น่าจะมีอยู่หลายคนเลยทีเดียวที่ลาออกจากงานประจำแล้วมาทำงานส่วนตัวกัน คำถามหนึ่งที่มักจะสงสัยกันก็คือ พอออกจากงานแล้ว จะยื่นภาษีอย่างไร จะใช้ตัวเลขอะไรมาคำนวณกันบ้าง เพราะถ้าเป็นคนที่ทำงานบริษัทมากว่า 10 ปีขึ้นไป แน่นอนว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็จะมากตามไปด้วย แล้วเงินส่วนนี้เราจะนำมาคำนวณภาษีอย่างไร
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่ออกมาทำงานส่วนตัวนั้น สำหรับสิ้นสุดปีที่ลาออกมานั้นก็จะมีเงินได้สำหรับยื่นภาษีสองส่วน คือ
- เงินเดือนที่ได้ก่อนลาออกจากงาน ที่เราจะต้องได้หนังสือรับรองการหักภาษีหรือที่เรามักจะได้ยินเรียกกันแบบย่อๆ ว่า ทวิ 50
- เงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เราจะต้องได้รายงานการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาด้วย
ทีนี้เรามาดูเงื่อนไขต่างๆ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันดีกว่า ว่าถ้าเราลาออกจากบริษัทแล้ว จะทำยังไงกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกันได้บ้าง
- ลาออกจากบริษัทเดิม ไปที่บริษัทใหม่ เราสามารถโอนย้ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากที่เดิมไปที่ใหม่ได้เลย กรณีนี้เราไม่ต้องเสียภาษี หรือค่าใช้จ่ายใดๆ
- ลาออกจากบริษัทมาทำงานส่วนตัวหรือจะอยู่บ้านเฉยๆ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เรามีอยู่นั้น ยังสามารถฝากไว้ในกองทุนได้ ซึ่งจะเรียกว่า การคงเงินไว้ในกองทุน แบบนี้เราจะต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 200 บาท และสามารถฝากได้ไม่เกิน 2 ปี หลังจากนั้นต้องนำเงินออกจากกองทุน บางคนที่เลือกแบบนี้เพราะมองว่าปีต่อไปตัวเองไม่มีรายได้แล้ว จำนวนเงินที่จะนำมาคำนวณภาษีก็น้อยลง ภาษีที่ต้องเสียจึงลดลงตามไปด้วย
- สำหรับคนที่ลาออกจากงาน และนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกมาด้วย จะต้องนำเงิน 3 ส่วนที่ได้จากกองทุนมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในสิ้นปีที่ลาออกด้วย คือ เงินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินสะสมไปลงทุน และอีกส่วนคือ เงินสมทบจากนายจ้างและผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการนำเงินสมทบจากนายจ้างไปลงทุน
ต่อมาเรามาดูกันบ้างว่ากรณีใดที่จะต้องนำเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคำนวณภาษีเงินได้
คือ ถ้าเรานำเงินออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก่อนอายุ 55 ปี เราจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โดยดูที่อายุงานว่าถ้าน้อยกว่า 5 ปี จะต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดมาคำนวณภาษีตามอัตราทั่วไป แต่ถ้าอายุงานมากกว่า 5 ปี ขึ้นปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนเท่ากับ 7,000 บาทต่อปี เมื่อหักออกจากเงินกองทุนแล้วเหลือเท่าไร ก็สามารถนำมาหักภาษีได้อีกครึ่งหนึ่ง แล้วค่อยนำเงินที่เหลือมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีทั่วไป
เป็นตัวหนังสืออย่างเดียวอาจจะไม่เข้าใจ เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า เช่น เรามีอายุงาน 10 ปี มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ก้อนหนึ่ง แต่เมื่อนับเฉพาะส่วนที่เป็นผลประโยชน์ของเรา เงินสมทบและผลประโยชน์จากนายจ้างแล้ว เป็นจำนวน 900,000 บาท และเราได้ลาออกจากองทุนก่อนอายุ 55 ปี เพราะฉะนั้นเราจะต้องนำเงินจำนวน 900,000 บาทนี้มาคำนวณหาเงินได้สุทธิที่จะไปคำนวณภาษี ซึ่งเป็นจำนวน 415,000 บาท โดยมีวิธีการคิดดังนี้
จากนั้นเราต้องนำเงินที่เหลือจำนวน 415,000 บาทไปรวมกับรายได้ต่อปีเพื่อคำนวณภาษีในอัตราทั่วไปของกรมสรรพากรด้วยเหมือนกัน สมมติว่าออกมาแล้วอยู่บ้านเฉยๆ ไม่มีรายได้อื่นเพิ่มเติมนอกจากรายได้ก่อนออกจากงาน เป็นจำนวน 400,000 บาท เพราะฉะนั้นเราจะคำนวณภาษีได้ดังนี้
ซึ่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณจากเงินจำนวน 450,000 แรกจะเท่ากับ 7,500 บาท ส่วนที่เหลืออีก 65,000 คิดภาษีในอัตรา 10% จะเท่ากับ 6,500 บาท จึงรวมกันเป็น 14,000 บาท
หรือจะใช้โปรแกรมคำนวณภาษี >> โปรแกรมคำนวณภาษี ผู้ช่วยที่ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย <<