การวางแผนการบริการเงินในครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะยากมาก ทั้งนี้เป็นเพราะรายจ่ายที่มากขึ้นเนื่องจากไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวเหมือนเมื่อก่อนแล้ว สำหรับชีวิตวัยครอบครัวนั้นจัดได้เลยว่าเป็นวัยทีต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น การบริหารเงินเองก็ต้องมีความเป็นระเบียนมากขึ้นตามไปด้วย มีการมองการไกลถึงอนาคตวันข้างหน้าอีกด้วย ดังนั้นในหนึ่งเดือนนั้นเราต้องจัดการอะไรบ้าง บริหารรายรับ-รายจ่าย ยังไง วันนี้มีคำตอบค่ะ
เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่จัดได้เลยว่าโลกแตกมากๆเลยทีเดียว สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ต่างต้องการชักหน้าให้ถึงหลังด้วยกันทั้งนั้น สำหรับคนที่มีครอบครัวก็เช่นกันนะคะ แต่จะให้ทำอย่างไรได้บนสภาวะค่าครองชีพสูงบนฐานเงินเดือนที่แสนต่ำ ทำให้หลายครอบครัวประสบปัญหาเงินเดือนหรือรายรับไม่พอกับรายจ่าย แล้วเราจะทำอย่างไรกับปัญหาโลกแตกนี้ดีล่ะ เพราะแต่ละคนพื้นฐานรายได้ไม่เท่ากัน รายจ่ายไม่เท่ากัน แล้วจะแก้ปัญหา บริหารรายรับ- รายจ่าย อย่างไร
เคล็ดลับ บริหารรายรับ-รายจ่าย ในครอบครัว
1. ก่อนอื่นต้องแจกแจงรายจ่ายทั้งหมดที่ครอบครัวต้องจ่ายประจำทุกๆเดือน อันเอาแต่ที่สำคัญจริงๆที่เป็นปัจจัยพื้นฐานนะคะ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร หากมีลูกก็ต้องรวมรายจ่ายของลูกเข้ามาด้วย
2. ต่อมาก็คำนวณรายรับทั้งหมดของครอบครัวต้องบอกก่อนเลยว่ารวมทั้งสามีและภรรยา เพราะในสภาวะย่ำแย่แบบนี้หากต้องการให้ครอบครัวอยู่รอดต้องร่วมด้วยช่วยกันจ่าย โดยกลับมาดูว่ามีรายจ่ายอะไรบ้างที่ต้องชำระทุกเดือน แต่มันไม่ตายตัวเสมอไปนะคะ ให้เผื่อเงินในส่วนนี้ไว้ 10% ของรายจ่ายที่ได้คำนวณไว้อย่างคร่าวๆเสมอ เผื่อขาดเผื่อเกินนั่นเองค่ะ
3. ให้นำยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาหักลบกับรายได้ ดูว่ามีเงินเหลือเท่าไหร่ หรือ ติดลบเท่าไหร่ เราก็มาดูว่ารายการไหนที่เราสามารถลดทอนได้ เช่น ค่าใช้จ่ายประจำวันมีรายการไหนที่เราจะประหยัดได้บ้าง สามารถลดรายจ่ายอันไหนลงได้บ้าง เพื่อให้มีเงินรายรับเหลือไว้เป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน ซึ่งทั้งหมดนี้ทั้งครอบครัวต้องช่วยกัน เพราะในปัจจุบันบางครอบครัวนิยมกระเป๋าใครกระเป๋ามัน แบ่งภาระกันไปตามสัดส่วนของรายได้ ซึ่งความจริงแล้วมันก็ทำได้ หากสามี และ ภรรยา นั้นรายรับของแต่ละคนมากพอสมควร
4. การอยู่เป็นครอบครัวนั้นบอกไส้ก่อนเลยว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องที่ใหญ่พอสมควรดังนั้นควรที่จะพูดคุย และทำกาตกลงไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากไม่พอใจหรือเห็นว่าไม่ดีก็ควรที่จะพูดคุยกันก่อน อ่อสำหรับหนี้ไม่ว่าจะเป็นบัตรหรืออะไรก็ตาม ควรที่จะรีบปิดเสียนะคะ เพราะเมื่อเวลาที่คุณมีสมาชิกเจ้าตัวน้อย บอกไว้ก่อนเลยว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วหลายเท่าตัวเลยล่ะ และก่อนที่เจ้าตัวเล็กจะออกมานั้นอย่างน้อยๆต้องมีเงินเก็บสักหน่อยเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในช่วงเวลาที่คุณพักฟื้น ถึงแม้ว่าจะมีเงินเดือนอยู่ก็ตามแต่การเตรียมความพร้อมก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ
5. ทำไมถึงต้องนำรายมารวมกัน เพราะความชัดเจนของรายได้จะได้มีการจัดสันปันส่วนได้อย่างลงตัว และเห็นเป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น อย่าลืมไปล่ะว่าการแบ่งเงินกันใช้นั้นจะเป็นการสิ้นเปลืองกว่าการรวมเงินเอาไว้ ซึ่งบางครอบครัวได้ทำระบบกองกลางที่บอกได้เลยว่าน่าสนใจไม่น้อยเลย คือการเอาเงินส่วนหนึ่งมาลงกองกลางเพื่อใช้จ่ายในครอบครัว และเงินอีกส่วนหนึ่งนั้นไว้ใช้ส่วนตัว แต่อย่างไรก็ตามให้ทำการปรึกษาหรือตกลงระหว่าคนสองคนเสียก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกันนั่นเองค่ะ
6. สำหรับการมีบุตร หากต้องการมีบุตรนั้นต้องเกิดจากความพร้อมจริงๆนะคะ เพราะเด็กหนึ่งคนเราต้องแบกรับอะไรที่มากมายเลยล่ะ แต่ก็อย่าช้าไปจนต้องไปหาหมอเพื่อใช้เทคโนโลยีการแพทย์เสียล่ะ เอาเงินส่วนนั้นไว้ดูแลลูกดีกว่า ข้าวของเครื่องใช้ของลุกก็ควรเซฟที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่าไปเวอร์วังอลังการเสียล่ะ เพราะเด็กโตเร็วเอาพอใส่พอใช้เดี๋ยวก็เปลี่ยนแล้วค่ะ อย่าติดหรู เพราะเมื่อถึงวันนั้นจริงๆคุณจะพบได้เลยว่าสินค้าราคาแพง หรือของแบรนด์ไม่ได้จำเป็นอีกแล้วสำหรับคุณ
7. เงินเก็บเป็นเรื่องที่คุณต้องคิดก่อนที่จะคิดเรื่องบุตรเสียอีกสำหรับความเป็นครอบครัวนั้น ดังนั้นการหักเงินเมื่อได้มาก่อนน้ำไปใช้แค่เพียง 30% ของเดือนไม่กี่เดือนคุณเองก็สามารถมีเงินเก็บจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามเอาที่สะดวกนะคะ อย่าทำให้ตัวเองเดือดร้อน
8. ลองหาเวลาในการวางแผนลดรายจ่ายที่ไม่สำคัญออกดูบ้างในแต่ละเดือน เชื่อได้เลยว่าคุณจะมีเงินเหลือในกระเป๋าจำนวนไม่น้อยเลยล่ะ อย่างเช่นการทำอาหารกินเองที่บ้าน การลดใช้สินค้าแพงๆ จะถูกจะแพงก็ใช้ได้เหมือนกันนั่นล่ะค่ะอย่าไปยึดติดอะไรมันมาก
อ่านเพิ่มเติม : 12 เดือน กับ 12 รายจ่ายเด่น ที่ต้องวางแผนการเงิน