เงินทุกบาทที่เราได้มา สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคนย่อมรู้ดีว่ามันลำบากมากแค่ไหน ซึ่งในหนึ่งเดือนของการทำงานนี้ มันเป็นอะไรที่ยาวนานอย่างมากเลยล่ะกว่าจะหมดหนึ่งเดือน อีกทั้งเงินเดือนที่ได้มาในช่วงสิ้นเดือนนี้ ก็มีเพียงให้เรานั้น สามารถซื้อสิ่งของต่างๆประทังชีวิตในหนึ่งเดือนและอาจจะมีเงินเก็บ มีเงินทำอย่างอื่นบ้างเล็กน้อยจน แต่ถ้าใครที่ทำงานในตำแหน่งที่เงินเดือนสูงๆหน่อย ก็มีเงินเก็บจำนวนไม่น้อยเลยล่ะ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ตามสำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือนนั้น การจัดการเงิน การวางแผนเรื่องของการใช้เงิน การบริหารจัดการเงินให้เป็นระบบ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากเพราะว่าจะทำให้เงินเดือนที่ได้มานั้น สามารถทำอะไรได้มากกว่าการซื้อของประทังชีวิตให้รอดในเดือนนั้นและมีเงินทำอย่างอื่นนิดหน่อยแน่นอน
ในแต่ละเดือนนั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆของเหล่ามนุษย์เงินเดือนค่อนข้างตายตัวนะ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องของค่ากิน เรื่องของค่าเดินทาง เรื่องของค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ตและค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องจ่ายในหนึ่งเดือน และอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่นอกเหนือจากความคาดหมายของเราเล็กน้อยอย่างเช่นค่าซื้อของ อุปกรณ์สำนึกงาน จนไปถึงค่ารักษาพยาบาล ค่าอุบัติเหตุต่างๆเลยล่ะ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามในส่วนของค่าใช้จ่ายหลักๆที่เราต้องจ่ายในแต่ละเดือนนี้ เราก็สามารถคำนวณได้อย่างง่ายดายเลยล่ะ ว่าเงินเดือนที่เราได้มาหักออกจากรายจ่ายในแต่ละเดือนเท่าไหร่ และเงินที่เหลือนั้นก็คือเงินที่เราสามารถซื้อสิ่งของต่างๆที่อยากได้สำหรับเดือนนี้ จะเหลือมากหรือว่าเหลือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายที่เราต้องจ่ายและรายรับในแต่ละเดือนนะ และแน่นอนถ้าหากเรารู้จัก เทคนิคบริหารเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน รู้จักวางแผนเงิน รับรองได้เลยว่าเงินที่เหลือให้เราได้ซื้อสิ่งของต่างๆที่อยากได้นั้นจะมีเยอะอย่างแน่นอน
ก้าวที่ 1 : จัดการกับรายจ่ายซะ !
ก้าวแรกของการบริหารเงิน คือการจัดการกับรายจ่ายของเราเสียก่อน การเขียนรายจ่ายทั้งหมดของเราว่ามีอะไรบ้าง จะทำให้เราเลือกที่จะเข้าไปจัดการ ควบคุม ดูแลรายจ่ายได้ง่ายขึ้นนะ โดยพื้นฐานที่ใครหลายๆคนต้องจ่ายนั้นก็คือค่าน้ำ ค่าไฟ การเลือกทำตามคำแนะนำของการไฟฟ้าที่เปลี่ยนหลอดไฟให้ใช้กำลังไฟน้อยๆ จะสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้อย่างมากเลยล่ะ และนอกจากค่าน้ำค่าไฟแล้ว ค่าอื่นๆอย่างหนี้ผ่อนของต่างๆที่เราเคยผ่อนไว้ ก็ถือว่าเป็นรายจ่ายนะ ถ้าเป็นไปได้เราก็ควรที่จะทุ่มเงินกับในส่วนของหนี้ผ่อนของให้หมดไวๆ เพราะว่าเมื่อรายจ่ายในส่วนของหนี้ผ่อนของหมดแล้ว เราจะได้มีเงินเก็บ มีเงินเหลือมากขึ้น
ก้าวที่ 2 : สำรวจรายรับ
ก้าวต่อไปคือการสำรวจรายรับ ถ้าสำหรับใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือน ในข้อนี้คงสำรวจได้ไม่ยากสักเท่าไหร่และอาจจะทำให้เราไม่ค่อยอยากจะสำรวจด้วย แต่ถ้าเราต้องการที่จะบริหารจัดการเงินจริงๆแล้ว เราก็จำเป็นที่ต้องรู้ให้หมดนะว่ารายรับของเรานั้นมีอะไรบ้างและมีเท่าไหร่ แน่นอนว่าการเป็นมนุษย์เงินเดือนอาจจะมีรายรับแค่ทางเดียวแต่ถ้าเราคิดดูดีๆแล้ว อย่างสำหรับบางคนที่เงินเดือนในแต่ละเดือน สามารถเพิ่มขึ้นได้ตามยอดขายหรือตามเป้าหมายที่ทางบริษัทกำหนด ซึ่งแน่นอนถ้าใครที่รู้ว่าเงินเดือนของตัวเองสามารถเพิ่มขึ้นแล้ว ก็ขยันให้มากๆล่ะเพื่อรายรับที่เยอะขึ้นนะ
ก้าวที่ 3 : Make it happen !
ก้าวที่สามคือการบริหารเงินของตัวเอง เมื่อเรารู้ว่ารายจ่ายของเราเป็นเท่าไหร่ รายรับของเราเป็นเท่าไหร่ ก็สามารถหักออกได้เลย และเมื่อรู้เงินที่เหลือแล้ว ในส่วนนี้แหละที่เราต้องทำการบริหารกันอย่างจริงจัง บริหารเงินของตัวเองว่าควรจะเก็บต่อเดือนเท่าไหร่ ซึ่งเงินเก็บในส่วนนี้นั้นจะเป็นเงินเก็บที่เราจะเอาไว้ใช้ยามเกษียณ บริหารเงินของตัวเองว่าควรจะอยู่ในคลังเงินฉุกเฉินเท่าไหร่ เงินเก็บในส่วนนี้จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเกิดเรื่องจำเป็นที่ต้องใช้เงินอย่างมาก บริหารเงินว่าจะเก็บไว้ซื้อของที่อยากได้เท่าไหร่ ถ้าของที่อยากได้มีราคาแพง ก็อาจจะเก็บนานหน่อยและถ้าเลือกที่จะซื้อผ่อน ก็ต้องพยายามหาช่วงที่มีโปรโมชั่นไม่มีดอกเบี้ยนะเพื่อที่ว่าจะได้ของที่ไม่มีราคาแพงขึ้น
ก้าวที่ 4 : ลด ละ เลิกสร้างปัญหาซักที !
ก้าวที่สี่ไม่สร้างปัญหาทางการเงินเพิ่มหรือสร้างให้น้อยที่สุด อุปสรรคทางการเงินของเราที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องหนี้สิน ด้วยราคาสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ ข้าวของเครื่องใช้ บ้าน ที่ดินและอื่นๆอีกมากมายที่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินสด เราทุกคนก็จำเป็นที่จะต้องกู้หรือจ่ายผ่อนในการซื้อมาใช้กันอย่างแน่นอน ส่วนจะมากหรือจะน้อย ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลเองนะ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรก็ตามถ้าเรารู้ตัวเองดีว่า เรานั้นมีหนี้สินอยู่เท่าไหร่และเป็นหนี้สินเกี่ยวกับอะไรบ้าง จะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยล่ะในการวางแผนใช้หนี้ โดยเริ่มจากทุ่มเงินกับหนี้ที่เหลือน้อยที่สุดก่อน และก็ค่อยๆพยายามทุ่มหนี้อื่นๆทีหลัง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อเราวางแผนใช้หนี้แล้ว เราก็ไม่ควรที่จะวางแผนสร้างหนี้นะ เพราะว่านั่นจะทำให้สภาพการเงินของเราดูแย่หรือทำให้สภาพการเงินของเราไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร ถ้ามันจำเป็นที่ต้องสร้างหนี้จริงๆ เราก็ไม่ควรที่จะสร้างเยอะและก็ไม่ควรสร้างเกินความจำเป็น