พูดเรื่องลดหย่อนไม่พ้นเรื่องการเสียภาษี ใกล้สิ้นปีมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายตั้งหน้าตั้งตาหาซื้อโน่นนี่ จะซื้อ ประกัน LTF RMF เพื่อลดหย่อนภาษี หลายคนซื้อด้วยเหตุผลนี้จริงๆ และเชื่อว่าบางคนไม่เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงของแต่ละตัวแบบรู้ลึกจริงแท้ของแต่ละตัว
- ประกันชีวิต คือ สินค้าที่ใช้ชดเชยความเสียหายให้คนที่อยู่ข้างหลัง หากคนคนหนึ่งจากไปก่อนวัยอันควร ซึ่งเงินเอาประกันที่ได้ ควรจะต้องเท่ากับรายจ่ายที่คนคนนั้นรับผิดชอบต่อครอบครัว
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ การออมเงินระยะยาว เพื่อนำเงินที่ออมไว้ รวมกับดอกผลที่ได้ เป็นตัวเลขที่แน่นอน ไปใช้หลังเกษียณตอนอายุ 55 60 หรือ 65 จนถึงอายุ 85 เป็นการสร้างระบบบังคับให้เกิดวินัยในการออมระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน รวมถึงมีเงินเอาประกันชีวิตระหว่างที่ยังไม่ได้เกษียณอีกด้วย
- RMF คือ กองทุนที่มีจุดประสงค์ไว้ลงทุนระยะยาว เพื่อใช้เป็นเงินทุนหลังเกษียณ ซึ่งมีลักษณะการลงทุนที่หลากหลาย ทั้งกองตราสารหนี้ กองตราสารทุนหรือกองหุ้น หรือกองผสม
- LTF คือ กองทุนตราสารทุนหรือกองหุ้นชนิดหนึ่ง เมื่อลงในหุ้นเป็นหลักเกิน 65% จึงมีความเสี่ยงสูง ทำให้ควรจะต้องลงทุนระยะยาวเพื่อลดผลกระทบเรื่องความไม่แน่นอนของอัตราผลตอบแทน ตัวนี้ถือครอง 5 ปี แท้จริงถ้ามานับแบบละเอียดเราอาจถือครองเพียงแค่ 3 ปีเศษๆ แต่ก็ไม่ได้การันตรีว่าเราจะได้ค่าตอบแทนมากน้อยกว่าที่ซื้อเมื่อปีแรกๆหรือไม่ เมื่อครบกำหนดที่จะถอนออกมาก็ต้องมาดูกันอีกว่า ความคุ้มค่าที่ลงทุนไปครั้งแรกกับตอนนี้เราได้เยอะมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อยจริงก็ถือไปเรื่อยๆ ปีหน้าไม่แน่รัฐบาลอาจจะให้ถือครองเลยถึง 7 ปีด้วยซ้ำคราวนี้ต้องมาคิดอีกว่าเอาเงินไปลงตรงนี้ถึง 7 ปีคุ้มรึเปล่า
อ่านเพิ่มเติม >> พอร์ต กองทุน LTF หรือ RMF ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด แล้วหรือยัง <<
จากข้างต้นเราจะเห็นว่าทั้ง 4 ตัวนี้ เราก็ต้องมาดูกันต่ออีกว่า และ คำนวณลดหย่อน ประกัน กองทุน สำนักไหนละที่เราจ่ายแล้วมันคุ้มสุด เสี่ยงน้อยสุดอีก
นี่อาจจะเป็น กุศโลบายของรัฐบาลทางอ้อมที่อยากให้คนไทยสร้างวินัยการออมด้วยการให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี เพื่อไม่ให้คนเลิกออมหรือจ่ายเบี้ยไปกลางทางจึงต้องมาเป็น ภาระของรัฐบาลที่ต้องมาเลี้ยงดู แต่ก็ทำให้หลายๆคนคิดมากอีกว่า ทำงานมากเงินเยอะ เสียภาษีเยอะตาม บทความนี้จะขอยกตัวอย่างการคำนวณ การซื้อกองทุนและประกัน ที่ยอดฮิตสุดของมนุษย์เงินเดือนโดยการคำนวณคร่าวๆ ดังนี้
เบี้ยประกันชีวิต
เงินที่เราจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตไปในแต่ละปีนั้น สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนในปีนั้นได้ รัฐยอมให้นำมาหักได้เท่าจำนวนที่จ่ายไปตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่ใช่ทุกกรมธรรม์ที่เข้าเงื่อนไข กรมธรรม์ที่ยอมให้หักได้ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปี
ข้อสังเกตในการเลือกซื้อกรมธรรม์ก็คือ แบบกรมธรรม์ต่างๆจะมีรูปแบบที่หลากหลายมาก
แต่ที่ต้องสนใจก็คือระยะเวลาการคุ้มครอง และระยะเวลาการส่งเบี้ยประกัน ถ้าคุณมีกรรมธรรม์เตรียมมาเปิดดูกันได้เลย ชื่อกรมธรรม์ที่เขียน กรมธรรม์ A 5/10, กรมธรรม์ B 10/10 กรมธรรม์ หรือ กรมธรรม์ C 10/20 ตัวเลขดังกล่าวจะแสดงถึง (ระยะเวลาการชำระเบี้ย/ระยะเวลาคุ้มครอง)
เช่น 5/10 ก็หมายถึงเราจะส่งเบี้ย 5 ปี แต่เราจะได้รับความคุ้มครองชีวิตถึง 10 ปี เป็นต้น
ถ้าเราไปซื้อกรมธรรม์ที่อายุคุ้มครองระยะสั้นไม่ถึง 10 ปี เช่น 5/5 ก็ไม่มีสิทธินำค่าเบี้ยมาหักค่าลดหย่อน
ตัวนึงที่หลายคนมักมองข้ามหรือไม่รู้เลย
- ทางกฎหมายยอมให้ลดหย่อนภาษีหักค่าเบี้ยได้เฉพาะปีที่จ่ายจริงเท่านั้น เช่น ถ้าเป็นแบบ 5/10 เข้าสู่ปีที่ 6 แม้จะอยู่ในอายุกรมธรรม์แต่เราไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยอีกแล้วเราก็ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อนในปีนั้น
- ส่วนเรื่องจำนวนเบี้ยประกันจะถูกจะแพงนั้น ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น กรมธรรม์ที่เราเลือกซื้อ ความคุ้มครองสั้นยาว อายุ เพศ ของผู้ขอเอาประกัน จำนวนทุนประกัน ซึ่งเราสามารถเลือกได้ตามความสามารถในการชำระ
มีหลายคนที่ไม่เข้าใจตรงนี้ จึงอยากให้กลับไปทบทวนในส่วนของ กรมธรรม์ที่ตนทำว่าคุ้มกันไหมแต่ถ้ามองเรื่องความคุ้มครองชีวิตหรือคนเบื้องหลัง ซื้อไปไม่เสียหายเพราะอะไรๆก็ไม่แน่นอน
แล้วประกันสุขภาพอุบัติเหตุละ ลดหย่อนได้ไหม?
อีกหนึ่งคำถามที่ คนทำประกันสงสัยหรืออาจจะเข้าใจผิดเมื่อทำประกัน เพราะน้อยมากที่ตัวแทนจะมาอธิบายแยกย่อยจริงๆและพูดถึงเรื่องลดหย่อน ตัวแทนส่วนมากจะมองเรื่องความคุ้มครองโรค และห้องพักรักษาแต่ละโรงพยาบาลมากกว่า แท้จริงแล้ว ถ้าเราทำประกันสุขภาพจะมีประกันชีวิตพ่วงอยู่ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- สัญญาหลัก คือ เบี้ยประกันชีวิต 4,400 บาท
- สัญญาเพิ่มเติม เช่นค่าห้อง ค่าคุ้มครองโรคร้ายอุบัติเหตุ 9,253 บาท
- รวมเบี้ยทั้งหมดที่ต้องจ่าย 13,653 บาท
เราจะลดหย่อนได้เพียง สัญญาหลัก คือ เบี้ยประกันชีวิต 4,400 บาท แต่ถ้าที่บริษัทมีทำประกันสุขภาพให้อยู่แล้ว ก็ซื้อสัญญาเพิ่มเติมไม่ต้องเยอะมาก เน้นไปที่สัญญาหลักจะดีกว่าเพราะเราสามารถใช้สัญญาเพิ่มเติมรวมกันได้
การลดหย่อนแบบซื้อหน่วยลงทุน LTF
มีเงินเหลือจากการใช้จ่ายต่างๆ และอยากให้เงินออมเหล่านั้นงอกเงยขึ้นก็อาจจะอยากลงทุนในช่องทางต่างๆ ซึ่งการซื้อ LTF ก็เป็นทางเลือกที่ดีเพราะเราจะได้รับสิทธิ รัฐยอมให้หักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าจำนวนที่เราจ่ายจริง ซื้อหน่วยลงทุน 10,000 บาท ก็นำมาหักได้ 10,000 บาทเลยทีเดียว เงินที่เราเอาไปซื้อ LTF นั้นห้ามเกินกว่า 15% ของเงินได้พึงประเมินทั้งปี ก่อนหักค่าใช้จ่าย,ค่าลดหย่อนต่างๆ แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และที่สำคัญเราต้องถือครองหน่วยลงทุนนั้นครบ 5 ปีปฏิทิน
ตัวอย่างเช่นมีเงินได้ 50,000 บาท ต่อเดือน (ถ้ามีโบนัสและรายได้อื่นๆก็รวมด้วย) ต่อปี เท่ากับ
600,000 บาท x 15% = ซื้อได้สูงสุด 90,000 บาท ไม่ควรซื้อเกิน นอกจากเสียเงินเพิ่ม ก็นำที่เกินมาลดหย่อนไม่ได้ ต้องทำเรื่องส่วนที่เกินกับธนาคารวุ่นวายซับซ้อนแนะนำคำนวณก่อนซื้อ
การนับอายุการถือครองนั้นกฎหมายนับตามปีปฏิทิน ไม่นับปีชนปี
ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อหน่วยวันนี้ 18/11/2015 แต่เราต้องถือหน่วยไปอย่างน้อยถึงวันที่ 1/01/2019 แล้วขายทิ้งก็ครบเงื่อนไขแล้ว ถ้านับจริง 3 ปีกว่าเท่านั้นของเข้าเงื่อนไขแล้ว ซึ่งเราสามารถหักภาษีได้ในปีที่เราเริ่มซื้อทันทีไม่ต้องรอถึง 5 ปี แต่ถ้าเราทำผิดเงื่อนไขเช่นขายออกไปหรือไถ่ถอนก่อนกำหนด 5 ปีปฏิทิน เราก็ต้องเสียภาษีเพิ่มย้อมหลัง คิดก่อนขายไม่เสียรู้
อ่านเพิ่มเติม >> แนวทาง ลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต <<
บทความนี้อาจช่วยหลายๆท่านที่กำลังหมกมุ่นค้นหาข้อมูล ลองอ่านแล้วมาวิเคราะห์กับตัวเองดูเผื่ออาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาที่ช่างน้ำหนักดูว่า เงินที่มีอยู่จะออมกับเงินประกัน กองทุน หรือ จะยอมเสียภาษีบางส่วน ที่สำคัญอย่าให้สภาพคล่องการใช้ชีวิตฝืด ความอิสระในการบริหารการเงินลดลงเพราะมัวแต่หาเงินมาลดหย่อนนะคะ