การประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจที่ค่อนข้างผันแปรแบบนี้ จำเป็นที่เจ้าของธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กต้องมีการปรับตัวและใช้แผนกลยุทธ์ที่ดีในการประกอบธุรกิจ เพราะหากเพลี่ยงพล้ำ ก็หมายถึงธุรกิจนั้นอาจต้องล้มไปได้ จึงจำเป็นต้องมีตัวช่วยที่ดีและหนึ่งในตัวช่วยนั้นก็คือ การศึกษากลยุทธ์ตามผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจมาแล้วมากมายด้วยตำราพิชัยสงคราม
ตำราพิชัยสงครามถูกเขียนขึ้น เมื่อประมาณ 482 ปี ก่อน ค.ศ. โดย “ซุนวู” นักปรัชญาชาวจีนอาวุโสท่านหนึ่งเป็นผู้เขียน ซึ่งภายในตำราจะมีหลักทฤษฏีด้านการทหารที่ดีมากจนผู้นำทั่วโลกให้ยอมรับ ทั้ง นโปเลียน พระเจ้าไกเซอร์ เอร์วิน รอมเมล ซึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นผู้นำส่วนใหญ่จะต้องอ่านตำรานี้ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำของไทย เช่น ท่านปรีดี พนมยงค์ เป็นต้น แลไม่เพียงแต่ประโยชน์ในเรื่องการรบแต่เพียงเท่านั้น “ตำราพิชัยสงคราม” ยังสามารถนำหลักการในการรบมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาองค์กรธุรกิจและการจัดการของธุรกิจได้อีกด้วย
ซึ่งบุคคลชั้นนำของโลกด้านธุรกิจก็เคยนำหลักทฤษฏีของตำรานี้ มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของเขา เช่น สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้ง Apple หรือ บิล เกตส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทMicrosoft รวมถึงนักธุรกิจทั่วโลกที่ประสบความสำเร็จ ล้วนแล้วแต่ศึกษาตำราพิชัยสงครามกันทั้งสิ้น และได้นำหลักทฤษฏีมาใช้โดยในตำราจะมีใจความหลักที่เกี่ยวด้านธุรกิจ คือ สนามธุรกิจก็เหมือนกับสนามรบ ในการดำเนินธุรกิจจะเหมือนการมุ่งหน้าเข้าสู่สนามรบ สินค้าที่นำมาสู้กันในตลาดก็เหมือนกับการสู้รบของข้าศึก ไม่ได้ มีความแตกต่างกันเลย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจนั้นกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตหรือกำลังไม่กระเตื้อง ก็สามารถนำหลักการในตำรานี้มาปรับใช้กับธุรกิจหรือองค์กรได้ เพื่อเป็น การจุดประกายความคิดและสร้างความสำเร็จให้ธุรกิจ ด้วย หลักทฤษฎี 5 ข้อ ดังนี้
-
รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง
ในข้อนี้จะหมายถึง ผู้ที่ทำการจู่โจมก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบและหากไม่จำเป็นจริง ๆ อย่าให้ศัตรูได้เป็นฝ่ายโจมตีก่อนเด็ดขาด และสำคัญที่สุดแม่ทัพต้องรู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเองและของศัตรูด้วย สำหรับในเชิงธุรกิจ ก่อนทำธุรกิจจำเป็นต้องรู้จักตลาดก่อนว่าผู้ซื้อนั้นต้องการสินค้าอะไร และกลุ่มเป้าหมายหลักคือใคร เป็นคนประเภทไหน แล้วนำคำตอบ มาใช้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับธุรกิจ
-
ทำเลที่ดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง
ในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบการควรคำนึงถึงสถานที่ตั้งธุรกิจเสมอ เช่น หากต้องการประกอบธุรกิจประเภทอาหารหรือมินิมาร์ทก็สมควรมองว่าแถวย่านนั้นมีคนพลุกพล่านมากน้อยเพียงใด หากสถานที่นั้นมีคนเดินผ่านนาน ๆ คนก็ไม่สามารถเปิดได้ ควรไปมองหาสถานที่ใหม่ เป็นต้น
-
สภาพดินฟ้า อากาศ
ในการทำธุรกิจ นอกจากต้องดูสถานที่ให้ดีแล้วยังต้องดูที่สภาพลมฟ้า อากาศในช่วงนั้นด้วย เนื่องจากกิจการค้าขายทั่ว ๆ ไป มักโดนผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนหรือไม่เอื้ออำนวย เช่น ฝนตก อาจทำให้ธุรกิจร้านอาหารที่เป็นที่โล่งแจ้งต้องเปียกปอนไม่สามารถขายได้หรือในฤดูแล้งเกษตรกรไม่สามารถทำการเกษตรได้ ผู้ประกอบธุรกิจร้านเคมีเกษตรก็อาจซบเซาหรือขายไม่ได้เอาเสียเลย
-
รวยได้โดยไม่ต้องขาย
ซุนวู ได้กล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า “การชนะโดยที่ไม่ต้องรบเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำสงคราม” ถ้าสามารถชักจูงจิตใจของศัตรูให้ยอมแพ้ โดยไม่ต้องมีการรบและต้องไม่ทำร้ายเมื่อฝ่ายตรงข้ามยอมแพ้ เป็นวิธีการที่ประเสริฐยิ่งของแม่ทัพ ในการประกอบธุรกิจก็เหมือนกัน
หากสินค้ามีคุณภาพ การันตีได้จากบุคคลทั่วไปและจากบุคคลมีชื่อเสียง แต่ไม่เคยมีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าเลย ไม่นานธุรกิจก็จะล้มเหมือนโดมิโน่แต่งบการโฆษณามักจะมีค่าใช้จ่ายสูง ในปัจจุบันการทำโฆษณาออนไลน์ จึงนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับธุรกิจ เพราะมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกันแทบทุกคน การทำโฆษณาผ่านการตลาดออนไลน์จึงเป็นทางออกที่ดี เพราะสินค้าจะเข้าถึงผู้ใช้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย หรือบุคคลทั่วไปได้และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมาก หากเป็นการรบก็เหมือนกับการเสียทหารน้อยที่สุดนั่นเอง
-
ความเร็วคือความได้เปรียบ
ในตอนหนึ่ง ซุนวู เขียนไว้ว่า “ในการรบจะปล่อยให้อยู่ยืดเยื้อไม่ได้ เพราะจะเป็นเรื่องของความเป็นความตายของชาติ หากปล่อยให้การรบยืดยื้อ ก็จะสร้างแต่ความเสียหายและความย่อยยับให้ตามมา สู่ประชาชน” สำหรับในเชิงธุรกิจหากขายสินค้าชนิดหนึ่งและสินค้านั้นได้รับความนิยมดีและควรขยายฐานลูกค้า แต่คุณเกิดความประมาทไม่รีบทำการตลาดเพิ่ม จนทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นเข้ามาชิงขายสินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันและทำการตลาดที่ดีกว่าตัดหน้า สุดท้ายธุรกิจเขาก็ประสบความสำเร็จ ก็เป็นเพราะเราปล่อยให้ความสำเร็จหลุดมือไปอย่างง่ายดาย เพราะไม่เร่งรีบเมื่อมีโอกาสจนทำให้กิจการไม่ไปไหนหรือย่ำแย่ได้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่าการนำ กลยุทธ์ตำราพิชัยสงคราม มาใช้ในธุรกิจ จะทำให้เราสามารถมองธุรกิจได้อย่างทะลุปรุโปร่งและมีการเตรียมการที่ดี ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการประสบความสำเร็จทางธุรกิจก็จะ มีมากด้วยเช่นกัน ดังนั้น ก่อนทำธุรกิจใด ๆ อย่าลืมนำหลักการนี้มาใช้เพื่อความได้เปรียบของธุรกิจคุณ