เมื่อทุกวันนี้หลักประกันสุขภาพของพ่อกับแม่เราที่มีอยู่มักจะไม่เพียงพอต่อการรักษาตัวแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ที่เดี๋ยวนี้พอเกษียณแล้วก็ไม่จ่ายบำนาญจะจ่ายเป็นบำเหน็จแทน นั่นก็หมายความว่าพ่อกับแม่เราที่เกษียณมาอยู่บ้านนั่นก็จะไม่ได้รับสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลแล้ว เพราะฉะนั้นเราก็ควรที่จะคุยกับพ่อและแม่ของเราว่าน่าจะเลือกทำประกันกันสักหน่อย
และทุกวันนี้เราจะเห็นโฆษณากันมากมายสำหรับประกันผู้สูงอายุ …. เงินค่าเบี้ยก็ไม่แพง แต่ก็จะเห็นข่าวที่บริษัทประกันไม่จ่ายเงินคืนให้อีกเหมือนกัน ….. เพราะฉะนั้นก่อนจะ ซื้อประกันผู้สูงอายุ ให้กับพ่อและแม่ของเรา เรามาทำความเข้าใจกันเพิ่มเติมกับประกันผู้สูงอายุกันดีกว่า
อ่านเพิ่มเติม >> เลือก ประกันชีวิตสำหรับพ่อแม่ ยังไงดี ? <<
เรามาเริ่มกันที่ประกันแบบผู้สูงอายุกันก่อนล่ะกัน เพราะเห็นมีโฆษณากันเยอะมากสำหรับการทำประกันให้กับผู้อาวุโส ประกันแบบผู้สูงอายุนั้นส่วนใหญ่จะเริ่มรับทำประกันให้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50-70 ปี แต่มีบางบริษัทประกันที่จะรับที่ช่วงอายุ 40-75 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่มีบ้างที่บางบริษัทอาจจะให้ตอบคำถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพของผู้ทำประกัน แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ เพราะเป็นแผนทางการตลาดเพื่อดึงดูดลูกค้า เป็นประกันที่เน้นความคุ้มครองการเสียชีวิตเป็นหลัก แต่ก็จะมีสัญญาเพิ่มเติมสำหรับการรักษาสุขภาพ
ส่วนสำคัญของการทำประกันผู้สูงอายุและเรามักจะไม่ได้อ่าน หรืออาจจะไม่ได้รับการอธิบายอย่างชัดเจนจากตัวแทนขายประกัน ก็คือ ถ้าเกิดเราเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย คือ เกิดเป็นโรคอะไรก็ตามแล้วเสียชีวิตภายใน 1-2 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุมัติกรมธรรม์แล้วนั้น บริษัทประกันจะจ่ายเงินคืนให้เท่ากับค่าเบี้ยประกันภัยที่เราได้จ่ายไปและอาจจะมีส่วนเพิ่มอีกนิดหน่อยเท่านั้น เราจะได้ไม่เงินตามทุนประกัน
ยกตัวอย่างเช่น เราจ่ายเบี้ยประกันไป 5,000 บาท ผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อเสียชีวิต 1,000,000 บาท เพราะฉะนั้นหากมีการเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บภายใน 1 ปี นับจากกรมธรรม์มีผล เราจะได้รับเงินเพียง 5,000 บาทกับผลตอบแทนอีกนิดหน่อย อาจจะประมาณ 2-3% หรือจะได้ประมาณ 100-150 บาท ดังนั้นสุดท้ายแล้วจะได้เงินทั้งหมด 5,150 บาทโดยประมาณ ซึ่งจะไม่ใช่ 1,000,000 บาท แต่ถ้าเกิดเสียชีวิตจากอุบัติเหตุแล้วละก็บริษัทประกันภัยก็จะจ่ายให้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ก็คือ จะได้เงินรวมประมาณ 1,005,500 บาท
เนื่องจากช่วงระยะเวลา 1-2 ปี นับจากวันที่กรมธรรม์อนุมัติแล้วนั้น จะเรียกว่าระยะเวลารอคอย ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดจากสถิติการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของคนไทย และถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยงของบริษัทประกันทางหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่มีอาการอยู่แล้วมาทำประกันผู้สูงอายุและหวังจะได้รับเงินประกันสูงๆ …. อย่างว่ามันก็ต้องใจเขาใจเรา … เพราะบริษัทประกันก็ไม่ได้ให้ตอบคำถามและก็ไม่ต้องตรวจสุขภาพ …. ก็เหมือนกับใช้หลักการเชื่อใจกัน… และเมื่อเข้าปีที่ 3 เป็นต้นไป ถ้าเสียชีวิตด้วยอาการเจ็บป่วยก็จะได้รับเงินตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ ถ้าตามตัวอย่าง เราจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไปแล้ว 3 ปี ปีละ 5,000 บาท เพราะฉะนั้นเราจ่ายค่าเบี้ยประกันทั้งหมด 15,000 บาท ถ้ามีการเสียชีวิตขึ้นมาในปีที 3 เราจะได้รับเงินทั้งหมด 1,015,000 บาท และอาจจะได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกนิดหน่อยจากเบี้ยประกันที่จ่ายไป
อย่างบอกไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าประกันผู้สูงอายุนั้นจะคุ้มครองเรื่องการเสียชีวิต ไม่ได้รวมการเบิกค่ารักษาพยาบาล หรือการรักษาตัวภายในโรงพยาบาล ถ้าหากเราเห็นว่าสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับนั้นไม่เพียงพอต่อการรักษาตัวแน่ๆ เราก็สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมเรื่องการรักษาพยาบาลด้วย ซึ่งอันนี้เราจะต้องสอบถามข้อมูลค่าเบี้ยประกันและผลประโยชน์เพิ่มเติมจากตัวแทนประกันได้เลย และเมื่อเราได้รับกรมธรรม์แล้ว อ่านดูเงื่อนไขต่างๆ แล้วเห็นว่าไม่คุ้มหรือไม่พอใจกับเงื่อนไขการทำประกันผู้สูงอายุนี้แล้ว เราสามารถแจ้งยกเลิกกรมธรรม์นี้ได้เลย แต่ต้องทำภายในระยะเวลา 30 วัน ถ้าเราซื้อผ่านทางโทรศัพท์ และแจ้งยกเลิกภายใน 15 วัน หากเป็นการซื้อผ่านตัวแทนขายประกัน
เงื่อนไขเพียงเท่านี้เราก็สามารถ ซื้อประกันผู้สูงอายุ ให้กับพ่อแม่หรืออธิบายให้กับญาติผู้ใหญ่ของเราได้เข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขของการประกันผู้สูงอายุได้แล้ว