อยู่ตัวคนเดียวว่าบริหารเงินยากแล้ว หากมีครอบครัว สมาชิกเพิ่มเข้ามาย่อมสร้างภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่เพิ่มขึ้นมาแก่หัวหน้าครอบครัวไม่น้อยเลยนะคะ แต่ก่อนนั้นตัวคนเดียวเราสามารถอดได้ แต่เมื่อมีครอบครัว มีลูกการใช้จ่ายก็ต้องมีการวางแผนเพิ่ม เพราะมิเช่นนั้นแล้วตัวน้อยๆที่คุณรักสุดดวงใจนั้นลำบากแน่นอน การมีลูกคนหนึ่งนั้นมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่มากมายอย่างที่คุณคาดคิดไม่ถึงเลย ไหนจะค่ากินอยู่ ไหนจะค่าใช้จ่ายตอนเข้าโรงเรียน พอนานวันรายจ่ายยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วันหากมัวนั่งใช้เงินโดยไม่เหลือเก็บเชื่อเลยล่ะว่าลำบากแน่นอน อย่าชะล่าใจไปนะคะเพราะเวลาได้ผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เก็บตอนนี้เพื่อวันหน้าที่สบายของลูกน้อย
วันนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วงที่คุณเองกำลังสร้างครอบครัวนั้น จะต้อง ออมเงินเพื่อลูก แบบไหนบ้างที่สามารถตอบโจทย์การเงินที่เหมาะสมแก่คุณได้ และสามารถมีเงินเก็บมากพอต่อค่าใช้จ่ายในอนาคตของลูกน้อยบ้าง ซึ่งเราเองได้มีการออมเงินเพื่อรองรับกับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่คุณเองต้องพบเจอไม่ว่าจะเป็นทุนการศึกษา เป้าหมาย และการแยกบัญชีมาให้เพื่อนๆที่อยู่ในวัยกำลังสร้างครอบครัวได้ทำการศึกษากัน รับรองได้เลยว่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยเลยล่ะ
สำหรับระยะเวลาของการออมนี้เราได้แยกออกอย่างชัดเจน และกำหนดอย่างชัดเจนว่าเงินส่าวนไหนควรที่จะนำไปทำอะไร เหมาะสำหรับใช้จ่ายส่วนไหน ซึ่งเราแบ่งออกมาเป็น 3 ระยะคือ
- การออมเงินระยะสั้น
สำหรับการออมเงินในช่วงระยะสั้นนี้เพื่อสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับเรื่องจิปาถะอย่างเช่นค่าขนม ค่าโทรศัพท์ อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ รูปแบบบัญชีนั้นควรเป็นสภาพคล่องที่สามารถถอนเงินออกมาเมื่อไหร่ก็ได้ โดยที่ไม่ยุ่งยาก และลำบาก หากจะทำเป็นบัตรเอทีเอ็มก็จัดได้เลยว่าสะดวกยิ่งนักเลยนะคะ เงินในจุดนี้ไม่จำเป็นต้องมากมายนัก เพราะเราเองได้หักไว้เป็นค่าใช้จ่ายในบ้านอยู่แล้ว อาจสักเพียง 10 % ของเงินเดือนก็เพียงพอ หากคิดว่าเป็นการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไม่ต้องนำออกมาใช้หรอกค่ะ สะสมไปเรื่อยๆ มีเงินในบัญชีอุ่นใจกว่ากันเยอะเลยนะคะ เพราะไม่รู้เลยว่าวันข้างหน้านั้นเราจะพบกับอะไรบ้าง จะเจ็บป่วยตอนไหน หรือโดนไล่ออกจากงานเมื่อไหร่
แนวคิดสำหรับการออมระยะสั้น อย่าคิดว่าทุกอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นหมด ต้องเอาประเด็นหลักไปก่อนคิดเลยว่าหากลูกโตนั้นจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง และหัดทำให้เงินส่วนนี้เป็นก้อน เพื่อที่จะได้จัดส้นปันส่วนได้ถูก แล้วอย่าลืมฝึกให้ลูกของคุณรู้จักที่จะวางแผนการเงินด้วยล่ะ เช่นหากเป็นค่าขนมโรงเรียนนั้น จากที่เคยให้เป็นรายวันก็ลองเปลี่ยนมาเป็นรายอาทิตย์ หรือรายเดือนดูนะคะ จะช่วยให้เขาได้จัดการกับเงินได้ด้วย หากเป็นรายวันเขาคิดเพียงว่าวันนี้หมดพรุ่งนี้ก็ได้ใหม่แบบนี้เองที่ลูกคุณไม่โตสักที
- การออมเงินระยะปานกลาง
เงินส่วนนี้พึงตระหนักเลยว่าหากเก็บได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะได้นำมาใช้ในส่วนทุนการศึกษาของลูกน้อยในช่วงอนุบาลจนถึงมัธยมปลาย ซึ่งหัวหน้าครอบครัวนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีวินัยมากๆ และใจแข็งพอที่จะไม่นำเงินส่วนนี้มาใช้แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากก็ตาม อย่าลืมล่ะว่าทุกบาทที่ออมนี้คืออนาคตของลูกโดยที่จะแนะนำคือการออมแบบ LTF จะให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง และมีระยะเวลาในการบังคับขาย เมื่อครบ 5 ปีนั่นเองค่ะ
หากใครที่กำลังสับสนหรือนึกภาพไม่ออกนั้นเราจะมายกตัวอย่างให้ดู การออมเพื่อการศึกษาโดยวิธีการใช้ LTF นั้นเราจะมีการเริ่มสะสมกันตั้งแต่ลูกน้อยอยู่ในวัย 1 ขวบตระหนักเลยว่านี่คือค่าเทอมของลูกน้อย คือตอนเข้าเรียนอนุบาล ตอนนั้นอายุประมาณ 5 ปี สำหรับรูปแบบการออมแบบนี้ได้ประโยชน์สองต่อคือสามารถออมเงินได้แล้วยังลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย
- การออมระยะยาว
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูกตั้งแต่อุดมศึกษาขึ้นไป ซึ่งรูปแบบการออมนี้จะต้องมีวินัยที่สูงกว่ารูปแบบการออมแบบอื่น เพระในช่วงนั้นลูกอาจต้องใช้เงินเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลย จะดีมากหากเป็นการออมด้วยวิธีการทำประกันชีวิตแบบสะสมระยะยาวที่มีช่วงเวลาที่พอดีกับช่วงเวลาที่คุณต้องจ่ายค่าเทอม สำหรับการทำประกันนี้ก็มีการส่งหรือชำระแบบตายตัวอยู่แล้ว อาจเป็นรายเดือน หรือปีก็แล้วแต่ความสะดวก
ตัวอย่างเช่น หากต้องการสะสมเงินในรูปแบบการทำประกันชีวิตนั้นจะดีกว่ามากหากเริ่มตั้งแต่ลูกมีอายุ 3 ขวบ เพื่อที่จะได้เป็นค่าใช้จ่ายในขณะที่ลูกน้อยเรียนมหาวิทยาลัย ในจุดนี้อย่าละเลยเด็ดขาด อย่าคิดว่าค่อยๆหาไปส่งไปก็ได้ เพราะหากเกิดสะดุด หรือผิดพลาดนั้นลูกคุณจะลำบากเอา เห็นมามากมายนักสำหรับผู้คนที่ต้องออกกลางคันเพราะเนื่องจากทางบ้านไม่มีกำลังส่ง หรือเงินหมด ซึ่งการทำประกันสะสมทรัพย์จะมีระยะเวลาการออมอยู่ที่ 15 ปี จะสามารถนำออกมาใช้ได้ก็ต่อเมื่อลุกมีอายุ 18 ปีพอดี ในช่วงมหาวิทยาลัยพอดีเลยนะคะแต่ต้องดูให้ดีก่อนทำนะว่าหากเป็นประกันเพื่อการศึกษานั้นสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย แต่บางตัวสามารถทำการกู้เพื่อมาหมุนเวียนก่อนก็มี ดังนั้นต้องดุดีๆก่อนทำค่ะ ศึกษาให้รอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจอะไรลงไป