การชำระภาษี ถือเป็นเรื่องปกติของผู้ที่ประกอบการธุรกิจต่าง ๆ ภายในประเทศไทย เพราะภาษีเป็นเงินที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติให้ก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะธุรกิจนิติบุคคล หรือการดำเนินกิจการที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไป ทั้งธรรมดา และมหาชน ห้างหุ้นส่วน กิจการ ฯลฯ ที่ทำการจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ มีหน้าที่ในการเสียภาษีเช่นเดียวกับบริษัทส่วนบุคคลทั่วไป ๆ ไป แต่จะมีข้อได้เปรียบตรงที่ อัตราการเสียภาษีสูงสุดเพียง 20% และอาจจะน้อยกว่านั้นถ้าทุนของการจดทะเบียนไม่ถึง 5 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังสามารถหักลดหย่อนและมีความยืดหยุ่นได้มากกว่าบริษัทส่วนบุคคลหลายเท่า แต่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียนะคะ เพราะตามกฎหมายแล้ว มีการระบุไว้อย่างชัดเจนในการจัดทำบัญชีต้องสามารถใช้ในการตรวจสอบได้อย่างละเอียด ซึ่งส่วนรายละเอียดจะค่อนข้างมาก และลึกกว่า
ขั้นตอนการเสียภาษีของธุรกิจนิติบุคคล
- ขอจดทะเบียนเป็นบริษัทนิติบุคคล
สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ ที่ต้องการจดทะเบียนนิติบุคคล จะต้องดำเนินการขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคลก่อน โดยขอจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือจะใช้วิธีการจดทะเบียนออนไลน์ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ต่อมาคือการยื่นขอจดทะเบียนขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี คุณต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 60 วันนับจากวันที่ได้จดทะเบียนก่อตั้งเป็นบริษัทนิติบุคคล และจำเป็นต้องยื่นทำการจดทะเบียนในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มควบคู่กันไปด้วย ในการจดทะเบียนภาษีทั้ง 2 อย่างสามารถดำเนินการได้ที่กรมสรรพากร
- การคำนวณภาษีครั้งแรกเริ่มแรกในการก่อตั้งบริษัท
ในการคำนวณภาษีเงินได้บริษัทนิติบุคคลนั้น จะมีความละเอียดและซับซ้อนมากกว่าภาษีเงินได้ประเภทบริษัทส่วนบุคคลค่ะ ซึ่งวิธีการคำนวณเบื้องต้น ก็คือ การคำนวณหาในส่วนของรายรับ และรายจ่ายตลอดทั้งปี (12 เดือน หรือ 6 เดือนในกรณีของบริษัทนิติบุคคลที่เพิ่งจะตั้งใหม่) ให้ออกมาเป็นผลกำไรประกอบการสุทธิ โดยผลกำไรที่ได้ออกมาจะต้องสามารถยื่นแสดงเป็นเอกสารในทางบัญชีถึงที่มาที่ไปของรายรับ – รายจ่าย ด้วยวิธีการคิดอัตราภาษีตามตารางดังนี้
ตารางอัตราภาษีสำหรับบริษัทนิติบุคคล
แต่สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่อย่างคุณยังคงไม่รู้ และไม่มีประสบการณ์มากพอ แนะนำให้ฝ่ายบัญชีเป็นผู้คิดคำนวณให้ หรือถ้าเป็นบริษัทที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งใหม่ ยังไม่มีฝ่ายบัญชี ก็ต้องทำการจ้างบริษัทที่รับทำบัญชีโดยด่วน เพื่อจะได้มาเข้ามาช่วยดูแลทางด้านการเงินทั้งในส่วนของรายรับ – รายจ่าย และเรื่องของการเสียภาษีตั้งแต่เริ่มต้นของบริษัท ไม่ควรที่จะป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเงอ เนื่องจากมีความซับซ้อนมากในรายละเอียด และยังติดในเรื่องข้อกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทนิติบุคคลต้องมีนักบัญชีที่จบมาทางด้านนี้โดยตรงตามวุฒิการศึกษาเป็นผู้ดำเนินการด้วย
- การยื่นภาษีครั้งแรก ของผู้ประกอบการนิติบุคคลมือใหม่
ตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ บริษัทนิติบุคคลต้องทำการขอยื่นแบบภาษีปีละ 2 ครั้งค่ะ โดยในครั้งแรกคุณจะต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบ (ครึ่งปี) ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 60 วันนับจากวันสุดท้ายของทุก 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้เอกสาร ภ.ง.ด.51 เท่านั้นในการยื่นเรื่อง ครั้งต่อมา เป็นการยื่นภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบ (สิ้นปี) ต้องทำการยื่นภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีในปีนั้น โดยแบบเอกสารที่ใช้ในการยื่นคือ ภ.ง.ด. 50
ในการยื่นทั้ง 2 ครั้งสามารถทำการยื่นด้วยตนเองหรือจะให้ตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจจากบริษัทมาทำการยื่นแทนได้ที่กรมสรรพากร ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดก็สามารถยื่นได้ที่ที่ว่าการอำเภอที่บริษัทตั้งอยู่ นอกจากนี้ในปัจจุบันทั้ง ภ.ง.ด. 51 และภ.ง.ด.50 สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร
- การชำระภาษีอย่างถูกต้อง
ต่อมาเป็นขั้นตอนการชำระภาษี ในเขตกรุงเทพมหานคร คุณสามารถชำระภาษีนิติบุคคลได้ที่ กรมสรรพากร หรือธนาคารพาณิชย์ที่เป็นของประเทศไทย สำหรับในเขตต่างจังหวัด สามารถชำระได้ที่สรรพากรที่ตั้งอยู่บนที่ว่าการอำเภอ หรือธนาคารพาณิชย์ของไทย ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกับสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่ตั้งอยู่ แนะนำให้พนักงานที่มีหน้าที่ หรือมีความเชี่ยวชาญในเรื่องบัญชีโดยเฉพาะและมีใบอนุญาตอย่างถูกต้องเป็นผู้ดูแลให้ เพราะขั้นตอนการชำระภาษีนิติบุคคลมีความซับซ้อนมาก ผู้ประกอบการเจ้าของธุรกิจก็เพียงแค่รู้ไว้ในส่วนของหลักการเบื้องต้นก็พอค่ะ
อย่างไรก็ตาม การรู้และเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการชำระภาษีและวิธีการคำนวณภาษีแบบเบื้องต้น ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการมือใหม่อย่างคุณสามารถรับมือ กับปัญหาและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด สำหรับท่านใดต้องการข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอื่น ๆ สามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรโดยตรงได้ทุกวันค่ะ