ปัญหาที่มนุษย์เงินเดือนของเราพบเจอบ่อยที่สุดคือการที่เงินเดือนไม่ค่อยจะพอใช้ บางครั้งต้องมีการกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อการใช้จ่ายในครอบครัวแบบนี้ก็แย่สิคะ จะต้องวนเวียนกับภาระหนี้สินกันไปถึงไหน ซึ่งบอกได้เลยว่าหากเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆไม่ดีอย่างแน่นอน แล้วทำไมไม่ลองหาเทคนิคหรือวิธีการ จัดสรรเงินเดือน ให้พอใช้โดยไม่ต้องเป็นหนี้ดูล่ะ ไม่ว่าใครๆก็สามารถทำได้
อ่านเพิ่มเติม : เทคนิค จัดสรรเงินรายได้ เพื่อใช้จ่าย – ออมเงิน – ลงทุน
การจัดสรรเงินเพื่อการใช้งานในแต่ละวันนี้ไม่ว่าใครๆก็สามารถทำได้ สำหรับใครที่ไม่อยากยุ่งยากก็อยู่ให้ห่างไกลจากพวกบัตรต่างๆเป็นดีที่สุดแต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าบัตรเครดิตจะมีแต่โทษนะ หากรู้จักใช้รู้จักประมาณตนก็สามารถสร้างความคุ้มค่าได้ไม่เบาเลยทีเดียว อีกทั้งยังให้เพื่อสะสมแต้ม หรือเป็นส่วนลดต่างๆได้อีกด้วย เอาล่ะ…พักเรื่องบัตรเครดิตไปก่อน ลองมาจัดการกับระบบการเงินของตัวเองก่อนดีกว่า ว่าทำอย่างไรให้เราสามารถอยู่บนรากฐานเงินเดือนอันแสนน้อยนิดได้
1.ก่อนอื่นเลยนั้นการที่เราจะทราบว่าเงินเดือนนั้นเพียงพอหรือไม่
ต้องคำนวณมาจากรายจ่ายที่จำเป็นๆเสียก่อน เป็นวิธีการที่ทำให้เราได้ทราบว่าในการดำเนินชีวิตแต่ละวันนั้นจะต้องพบเจอกับค่าครองชีพเท่าไหร่ สมมุติว่าในหนึ่งอาทิตย์เราทำงาน 5 วัน จันทร์ – ศุกร์ จะมีวิธีการคำนวณต่อไปนี้
- ค่าอาหารที่เราเองจำเป็นต้องทานทุกวัน วันละ 3 มื้อ ( เช้า – กลางวัน – เย็น ) ตีไปมื้อละ 50 บาท ในหนึ่งเดือนจะต้องจ่าย 30 × ( 50 × 3 ) จะตกอยู่ที่ 4000 บาท
- ค่าที่พัก ต้องเผื่อค่าน้ำค่าไฟ ให้ดูบิลเก่าๆ หรือย้อนหลังแล้วเลือกเอาใบที่มากที่สุด เช่น เดือนพฤศจิกายนต้องเสียค่าที่พักบวกค่าน้ำค่าไฟไป 4500 บาท ดังนั้นก็ควรจะเอาจำนวนนี้ล่ะคิดหากไม่ถึงหรือน้อยกว่าถือว่าเป็นเงินออมไป
- ค่าโทรศัพท์ จะดีกว่ามากหากเป็นมาเป็นระบบเติมเงิน เพราะจะได้ไม่ต้องเป็นภาระในช่วงสิ้นเดือน และสามารถเติมเพื่อการโทรออกได้ หากวันไหนไม่มีไม่ต้องเติม ก็ไม่ได้มีใบแจ้งหนี้นี่ค่ะ
- ค่ารถ ค่าเดินทางไปทำงาน เอาตั้งแต่วิน รถประจำทางไปเลยนะคะ เช่นหนึ่งเที่ยวต้องเสียค่ารถสองต่อคือวิน 10 บาทรถประจำทางอีก 9 บาท ไปทำงานในหนึ่งเดือน 22 วัน คิดเป็นวัน 418 บาท
- ทั้งยังต้องรวมค่าสินเชื่อ หรือหนี้สินต่างๆอีกด้วย ต้องเอามาให้หมดนะคะ สำหรับใครที่ยังต้องแบกรับภาระในจุดนี้อยู่
ทั้งหมดก็ประมาณ 8918 บาท
2.เมื่อได้เงินเดือนมานั้นจะต้องหักรายจ่ายสำหรับข้อที่ 1 ออกไป
เช่นในแต่ละเดือนฐานเงินเดือนจะอยู่ที่ 15000 บาท สำหรับใครที่มีโอทีนั้นให้คิดว่าเงินส่วนนั้นเป็นเงินพิเศษ อาจนำไปใช้หรือเก็บก็ได้ ถือว่าทำงานมาเหนื่อยลองไปผ่อนคลายสักหน่อยก็ไม่ผิดค่ะ ซึ่งเมื่อหักรายจ่ายที่จำเป็นออกไปแล้วจะคงเหลือเงินอยู่ประมาณ 6082 บาทค่ะ
3. กำหนดเงินออมเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนแรกจะเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เพราะเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆจะได้ไม่ต้องวุ่นวายมกนัก
- อีกส่วนนั้นไว้เป็นทุนสำรองเพื่ออนาคต อย่างละเท่าๆกัน
เช่นออมไว้อย่างละ 2000 บาทก็จะคงเหลือเงินในกระเป๋า 2082 บาท ไว้เพื่อซื้อของใช้ที่จำเป็นในแต่ละเดือนค่ะ รวมไปถึงสิ่งที่เราอยากได้เล็กๆน้อยๆ แต่ย้ำเลยนะว่า อย่างไปล่วงเกินนำเงินออม 2 ส่วนที่เก็บไว้ออกมาใช้อย่างเด็ดขาด
4. หากวันหนึ่งมีรายได้ที่เปลี่ยน ซึ่งโดยมาแล้วสำหรับพนักงานบริษัทนั้นจะไม่ค่อยพบเจอหรอกนะคะ แต่เราจะบอกทางออกที่สวยหรู คือการลดค่าใช้จ่าย ในส่วนที่สามารถลดได้
เช่นค่าอาหารนั้นหากเป็นไปได้ก็อาจทำกินเองที่บ้านก่อนไปทำงานและกลับจากทำงาน ค่าที่พักอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่พักให้ถูกขึ้น หรือเปลี่ยนจากห้องแอร์มาเป็นห้องพัดลม ประหยัดทั้งค่าไฟและค่าห้องนะคะ เพียงเท่านี้ก็เป็นการเพิ่มจำนวนเงินเก็บในบัญชีได้แล้ว ไม่ต้องกลัวหรอกนะว่าจะไม่ชนเดือน เพียงใช้เงินให้เป็นต่อให้เงินเดือนจะน้องเพียงไหนคุณก็สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้
5. ที่ได้กล่าวมาใน 4 ข้อด้านบนนั้นล้วนแต่เป็นตัวช่วยคุณได้เป็นอย่างดี แต่จุดที่สำคัญที่สุดว่าคุณจะทำมันได้หรือไม่นั้นคือการหักห้ามใจ ด้วยตัวคุณเอง รับประกันได้เลยว่าหากคุณทำมันได้ตามแผนที่เราวางไว้คุณจะกลายเป็นคนที่บริหารเงินเก่งที่สุดเลยล่ะ***
6. เมื่อระบบการเงินเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว มีเวลาแล้วก็อย่าลืมที่จะจดบัญชีเพื่อทำการตรวจสอบการใช้เงินของตัวเองด้วยล่ะ
ว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราสามารถละได้ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เชื่อได้เลยว่าไม่ถึงปีคุณจะชิน และกลายเป็นคนที่เห็นค่าในตัวเงินที่สุดค่ะ
สุดท้ายนี้สำหรับใครที่เป็นหนี้บัตรเครดิตนั้น หากไม่มีก็จ่ายขั้นต่ำไปก่อน เมื่อได้เงินมาสักก้อน อาจเป็นโบนัส หรือลาบลอยก็ตามรีบไปเจรจาเพื่อลดดอกเบี้ย และโปะจะดีกว่า อาจเหลือเพื่อกรณีฉุกเฉินไว้สักใบก็เพียงพอแล้วนะคะ
อย่าลืมนะคะ ไม่ว่าเงินเดือนจะมากหรือน้อยนั้น หากจัดการและบริหารเป็นนั้นก็สามารถมีเงินเก็บได้ไม่น้อยเลย แต่หากไม่รู้และไม่คิดที่จะวางแผน หรือการใช้เงินอย่างเป็นระบบนั้น ต่อให้เงินเดือนมากเพียงไหนก็ไม่พอต่อการใช้จ่ายหรอกนะคะ