สำคัญมาก คู่รักจะต้องช่วยกันตัดสินใจกำหนดงบประมาณให้ชัดเจน เพื่อจัดสรรเงินได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด เช่น ค่าสินสอด แหวนหมั้น ชุดแต่งงาน ขบวนแห่ขันหมาก การจัดงานเลี้ยง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเราจะจแจกแจงในหัวข้อถัดไป นอกจากนี้ ควรพิจารณาตัวเลือกที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในงานแต่งงานของเรามากขึ้นด้วย
ค่าใช้จ่าย งานแต่ง ที่ควรรู้
หากเรารู้รายการค่าใช้จ่ายงานแต่งงานได้อย่างครอบคลุม ก็จะช่วยให้คู่บ่าวสาวสามารถวางแผนการจัดเตรียมได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายในงานแต่งงานมีความหลากหลาย แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้
- ก่อนงานแต่ง ประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าที่ดินสำหรับจัดงาน ค่าเช่าห้องแต่งงาน ค่าติดตั้งห้องแต่งงานและอุปกรณ์ตกแต่ง ค่าพิธีการ ค่าบริการช่างถ่ายภาพและวิดีโอ ค่าบริการดูแลร่างกายก่อนงาน และอื่น ๆ
- ระหว่างงาน รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการแต่งหน้าและทำผม ค่าบริการช่างถ่ายภาพในวันงาน ค่าการ์ดแต่งงานและของขวัญ ค่าชุดเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ค่าเช่าชุดแต่งงาน ค่าวางพิธีกรและวงดนตรี ค่าของที่จับรับ ค่าเค้ก ค่าอาหารและเครื่องดื่มในงาน
- หลังจัดงาน รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฮันนีมูน นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายที่คู่บ่าวสาวอาจไม่คาดคิดถึง เช่น ค่าส่งการ์ดเชิญทางไปรษณีย์ ค่าเสริมเครื่องแต่งกายอื่น ๆ เช่น ชุดชั้นใน รองเท้า และเครื่องประดับที่อาจจะต้องเพิ่มเติมนอกเหนือจากชุดเจ้าสาว ค่าชดเชยในการทำงานเกินเวลาหากงานแต่งงานเกินเวลาที่กำหนดไว้ ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน และค่าตอบแทนเพิ่มเติมให้กับทีมงานที่ให้บริการในงานแต่งงาน ทั้งหมดนี้ควรถูกคำนึงถึงและเผื่อเหลือเงินสำรองไว้ล่วงหน้า
และทั้งหมดนี้คือ วิธีการวางแผนการเงินก่อนแต่งงาน ทำยังไงบ้าง ซึ่ง เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เพราะการจัดงานแต่งนั้นแต่ก็ต้องยอมรับว่าใช้งบประมาณ ค่อนข้างที่จะเยอะ และมีโอกาสที่จะบานปลายสูง ถ้าหากวางแผนทางการเงินไม่ดี อาจทำให้งานออกมาไม่ดีเท่าที่หวัง อาจส่งผลไปจนถึงสภาพคล่องที่ไม่ดีตามมาหลังแต่งงาน ดังนั้น ควรกำหนดงบประมาณให้ครอบคลุม เช็กให้มั่นใจ ก่อนจัดงานแต่งงาน จะได้มีงานในฝันที่ราบรื่น