ผู้ประกันตนเฮ! ประกันสังคมลดจ่ายเงินสมทบให้ 3 เดือน ม.ค. – มี.ค. 64
ในสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่แบบนี้การที่ประชาชนได้รับความช่วยเหลือในด้านลดค่าใช้จ่ายประกันสังคมถือว่าทำให้ประชาชนลดค่าใช้จ่ายต่อวันได้ไม่มากก็น้อย โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เคาะแล้ว โดยมีมติปรับลดเงินสมทบประกันสังคม ดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33 จากเดิม 5% เหลือ 3% มีผลนาน 3 เดือน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 64 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกันตน รวมถึงนายจ้างด้วย โดยภาครัฐยังคงสมทบในอัตราเดิมที่ 2.75%
- โดยอัตราเดิม อยู่ที่ 5% หรือสูงสุด 750 บาท/เดือน
- และมีอัตราใหม่ อยู่ที่ 3% หรือสูงสุด 450 บาท/เดือน
ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 จะปรับลดลง 154 บาท นาน 3 เดือนเช่นกัน ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 64
- โดยอัตราเดิม : 432 บาท/เดือน
- และมีอัตราใหม่ : 278 บาท/เดือน
เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า มีหลายเรื่องที่น่าสนใจและเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 เรื่องแรกร่างกฎกระทรวงที่เป็นการดูแลประชาชนซึ่งเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ณ วันนี้มีอยู่ประมาณ 12 ล้านคน โดย ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ซึ่งกระทรวงแรงงานเคยออกมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่เป็นการจ่ายเงินเยียวยาและให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ให้ตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงานแต่ไม่เกิน 90 วัน ตั้งแต่ มี.ค. – ส.ค. 2563
ทั้งนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ วันนี้ ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงอีกครั้งในลักษณะเดิม มีสาระสำคัญว่า กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563 และนิยามของเหตุสุดวิสัยที่จะให้มีการจ่ายเงินทดแทนได้ หมายถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ การกำหนดให้มีกรณีเหตุสุดวิสัยและหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตราย อันส่งผลให้ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการประกันสังคม โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่สั่งปิดพื้นที่ ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทินจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนดังกล่าวทุกครั้งรวมกันแล้วไม่เกิน 90 วัน
ทางด้าน กระทรวงแรงงาน คาดว่า ร่างกฎกระทรวงนี้จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงถูกปิดกิจการ เช่น สมุทรสาคร สมุทรปราการ กทม. นนทบุรี นครปฐม ราชบุรี และสมุทรสงคราม คาดว่าจะมีผู้ประกันตนที่จะได้รับค่าทดแทน 5.7 ล้านคน คิดเป็นเงิน 5,225 ล้านบาท เพื่อให้ความมั่นใจว่าหากมีการให้ปิดกิจการชั่วคราวจากโควิด-19 รัฐบาลก็พร้อมที่จะจ่ายเงินกองทุนประกันสังคมเพื่อเยียวยาดูแล
เรื่องที่สอง ร่างกฎกระทรวงอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม โดยเป็นการลดการจ่ายเงินสมทบเพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายทั้งผู้ประกอบการและผู้ประกันตน จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป ถึง มี.ค. 2564 กำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน ดังนี้
กรณีประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และคลอดบุตร
- รัฐบาลจ่ายอัตราเงินสมทบ 05% จากเดิม 1.5%
- นายจ้างจ่ายสมทบ 05% จากเดิม 1.5%
- ผู้ประกันตน จ่ายสมทบ 05% จากเดิม 1.5%
กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
- รัฐบาลจ่ายอัตราเงินสมทบ 45% จากเดิม 1%
- นายจ้างจ่ายสมทบ 85% จากเดิม 3%
- ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 85% จากเดิม 3%
กรณีว่างงาน
- รัฐบาลจ่ายอัตราเงินสมทบเท่าเดิมคือ 25%
- นายจ้างจ่ายสมทบ 1% จากเดิม 0.5%
- ผู้ประกันตนจ่ายสมทบ 1% จากเดิม 0.5%
จากการประมวลค่าใช้จ่ายทั้งหมดกรณีลดอัตราเงินสมทบงวดเดือน ม.ค. – มี.ค. 2564 จะส่งผลให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลงในภาพรวม 8,248 ล้านบาท จากเดิมที่ต้องจ่าย 12,634 ล้านบาท
ส่วนนายจ้างจ่ายลดลง 7,142 ล้านบาท จากเดิม 11,118 ล้านบาท อีกทั้งจะส่งผลดีต่อผู้ประกันตนทำให้สามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายช่วยเสริมภาพคล่องได้ประมาณ 460-900 บาทต่อคน และนายจ้างก็มีสภาพคล่องมากขึ้น แต่มีผลต่อเงินออมบำนาญของผู้ประกันตน ซึ่งจะลดลงประมาณ 1,035 บาท และส่งผลต่อสถานะของกองทุนประกันสังคม ซึ่งทางกองและรัฐบาลจะมีการวางแผนในระยะยาวต่อไป
อ้างอิง
- https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_5583169
- https://www.thairath.co.th/news/politic/1999573