ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร นักกฎหมายที่เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และยังเป็นอดีตกรรมการบริหารชุดแรกเริ่มของทางพรรคไทยรักไทย เป็นผู้ที่ริเริ่มก่อตั้งชมรมคนออมเงินและในปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งประธานชมรมฯ คณะรัฐมนตรีได้เคยร่วมลงมติให้ทุกวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ถือให้เป็นวันออมแห่งชาติ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่มีการเผยแพร่หรือส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากเท่าที่ควร ส่วนใหญ่คนจะรู้จักแค่เพียงว่าวันนี้ของทุกปีนั้นเป็น วันฮัลโลวีน มากกว่ารู้จักว่าเป็นวันออมแห่งชาติของไทยเรา แท้ที่จริงแล้วหากลองมีการประชาสัมพันธ์ให้ดีสักหน่อยคนไทยเราอาจจะรู้จักวันออมแห่งชาติมากกว่าวันปล่อยผีของฝรั่งมากกว่า
การให้คนไทยเรารู้จักเตรียมพร้อมและรักในการออมนั้น จำเป็นต้องมีการเผยแพร่และส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องมีการสร้างแรงจูงใจเข้าไปให้มาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทางรัฐบาลได้สร้างสิ่งนี้เอาไว้หลายปีแล้วแต่ขาดการปรับปรุงและทำให้มีความทันสมัยมากขึ้น จึงทำให้แรงจูงใจเหล่านั้นค่อย ๆ จางหายไปตามกาลเวลานั้นเอง ในช่วงสมัยรัฐบาลของพรรคไทยรักไทยได้อนุญาตให้ประชาชนสามารถร่วมลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund หรือ LTF) ไม่ว่าจะเป็นประชาชน ข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ก็สามารถร่วมลงทุนได้หากมีความประสงค์ลดภาษีสามารถซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่แจ้งเสียภาษีไป แต่มีข้อ แม้ว่าเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนแต่ละกอง RMF และ LTF จะต้องลงทุนไม่เกินกองละ 500,000 บาทต่อปี แต่ก็มีอยู่เพียง 1 ปีเท่านั้นที่สามารถซื้อกองทุนได้ถึง 700,000 บาท
“มาถึงขณะนี้ผมนึกถึงสุภาษิตอีกคำหนึ่งที่กล่าวว่า ที่สุดของความเสียดาย คือ ตายแล้วยังใช้เงินไม่หมด แต่ที่สุดของความสลด คือ ใช้เงินหมดแล้วยังไม่ตาย ซึ่งผมอ่านพบในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จากบทความของคุณพจนีย์ คงคาลัย ผู้บริหารอาวุโสของธนาคารกรุงเทพฯ ถ้าหากว่าเราใช้เงินหมดแล้วแต่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีก 10-20 ปี มีคำถามว่าช่วงนั้นเราจะอยู่อย่างไร ทำตัวเป็นจิ้งหรีดกินน้ำค้างตาใบหญ้าหรือ? หรือกิน แต่ใบไม้ ก็คงจะแสบคอพิลึก ถ้าไม่พึ่งคนอื่นก็คงจะต้องกู้หนี้ยืมสิน แต่ในวัยเกษียณซึ่งไม่มีรายได้ ใครจะให้เรากู้ยืม ถ้าโชคดีมีสินทรัพย์ไปวางเป็นหลักประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน คอนโด รถยนต์ หรือทองคำ เพชร พลอย ก็ยังพอถูไถได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าของเงินอาจจะไม่พร้อมปล่อยเงินกู้ให้ เพราะในยามเกษียณคุณไม่มีแหล่งรายได้มาใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ย และเขาก็ไม่มีนโยบายยึดหลักประกันไปชำระหนี้ เขาอยากจะได้เงินต้นคืนพร้อมกำไรดอกเบี้ยมากกว่า ทางเลือกก็คือ ขายสินทรัพย์เหล่านั้นออกไปทีละชิ้น ๆ แต่ต้องอย่าขายมากจนสินทรัพย์ร่อยหรอไปโดยเร็ว จนกระทั่งเมื่อขายหมดแล้วก็ยังไม่ตาย ถึงตอนนั้นอาจจะสิ้นเนื้อประดาตัวเลยทีเดียว” คำกล่าวของทาง ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ที่ได้ลงไว้ในชมรมคนออมเงิน ออนไลน์
วิธีการบริหารหนี้สินแบบฉบับของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร
ซึ่งมองว่าชีวิตของคนเราหากอยากมีความสุขก็ต้องไม่เป็นหนี้สิน หากเกิดมาไม่ได้สุขสบายมาตั้งแต่ต้นไม่ได้คาบช้อนเงิน ช้อนทองมาเกิด แม้ว่าช่วงจังหวะของชีวิตที่เกิดหนี้สินขึ้นมาทั้งแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจจะตั้งใจให้เกิดหนี้สิน แต่ความเป็นจริงแล้วหนี้สินบางอย่างก็ควรห่างเอาไว้บ้างเพราะว่าหากเกิดขึ้นมาแล้วมักจะยาวนานและต้องเป็นกังวลอีกยาวนานกว่าเครียหนี้สินหมด สิ่งที่สำคัญของชีวิตคนเราทุกวันนี้ก็คือหากไม่มีหนี้สินก็ไม่ควรอยากก่อให้เกิดขึ้นมา แต่หากเป็นหนี้สินแล้วก็ควรรีบชดใช้ให้หมดโดยเร็วที่สุดหลักการของชมรมคนออมเงินก็๕อ ต้องรีบชำระหนี้สินให้หมดก่อนที่อายุจะย่างเข้า 45 ปี เพราะว่าหากยังคงมีหนี้สินจนถึงช่วงอายุนี้แล้วการวางแผนเก็บเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณก็จะเป็นเรื่องยากพอสมควร สิ่งที่สำคัญมากของชีวิตคนเราคือ เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นแล้วจะต้องรีบใช้ให้หมดโดยเร็ว หลักการของชมรมคนออมเงินคือ ต้องใช้หนี้หมดจนปลอดหนี้ก่อนอายุจะครบ 45 ปี เพราะถ้าคุณมีหนี้สินคุณจะไม่สามารถออมเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณได้
หนี้สินในความคิดของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร นั้นถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
- การสร้างหนี้ดี คือ การกู้เงินมาเพื่อใช้ในช่องทางการลงทุนเพื่อต่อยอดไม่ได้นำมาใช้ส่วนตัวสนองความต้องการของตนเอง การลงทุนในกิจการ SMEs หรือใช้ในการซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นที่อยู่หรือเพื่อปล่อยเช่าหารายได้ค่าเช่า คนเราหลายต่อหลายคนมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินหรือซื้อทรัพย์สิน แต่ว่าไม่มีเงินสดหรือไม่สามารถหาเงินสดแบบเป็นก็ต้องกู้เงินเพื่อมาหมุนใช้ก่อน การกู้ยืมเพื่อนำมาก่อให้เกิดประโยชน์นั้นถือได้ว่าเป็นหนี้สินที่ดี ข้อดีของหนี้ดีส่วนใหญ่จะมีดอกเบี้ยที่ถูก เพราะทางผู้ให้กู้มั่นใจในศักยภาพของผู้กู้ดีว่าจะสามารถรับผิดชอบหนี้สินส่วนนี้ได้ดี
- การสร้างหนี้ที่ไม่ดี หนี้สินเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นจากความอยากหรือความต้องการส่วนตัวของคนเรามากกว่า บางครั้งเกิดขึ้นมาเพราะอยากมีความเทียบเท่าผู้อื่นไม่สำรวจรายได้ของตนเองว่าจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายหรือชำระหนี้สินหรือไม่ และส่วนใหญ่หนี้เสียจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความที่ไม่รู้จักประมาณตนของคนส่วนหนึ่ง หนี้เสียส่วนใหญ่ที่พอกพูนเป็นดินพอกหางหมูก็เพราะว่าบริหารจัดการเงินรายได้ไม่ดีหรือไม่ลงตัว เมื่อมีเงินอยู่ในมือก็นำไปใช้จ่ายจนหมดไม่นึกถึงส่วนที่ตนเองเป็นหนี้สินอยู่ ตอนใช้จ่ายมักจะคิดว่าไม่เป็นไรใช้ไปก่อนเดียวก็หามาใหม่ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อเงินหมดก็ต้องมองหาช่องทางเพื่อหาเงินมาหมุนใช้ก่อน หนี้ก็เกิดเพิ่มมากขึ้นไปอีก
สรุปแบบง่าย ๆ เลยก็คือ เรื่องการเงินไม่ว่าจะเป็นการเงินเรื่องใด ๆ ก็ตามหากมีการวางแผนหรือจัดการด้วยสติ และสามารถควบคุมการใช้จ่ายของตนเองได้ การเงินก็จะลงตัวได้ดีทั้งหมด จะมีหนี้หรือไม่มีหนี้ก็สามารถอยู่รอดได้ไปตลอด อีกทั้งยังอาจจะมีส่วนของเงินเก็บ เอาไว้เพื่อลงทุนทำกิจการของตนเองซักอย่างหรือเอาไว้ใช้ในยามที่ตนเองเกษียณได้อย่างสบาย