ช่วงชีวิตของคนเราเมื่อดำเนินมาถึงช่วงวัยหนึ่ง เราจะรู้ว่าชีวิตมันสั้นมากแค่ไหน ยังไม่ทันจะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย ก็จะถึงวัยที่ต้องปลดเกษียณซะแล้ว การวางแผนชีวิตสำหรับใครบางคนในแต่ละช่วงที่ผ่านมา ก็เป็นไปอย่างมักง่าย คิดวางไว้แค่แผนระยะสั้น แต่แผนระยะยาวยังไม่มีในหัว ซึ่งความเป็นจริงมันก็สำคัญทั้งสองอย่าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แผนระยะสั้น ให้เรารู้ว่า เราจะทำอะไรต่อไปภายใน 5-10 ปีนี้ ที่จะสร้างความก้าวหน้าทั้งในเรื่องของสังคมและหน้าที่การงาน ส่วนแผนระยะยาวจะช่วยให้เรามองเห็นอนาคตอย่างคร่าวๆ ว่าเราจะสามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตตัวเองได้แค่ไหน
เพราะฉะนั้น การ ทำประกันบำนาญ จึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาว ที่เราควรศึกษาและจำเป็นต้องมีข้อมูลไว้ เพราะถ้าเรามัวแต่รีรอ แล้วพอถึงเวลาค่อยไปทำทีหลัง อาจจะช้าเกินไป การมานั่งเครียดตอนแก่ไม่ดีต่อสุขภาพนะคะ
เหตุผลที่เราควรคิดเรื่องทำประกันบำนาญ
ก็เพราะว่าเราจำเป็นต้องวางแผนสำหรับตนเองในอนาคต เพื่อความอุ่นใจ ความสบายใจแม้เมื่อถึงช่วงวัยที่ไม่สามารถทำงานได้แล้ว ก็ยังมั่นใจว่าจะยังมีรายได้เข้ามาใช้ตลอด ไม่เดือดร้อนดิ้นรนหา จนวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นการคิดเพื่อความมั่นคงทั้งต่อตนเอง และครอบครัว รวมไปถึงคนที่เรารัก สามี/ภรรยา/ลูก,หลาน ล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเราทั้งนั้น บางคนทั้งชีวิตไม่มีหลักประกันอะไรเลย จึงใช้ชีวิตไปสู่จุดหมายปลายทางสุดท้ายด้วยความยากลำบาก ประกันบำนาญ ยังตอบโจทย์ในเรื่องของต้องการให้ผลตอบแทนนั้นตกเป็นมรดกกับผู้รับประโยชน์ ซึ่งเราสามารถเลือกทำได้ว่า เราจะรับเงินบำนาญจากสัญญากรมธรรม์แบบรายเดือนจนกว่าจะสิ้นอายุขัยที่เราทำไว้ เช่น ทำสัญญาไว้ว่าจะรับเงินต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 60-80 ปี แต่ถ้าเราเสียชีวิตจากโลกนี้ไปก่อนที่จะถึง 80 ปี อาจจะอยู่ได้แค่ถึง 75 ปีแบบนี้ เงินประกันบำนาญส่วนที่เหลือ(ที่บริษัทต้องจ่ายให้อีก5ปี) ก็จะตกเป็นของทายาท หรือผู้ที่มีชื่อในกรมธรรม์เพื่อรับผลประโยชน์ในครั้งนี้เป็นต้น บริษัทก็จะจ่ายให้เป็นเงินก้อนครั้งเดียวเลย เงินก้อนนี้ล่ะเปรียบเสมือนทรัพย์สินหรือมรดกชิ้นสุดท้ายที่เราจะเหลือไว้ให้ลูกหลานที่เรารัก ซึ่งเราสามารถเลือกทำสัญญาแบบนี้ไว้ได้กับบริษัทที่เราให้ความไว้วางใจ
อ่านเพิ่มเติม : วางแผนบำนาญ สู่อิสรภาพ วัยเกษียณ
การทำประกันบำนาญนั้น หลายคนก็มีทางเลือกที่แตกต่างไป หลักในการพิจารณาว่าตนเองเหมาะสมกับประกันบำนาญแบบไหน เราก็ต้องมาดูก่อนว่า ตนเองวางแผนเกษียณไว้ที่อายุเท่าไหร่ เพราะบางคนก็มีเหตุผลไม่เหมือนกัน บางคนบอก 55 ปีก็เริ่มไม่ไหวละอยากพักเสียที บางคนด้วยภาระหน้าที่ที่ยังวางไม่ได้ อาจจะอยู่ทำงานต่อยาวๆถึง 60 ปี หรือไม่เกิน 65 ปี เป็นต้น เมื่อกำหนดระยะเวลาได้แล้ว เราก็มาดูอีกว่าต้องการคุ้มครองในเรื่องใด เช่น ประกันบำนาญสุขภาพสูงอายุ ประกันบำนาญตลอดชีพ ซึ่งประเภทของประกันบำนาญ มีหลากหลายแบบดังต่อไปนี้
1.ประกันบำนาญแบบคงที่ เป็นกรมธรรม์ประกันที่จ่ายให้กับสมาชิกแบบเท่าๆกัน ในทุกๆเดือน สามเดือน หรือรายปี แล้วแต่ว่าจะกำหนดในสัญญาเป็นแบบไหน สามารถแยกย่อยได้อีก 2 กรณีคือ
– กรณีที่จ่ายเงินในแต่ละงวดคงที่ ไม่ขึ้นกับอัตราเงินเฟ้อ เช่น ถ้าจ่ายเดือนละ 20,000 ก็ 20,000 ไปทุกเดือนจนกว่าจะหมดสัญญา
-กรณีที่จ่ายเงินแต่ละงวดขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อในอนาคต เราทราบดีว่า เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อของเราลดน้อยลง ดังนั้น เราสามารถกำหนดได้ว่า ให้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ในปีถัดไป แต่เราจะได้รับเงินบำนาญในปีแรกๆในจำนวนที่ลดลง เช่น ปีแรกได้เดือนละ 10,000 บาท ปีถัดไปถึงจะเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 20,000 บาท เป็นต้น
2.ประกันบำนาญแบบรับประกันจำนวนปี มีไว้เพื่อรองรับในกรณีที่ผู้เอากรมธรรม์นั้นอาจจะเสียชีวิตก่อนปีที่กำหนดไว้ ก็เลยมีประกันจำนวนปีไว้ด้วย เช่น 5 ปี 10 ปี จะได้รับเงินแน่นอน พอเมื่อเกิดมีการเสียชีวิตก่อน เงินที่เหลือก็จะตกสู่ทายาทผู้รับประโยชน์ต่อไป
3.ประกันบำนาญแบบแปรผัน เหมาะสำหรับนักลงทุน และผู้ประกอบกิจการ เพราะประกันประเภทนี้จะคุ้มครอง และจ่ายเงินขึ้นลงตามผลประกอบการที่ได้จากการลงทุน ซึ่งในรายละเอียดต้องสอบถามกับบริษัทนั้นๆโดยตรง
4.ประกันบำนาญแบบเพิ่มพูน เหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในความเสี่ยงเช่น มีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง ดื่มเหล้าจัด สูบบุหรี่จัด ประกันจะจัดสรรเงินบำนาญให้ในอัตราที่สูงกว่าบำนาญทั่วไป เพราะ คาดว่าผู้เอาประกันนั้นจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน เป็นต้น
5.ประกันบำนาญแบบมีโรคประจำตัว ใครที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง (บางชนิด) โรคไต ฯ สามารถเลือกทำประกันประเภทนี้ได้เลย แต่ต้องมีการรับรองจากแพทย์ว่ามีโรคประจำตัวจริงๆ เงินบำนาญตอบแทนที่ได้ จะได้รับเป็นเงินก้อน ทั้งที่ก็เพื่อให้ผู้ที่เอาประกันนั้นนำไปใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพและอื่นๆต่อไป.
6.ประกันบำนาญแบบคู่ชีวิต ใครที่แต่งงานมีครอบครัวแล้ว อยากจะทำไว้เป็นคู่เลยก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันค่ะ เพราะถือว่า สามี-ภรรยาก็ถือเป็นบุคคลคนเดียวกันตามกฎหมาย เงินประกันบำนาญจะยังคงจ่ายต่อเรื่อยๆ แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเสียชีวิตไป ฝ่ายที่อยู่ต่อก็จะได้รับเงินบำนาญในส่วนที่เหลือจนกว่าจะครบสัญญา
7. ประกันบำนาญแบบคุ้มครองเงินต้น เป็นเงินบำนาญที่สามารถจ่ายเป็นเงินก้อนให้กับผู้รับประโยชน์ได้ภายหลังจากที่คุณเสียชีวิตไปแล้วก่อนระยะเวลาในสัญญา ซึ่งประกันแบบนี้ ส่วนใหญ่จะได้รับความนิยม เพราะนอกจากจะมีเงินใช้จ่ายก่อนเสียชีวิต เงินที่เหลือยังสามารถโอนให้เป็นสิทธิ์ของลูกหลานต่อไปได้