โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่จะไม่สนใจว่าสามารถเริ่มยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่จะสนใจมากกว่าว่าวันสุดท้ายที่สามารถยื่นแบบได้คือวันไหน จึงไม่แปลกเลยที่ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ผู้คนวิ่งวุ่นเรื่องการ ยื่นภาษี กันมากที่สุด…
การยื่นแบบเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น สามารถทำได้ 2 รูปแบบ ซึ่งมีการกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นแบบที่ต่างกันดังนี้
ที่กรมสรรพากร >> ยื่นได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559
ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต >> ยื่นได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2559
การลดหย่อนภาษี
เมื่อพูดถึงเรื่องการเสียภาษี หลายคนไม่ค่อยได้ใส่ใจกับเนื้อหาสาระของมันมากนัก แต่มักจะไปใส่ใจกับเรื่องของการลดหย่อนภาษีซะมากกว่า
“ชั้นจะซื้อ LTF, RMF, ประกันชีวิตเท่าไหร่ดี จะได้เอาไว้ลดหย่อนภาษี”
“ช่วงนี้ช้อปปิ้งแล้วได้ลดหย่อนภาษีด้วย ออกไปช้อปกันเยอะๆ ดีกว่า”
จริงอยู่ มีวิธีการที่ช่วยให้สามารถลดหย่อนภาษีได้อย่างมากมาย แต่อย่าให้น้ำหนักเรื่องการลดหย่อนภาษี มากไปกว่าแก่นแท้ของการซื้อของนั้น ๆ เช่น ซื้อกองทุนเพื่อการลงทุนระยะยาว, ซื้อประกันชีวิตเพื่อโอนย้ายความเสี่ยง, ซื้อสินค้าเพราะจำเป็นต้องใช้ ส่วนเรื่องของภาษี ให้มันเป็นเรื่องผลพลอยได้ หรือผลประโยชน์เพิ่มเติมจะเหมาะสมกว่า
อย่างไรก็ตาม เมื่อซื้อของด้วยวัตถุประสงค์หลักไปเรียบร้อยแล้ว ก็จงอย่าเสียสิทธิ์ที่จะใช้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีต่อไป …
(รายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ สามารถดูได้ที่เวบไซต์ของกรมสรรพากร >> http://www.rd.go.th/publish/557.0.html)
… เคยสงสัยมั้ยคะ เวลาเราซื้อ LTF, ประกันชีวิต ฯลฯ มา XX บาท จะสามารถช่วยให้เราประหยัดภาษีไปได้กี่บาท คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับฐานภาษี(หรือขั้นภาษี) ค่ะ แล้วมันยังไงกันล่ะนี่ …
วิธีคิดภาษี
ปกติคนเราเวลามีรายได้ขึ้นมา ก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษี โดยรัฐบาลจะนำเงินภาษีพวกนี้ไปบริหารพัฒนาประเทศต่อไป แต่ทีนี้ครั้นมีเงินแล้วจะไปช่วยชาติเลยก็ไม่น่าจะถูกต้อง มันจะต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อน ดังนั้นหลักการคำนวณเพื่อจัดเก็บภาษีจึงมาจากแนวคิดที่ว่า
เมื่อมีรายได้แล้วก็ให้หักพวกรายจ่ายต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อชีวิต หรือรายจ่ายที่ประหนึ่งว่าเป็นการช่วยชาติอีกทางหนึ่ง ออกให้หมดก่อน เหลือสุทธิเท่าไหร่ ถึงจะเอาไปคำนวณภาษีต่อไป ดังสมการ
และเจ้ารายได้สุทธินี่แหละ ที่ประหนึ่งว่าเป็นรายได้ที่ผ่านการคัดกรองแล้วว่าเหลือพอที่จะแบ่งให้ภาครัฐนำไปพัฒนาประเทศต่อไปได้ โดยจะแบ่งให้เท่าไหร่ก็ต้องเอาไปคำนวณตามแบบขั้นบันใด (อัตราก้าวหน้า) กันต่อ …
ตัวอย่าง นาย A เป็นพนักงานประจำบริษัทแห่งหนึ่ง โดยทั้งปีนาย A มีรายได้รวม 600,000 บาท สมมติแยกเป็น 2 กรณี คือ นาย A ไม่ได้ซื้อ LTF และ นาย A ซื้อ LTF 50,000 บาท (ทั้งนี้สมมติว่านาย A ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น และไม่ได้บริจาคอะไรเลย)
กรณีที่ 1 (ไม่ซื้อ LTF)
เมื่อเอา 540,000 ไปคิดภาษีตามขั้นภาษี ทำให้นาย A ต้องเสียภาษีทั้งหมด 7,500 + 20,000 + (40,000*15%) = 33,500
กรณีที่ 2 (ซื้อ LTF 50,000 บาท)
เมื่อเอา 490,000 ไปคิดภาษีตามขั้นภาษี ทำให้นาย A ต้องเสียภาษีทั้งหมด 7,500 + (190,000*10%) = 26,500
จากตัวอย่างจะเห็นว่า หากนาย A มีการซื้อ LTF อีก 50,000 บาท จะทำให้นาย A สามารถประหยัดภาษีไปได้เพิ่มเติม 33,500 – 26,500 = 7,000 บาท นั่นเอง