เชื่อว่ามีผู้ประกอบการอีกหลายราย มักจะบ่นว่าทำไมถึงขอสินเชื่อยากจัง!! ไปธนาคารหลายรอบแล้วนะ…แต่ทำไม?? ยังไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อเสียที!!” ซึ่งผู้ประกอบกิจการ SME หลายคนอาจจะรู้สึกอึดอัด และรู้สึกแย่ เมื่อเงินหมุนเวียนในกิจการเริ่มที่จะหดหาย หรือบางคนต้องการขยายกิจการ แต่ไม่มีเงินทุน ครั้นเมื่อต้องแบกหน้าไปขอสินเชื่อก็มักจะถูกปฏิเสธ และไม่ได้รับการอนุมัติหลายต่อหลายครั้ง ทำให้บางเจ้าเริ่มถอดใจ และหันไปเป็นหนี้นอกระบบ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในส่วนที่ขาดหายไปก่อน แม้จะรู้ว่าดอกมหาโหดแค่ไหนก็ตาม การที่จะทำให้การขอสินเชื่อธุรกิจ SME ผ่านฉลุย เคล็ดลับที่หลายคนบอกต่อกันมานั่นก็คือ เจ้าของกิจการจะต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ โดยเกณฑ์พิจารณาหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้มีอะไรบ้างมาดูกัน
อ่านเพิ่มเติม : เริ่มต้น ธุรกิจ SMEs ลงทุน อย่างไรให้เสี่ยงน้อยที่สุด
หากเป็นกรณีใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หากเป็นกรณีใช้บัญชีเงินฝากเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน จะต้องเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท – 12 ล้านบาท และหากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเป็นแบบการเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) ก็สามารถใช้บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารมาค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยดอกเบี้ยที่จะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% – MRR+3% ซึ่งทั้งนี้ก็แล้วแต่ว่าจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจปรับขึ้นลงได้ตามการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ย ตามนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และหากเจ้าของกิจการ SME ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากๆ อย่างวงเงินสินเชื่อสูงสุด 20 ล้านบาท ก็สามารถนำบัญชีเงินฝากมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้เช่นกัน โดยกรณีนี้ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อโดยตรง ซึ่งอาจจะต้องขอทำเรื่องขอสินเชื่อในกรณีพิเศษ และหากคุณมความต้องการเป็นเงินกู้วงเงินมากๆ ทางธนาคารจะถือว่าคุณคือลูกค้าคนพิเศษ โดยดอกเบี้ยที่ SME จะได้รับก็คือ MOR+1.25% – MLR+1.50% ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME ว่ามีแนวโน้มที่จะเติบโตมากน้อยแค่ไหน
หากใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หากมีการใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นโรงงาน ที่พักอาศัย อย่างบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโดมิเนียม และอาคารพาณิชย์ โดยที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของคุณจะสามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ SME ได้ ซึ่งจะทำให้ได้วงเงินสินเชื่อรวม 3 แสนบาท – 12 ล้านบาท แต่หากเป็นสินเชื่อวงเงินเบิกเกินบัญชี (O/D) หรือเงินกู้ระยะยาวตั้งแต่ 3-7 ปี (T/L) และเมื่อนำสินทรัพย์มาค้ำประกันเงินกู้ ดอกเบี้ยที่คุณจะได้รับมีตั้งแต่ MRR+2.5% – MRR+3% ทั้งนี้ก็ต้องแล้วแต่ประเภทของสินเชื่อ และดอกเบี้ยอาจมีการปรับขึ้นลงได้ตามการ เปลี่ยนแปลง เป็นดอกเบี้ยนโยบายที่กำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย แต่กรณีการขอกู้แบบจุใจ 20 ล้านบาท หากมี การใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาค้ำประกัน ไม่ต้องกังวลเลย เพราะสามารถยื่นขอกู้ได้เช่นกัน เช่นเดียวกับกรณีแรก หากเป็นเงินกู้วงเงินมากๆ ธนาคารก็จะถือว่าคุณเป็นลูกค้าพิเศษ โดยดอกเบี้ยที่ SME จะได้รับก็คือ MOR+1.25% – MLR+1.50% ซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการ SME และดูว่าจะมีแนวโน้มเติบโตมากน้อยแค่ไหน
การเตรียมค่าใช้จ่ายเรื่องค่าธรรมเนียมสำหรับขอเงินกู้ SME
ค่าธรรมเนียมครั้งแรกในการจัดวงเงินสินเชื่อนั้น จะสูงสุดไม่เกิน 2% ของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติ ที่อยู่ในขั้นต่ำ 20,000 บาท และเจ้าของธุรกิจ SME ก็ควรจะเตรียมค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นไปตามประกาศของธนาคาร โดยวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ธนาคารจะให้ได้ก็เป็นในบางกรณีที่อาจจะไม่เกิน 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งวงเงินสินเชื่อสูงสุดที่ธนาคารให้ได้นั้น ในบางกรณีจะไม่เกิน 3 เท่าของหลักทรัพย์ค้ำประกัน หมายความว่าหากคุณต้องการกู้เงิน 3 ล้านบาท และหากมีการนำบัญชีธนาคารไปค้ำประกัน โดยที่คุณเองก็ควรจะมีเงินสดในบัญชีอย่างน้อย 1 ล้านบาท ที่สำคัญในบางกรณีจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมของการค้ำประกันวงเงินสินเชื่อในปีแรกด้วย หากคุณใช้ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม หรือ บสย. ให้เป็นผู้ช่วยในการค้ำประกัน โดยเจ้าของกิจการ SME นั้นจะสามารถทำการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้กับทางเจ้าหน้าที่สินเชื่อ อย่าลืมเตรียมตัวให้พร้อมเสียก่อน เพื่อให้ทุกอย่างราบรื่น เหมือนธุรกิจที่ราบรื่น ไม่ติดขัด และประสบความสำเร็จ เพราะหากคุณไม่พร้อม และไม่ได้เตรียมหลักทรัพย์ค้ำประกันได้อย่างถูกต้องครบถ้วน โอกาสที่เราจะถูกปฏิเสธสินเชื่อก็เป็นไปได้สูง และยังจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจไปด้วย จะเห็นได้ว่าเจ้าของกิจการที่มีข้อมูลเตรียมตัวพร้อมก่อนไปขอสินเชื่อ มักจะย่อมได้เปรียบอยู่เสมอ
ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ทำให้กู้เงินมาลงทุนจากธนาคารไม่ได้
การที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน หลายคนอาจจะรู้สึกลำบาก เวลาที่ไปยื่นเรืองกู้เงิน ซึ่งหลังจากผู้ประกอบการ SME เริ่มดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ก็จะเริ่มเห็นแนวทางในการขยายกิจการ หรือมีการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งส่วนใหญ่ความหวังมักจะฝากไว้กับการกู้เงินจากธนาคาร หรือทางสถาบันการเงิน โดยมองภาพว่ากิจการกำลังดำเนินการไปได้ดี ทำให้ต้องการขยายสาขา ธนาคารน่าจะเห็นด้วยและอาจจะต้องอาศัยตัวธุรกิจเองเป็นหลักประกัน แต่พอยื่นกู้แล้วไม่ผ่านนั้นประเด็นสำคัญน่าจะมาจากการที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันนั่นเอง การไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วนใหญ่จะเป็นปัจจัยอันดับต้นๆที่ทำให้เจ้าของกิจการขอสินเชื่อไม่ได้ เพราะระบบธนาคารหรือสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่จำเป็นที่จะต้องมีการเรียกหลัก ประกันสำหรับการค้ำประกันสินเชื่อที่ปล่อยออกไป ซึ่งการปล่อยสินเชื่อโดยไม่มีหลักประกันจะทำให้เงินฝากของบุคคลนั้นเกิดความเสี่ยงอย่างแน่นอน และส่งผลทำให้ขอสินเชื่อไม่ผ่านนั่นเอง