ในปี 2558 ได้มีการสรุปภาพรวมของ หนี้ครัวเรือนของคนไทย ที่ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่หนี้ครัวเรือนกลับไม่ค่อยขยับเท่าที่ควร แถมยังคงมีปัญหาที่น่าเป็นห่วง เพราะในปี 2558 นั้น หนี้ครัวเรือน ยังคงมีจำนวนรวมอยู่ที่ 10.57 ล้านล้าบาท หรือเพิ่มขึ้น 6.4% ภายในไตรมาสแรก ที่การขยายตัวอาจจะชะลอตัวลงจากปีก่อน ๆ ก็จริง แต่ก็ยังถือว่ายังเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอยู่ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็เป็นมาจากสภาวะเศรษฐกิจก่อนหน้านี้มีการชะลอตัวลงอย่างมาก จึงทำให้กำลังซื้อของอุปโภคและบริโภคมีกำลังซื้อที่ยังน้อยอยู่มาก และการขยายตัวส่วนใหญ่กลับเป็นเรื่องเหล่าสินเชื่อที่มีผู้คนไปกู้เพื่อนำมาใช้อุปโภคและบริโภคกันมากขึ้น โดยเฉพาะหนี้จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังครองตลาดเสียส่วนใหญ่ แต่ก็เริ่มมีทิศทางในการชะลอตัวลงเพราะด้วยบทเรียนต่าง ๆ ที่ผ่านมาเลยทำให้ประชาชนบางส่วนมีการชะลอการใช้จ่ายมากกว่า
ในสภาวะปัจจุบันนี้ที่เศรษฐกิจภายในประเทศต้องชะลอตัว ไม่ใช่เพราะเหตุจากภาวะข้าวยากหมากแพง แต่กลับเป็นการที่ไทยอยู่ในภาวะมีแต่คนที่ไม่มีรายได้ หรือรายได้ต่อคนนั้นลดน้อยลง ซึ่งก็มาจากสภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศอยู่ในสภาวะที่ชะลอตัวลงอย่างมาก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นของ นายสมหมาย ภาษี รมว.กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นไว้ แต่ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการส่งออกของปี 2558 ก็เป็นอีกส่วนของปัญหาที่ส่งผลอย่างมาก เพราะเมื่อสินค้าที่ต้องส่งออกกลับโดนสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงทำให้เกิดปัญหาการส่งออกที่ชะลอตัวไปด้วย พร้อมทั้งสินค้าที่นำเข้าเองก็ไม่สามารถที่จะขายได้ดีเท่าเดิมก็ยิ่งทำให้รายได้ลดลงอย่างมาก
ซึ่งเรื่อง หนี้ครัวเรือน นี้เป็นปัญหาที่มีมานานและเป็นปัญหาที่ทับถมกันมาจนการแก้ปัญหาก็อาจจะยากไปด้วย เพราะ ปัญหาหนี้ครัวเรือน คือปัญหาความไม่แข็งแรงของภาคประชาชนที่ในบางส่วนของประเทศยังไม่สามารถที่จะควบคุมสภาวะทางการเงินของตนเองได้ หรือการใช้เงินไม่เป็นนั่นเอง จนทำให้เกิดสภาวะเงินขาดมือ
ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้คนเริ่มว่างงานกันมากขึ้น พร้อมทั้งผู้คนเริ่มหันไปประกอบธุรกิจกันเองมากขึ้น โดยที่บางคนก็ยังไม่มีความรู้ที่มากพอในการทำธุรกิจนั้น ๆ จึงยิ่งทำให้เกิดเป็นการกู้ยืมจากสินเชื่อต่าง ๆ ตามสถาบันการเงิน รวมไปถึงการกู้หนี้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยที่แสนแพง จึงทำให้หนี้ภาคครัวเรือนจะไม่มีวันจบสิ้นได้อย่างง่าย ๆ จนรัฐต้องมีนโยบายในการช่วยเหลือเรื่องหนี้สินของประชาชน แต่ถ้าตราบใดประชาชนภายในประเทศยังขาดวินัยทางการเงินอยู่ และหวังพึ่งการกู้ยืมก็คงจะยากมากที่จะแก้ปัญหา
ส่วนปัญหาในไตรมาสที่ 2 มีแนวโน้มหนี้ครัวเรือนที่มีทิศทางในช่วงขาขึ้น โดยจะยังมีความต้องการในสินเชื่อจากครัวเรือนทั้งในระดับกลางขึ้นไปที่จะเน้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เพราะผู้ที่มีรายได้ยังมีความต้องการที่จะซื้อที่อยู่อาศัยกันมากขึ้น ส่วนในครัวเรือนระดับกลางลงไปถึงระดับล่างจะมีความต้องการสินเชื่อในเรื่องของเงินใช้จ่ายเสียมากกว่า ซึ่งยังต้องจับตาดูกันอยู่ตลอด และอีกหนึ่งหนี้ครัวเรือนที่สำคัญคือการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมที่ผุดขึ้นมาอย่างมากมาย ที่ถือว่าเป็นหนี้ครัวเรือนที่สะสม เพราะธุรกิจที่รอดก็มีแต่ที่ไม่รอดก็มีอยู่เยอะ เมื่อธุรกิจที่ไม่รอดล้มไปก็จะทำให้เกิดภาระหนี้ครัวเรือนที่ผู้ประกอบธุรกิจบางรายก็ไม่อาจจะคืนได้ก็ยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ค่าจีดีพีของหนี้ครัวเรือนในไตรมาส 2 ของปี 2558 ขยับไปเพิ่มที่ระดับ 80.5% และสิ้นปีก็พุ่งขึ้นสูงไปแตะที่ระดับ 81.5% ต่อจีดีพี ซึ่งเรื่องปัญหาของหนี้ครัวเรือนนี้ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดไปถึงปี 2559 เพราะยังมีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่เป็นความเสี่ยงที่สามารถทำให้หนี้ครัวเรือนสะสมเพิ่มมากขึ้นไปอีก
ดังข่าวที่มีการคาดการณ์ว่าในปี 2559 นี้ ภาครัฐจะมีการหนุนการลงทุนที่อาจจะทำให้การส่งออกมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นเล็กน้อย อาจจะขยายที่ 2-3% เพราะเมื่อภาครัฐมีการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ภาคเอกชนก็จะมีการลงทุนร่วมไปด้วย ก็จะทำให้การลงทุนภายในประเทศกลับมามีค่าบวกมากขึ้น แต่ที่ยังน่าเป็นห่วงคือเรื่องของพืชผลทางการเกษตรที่อาจจะยังคงตกต่ำ เพราะด้วยคู่แข่งคือประเทศเวียดนามที่มีการส่งออกที่ดีกว่าและปัญหาภัยแล้ง ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ทางการเกษตรหดตัวลงไปอีก จึงทำให้การบริโภคในปี 2559 ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อรัฐบาลอย่างมากและปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อาจจะสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ของจีดีพี ซึ่งก็สอดคล้องกับข่าวทางเศรษฐกิจเมื่อปลายปี 2558 ที่ยังคงมีปัญหาเรื่องของภาคการส่งออกโดยเฉพาะในผลผลิตทางการเกษตรที่เกิดปัญหาทั้งเรื่องของภัยแล้ง และเรื่องของคู่แข่งการส่งออกที่มีค่าการส่งออกที่ดีกว่า จนเป็นปัญหาของเรื่องหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นมาอีกเล็กน้อย
ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอาจจะมีการขยับตัวไปในแนวทางที่ดีขึ้นเล็กน้อยก็จริง แต่ในภาคของครัวเรือนกลับยังต้องจับตามองอย่างมาก เพราะถ้าทางรัฐยังไม่มีการสนับสนุน พร้อมทั้งการรณรงค์ให้ผู้คนภายในประเทศหันมาสนใจการออมหรือการจัดการเงินที่อยู่ในมือได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คงจะเป็นการยากที่จะทำให้หนี้สินครัวเรือนลดลงได้ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาอาจจะต้องเริ่มทั้งต้นเหตุและปลายเหตุซึ่งภาครัฐและเอกชนก็ต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ความรู้ด้านการจัดการเงินแก่ประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริมหรือจัดกิจกรรมให้ความเชื่อมั่นแก่ประชาชนเพื่อเป็นการเสริมความมั่นใจและการใช้จ่ายที่ดีขึ้นของคนในประเทศอีกด้วย