วางแผน ยื่นภาษี ล่วงหน้ายังไงดี ให้ยื่นภาษีง่ายกว่าเดิม
เข้าสู่ช่วงต้นปีแบบนี้ หลังจากที่เฉลิมฉลองกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ฤดูกาลการยื่นภาษี สำหรับใครที่ไม่อยากหัวหมุนกับการยื่นภาษีช่วงต้นปี แน่นอนว่าผู้ที่ทำหลายอาชีพ ทำอาชีพอิสระ อาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า ในวันนี้เราจึงมาแนะนำว่าให้วางแผนการยื่นภาษีล่วงหน้าเอาไว้ก่อนเลยตั้งแต่ช่วงต้นปีแบบนี้ แล้วการ วางแผน ยื่นภาษี ล่วงหน้ายังไงดี ให้ยื่นภาษีง่ายกว่าเดิม เราก็ได้รวบรวมข้อมูลทุกอย่างที่มือใหม่หัดยื่นภาษีควรรู้เอาไว้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย
วางแผน ยื่นภาษี ล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี ยังไงให้ง่าย?
ก่อนที่เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนว่าการวางแผนภาษี ตั้งแต่ต้นปี ยังไงดี อันดับแรกเราต้องเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าการวางแผนภาษีกันก่อน มันคือการที่เราเตรียมตัวให้การยื่นภาษีทั้งครบถ้วน ถูกต้อง และสามารถเลือกใช้สิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เพราะมันจะช่วยให้เรามีภาระภาษีน้อยลงกว่าเดิม ไม่ต้องเสียเงินมากเกินไป ไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม และในขณะเดียวกันก็ช่วยให้เราไม่ต้องเสียเบี้ยปรับอีกด้วย ดังนั้น ก่อนที่เราจะวางแผนภาษีได้ เราก็ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีก่อน โดยสิ่งที่เราควรรู้มีดังนี้
-
รายได้
เงินที่เราได้รับมาจากการทำงาน หรือการประกอบธุรกิจอะไรก็ตาม เราจะเรียกมันว่ารายได้ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่เราจะใช้ในการคำนวณภาษีที่แท้จริง เพราะในทางภาษีเราจะต้องนำเอารายได้ไปคำนวณให้กลายเป็นเงินได้สุทธิกันก่อน เพราะฉะนั้นยอดรายได้ในแต่ละปีของเราจึงเป็นยอดที่มีความสำคัญมาก เพราะมันจะส่งผลต่อจำนวนเงินภาษีที่เราต้องจ่ายในแต่ละปีโดยตรง โดยเราสามารถแบ่งรายได้ออกเป็นทั้งหมด 8 ประเภทด้วยกัน เรียกว่าเงินได้พึงประเมิน แต่ละประเภทก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แตกต่างกันออกไป เราเลยต้องรู้ด้วยว่ารายได้ของเราเป็นประเภทไหน
-
ค่าใช้จ่าย
ใครที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เราต้องเก็บเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน จดยอดอย่าให้ขาด หรือเกินโดยเด็ดขาด เพราะเราสามารถเลือกได้ว่าจะหักค่าใช้จ่ายตามจริง หรือจะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาไปเลย ให้พิจารณาดูว่าแบบไหนที่สามารถหักได้เยอะกว่ากัน
สำหรับใครที่เป็นพนักงานประจำ ค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการทำงานอาจไม่ได้มีเป็นหลักเป็นแหล่ง เพราะฉะนั้น เราขอแนะนำให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาไปเลย โดยเงินได้แต่ละประเภทก็จะมีอัตราค่าใช้จ่ายเหมาที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานเงินเดือน อยู่ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภท 1 เราจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท
-
ค่าลดหย่อน
เป็นอีกหนึ่งประเภทค่าใช้จ่ายที่เราสามารถนำเอามาหักออกจากเงินได้พึงประเมินต่อจากค่าใช้จ่ายได้ ช่วยให้เงินได้พึงประเมินของเราน้อยลงกว่าเดิม เวลานำเอาไปคำนวณภาษี เราก็จะได้ประหยัดภาษีมากขึ้นกว่าเดิมไปด้วย โดยค่าลดหย่อนหลักๆ จะมีดังนี้
-
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนครอบครัว ประกอบไปด้วย
- คู่สมรสไม่มีเงินได้ 60,000 บาท
- บุตรที่กำลังศึกษาอยู่ อายุไม่เกิน 25 ปี คนละ 30,000 บาท คนที่ 2 หากเกิดปี 2561 เป็นต้นไป จะได้คนละ 60,000 บาท
- ค่าฝากครรภ์ หรือค่าคลอดบุตร 60,000 บาท
- ค่าอุปการะพ่อแม่ อายุ 60 ปีขึ้นไป คนละ 30,000 บาท
- ค่าอุปการะผู้พิการ คนละ 60,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพพ่อแม่ที่มีเงินได้ หรือคู่สมรส15,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ 25,000 บาท หากรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
วิธีการคำนวณภาษี
หลังจากที่เรานำเอารายได้ หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ออกมาเป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นนำเอาเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามช่วงเงินได้ที่จะมีอัตราภาษีแตกต่างกันออกไป ตามตารางดังนี้
รายได้สุทธิ | อัตราภาษี | ภาษีเงินได้สูงสุดในแต่ละขั้น | ภาษีเงินได้สะสมสูงสุดในแต่ละขั้น |
ไม่เกิน 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้นภาษี | 0 | 0 |
150,001 บาท ถึง 300,000 บาท | 5% | 7,500 | 7,500 |
300,001 บาท ถึง 500,000 บาท | 10% | 20,000 | 27,500 |
500,001 บาทถึง 750,000 บาท | 15% | 37,500 | 65,000 |
750,001 บาท ถึง 1,000,000 บาท | 20% | 50,000 | 115,000 |
1,000,001 บาท ถึง 2,000,000 บาท | 25% | 250,000 | 365,000 |
2,000,001 บาท ถึง 5,000,000 บาท | 30% | 900,000 | 1,265,000 |
ตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% | – | – |
วิธีการยื่นภาษี
หลังจากที่เราคำนวณทุกอย่างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สุดท้ายก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการยื่นภาษี โดยสามารถยื่นแบบแสดงรายการผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตได้บนเว็บไซต์ www.rd.go.th ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายได้มากขึ้นกว่าเดิม หรือใครที่จะกรอกเอกสารแล้วนำเอาไปยื่นก็ได้เหมือนกัน โดยสามารถยื่นได้ที่กรมสรรพากรทุกพื้นที่ ขอเพียงแค่กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน ตรวจทานเอกสารให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว
เปิดขั้นตอนการวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปีฉบับมือใหม่
หลังจากที่เราเรียนรู้เกี่ยวกับภาษีกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็จะเป็นขั้นตอนการวางแผนภาษีแบบง่ายๆ ที่มือใหม่ก็สามารถทำตามได้ โดยเราได้เรียนไว้เป็นข้อๆ เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
- เก็บเอกสารเกี่ยวกับรายได้
สำหรับใครที่เป็นพนักงานประจำ สิ่งที่เราจะได้รับก็จะมีหลักฐานการรับรายได้อย่างสลิปเงินเดือน ใครที่โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายก็จะได้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย หากเป็นคนทำงานอิสระอาจจะต้องใช้หนังสือ 50 ทวิ สำหรับรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% แทน เอกสารเกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายมีความสำคัญมาก เพราะมันคือภาษีที่เราเสียไปแล้ว หากเรานำเอามายื่น ก็จะช่วยให้ประหยัดภาษีได้มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน
- เก็บเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายเหล่านี้หากมีจำนวนที่มากกว่าค่าใช้จ่ายแบบเหมา เราก็สามารถใช้เอกสารหลักฐานในการหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้เหมือนกัน นอกจากนี้ยังมีเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าลดหย่อนด้วย อย่างเช่นค่าเบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิต เงินสะสมกองทุนทั้งหลาย ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย หรือเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
- จัดเรียงเอกสารตามวันที่
หากเราจัดเรียงเอกสารเข้าแฟ้มตามวันที่ตั้งแต่ต้นปีไปจนถึงปลายปี มันก็จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเอกสารได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เวลาที่ต้องนำเอาไปส่งมอบให้กับสรรพากรเพื่อประกอบการยื่นภาษี ก็จะทำได้ง่าย และช่วยลดปัญหาเอกสารหายได้ด้วย
- จัดทำ Excel หรือใช้โปรแกรมวางแผนภาษี
เพราะการยื่นภาษีเต็มไปด้วยตัวเลขมากมาย บางครั้งเราอาจหลงลืมรายรับ หรือค่าใช้จ่ายบางยอดไป เราเลยอยากจะแนะนำว่าทุกครั้งที่เราได้รับรายได้ หรือมีการจ่ายค่าใช้จ่ายไป ให้เราบันทึกลงบน Excel หรือในโปรแกรมวางแผนภาษีเป็นประจำทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยอดตกหล่นในภายหลัง เมื่อถึงช่วงที่ต้องยื่นภาษี เราก็แค่รวมยอดทั้งหมดที่บันทึกมาทั้งปี เพียงเท่านี้ก็สามารถยื่นภาษีได้อย่างแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว
สรุปแล้ว วางแผน ยื่นภาษี ตั้งแต่ต้นปี ยังไงดี คำตอบก็คือเราต้องเก็บเอกสารหลักฐาน และยอดเงินต่างๆ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง เพราะมันจะช่วยให้การยื่นภาษีสามารถทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม สำหรับพนักงานประจำอาจทำได้ง่ายกว่าคนที่ทำงานอิสระ หรือประกอบธุรกิจส่วนตัว แต่หลักๆ ขั้นตอนจะเหมือนกัน นั่นก็คือนำเอารายได้หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน ก็จะได้เป็นเงินได้สุทธิ จากนั้นก็นำเอามาคำนวณภาษี แล้วยื่นให้กับสรรพากรได้เลย