เชื่อได้เลยว่าคนเราทุกคนล้วนต้องการประสบความสำเร็จชีวิตด้วยกันทั้งนั้น เนื่องจากความสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องการ ซึ่งในแต่ละคนจะไม่เหมือนกันบางคนก็ประสบความสำเร็จอย่างสูง บางคนก็ประสบความสำเร็จเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือหลายๆคนก็ไม่เคยแม้แต่เข้าใกล้กับคำว่าประสบความสำเร็จเลย
คนเราจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไหน ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่กับปรัชญาที่แต่ละคนยึดถือเป็นหลัก กล่าวคือปรัชญาเปรียบเสมือนปลายทาง หรือจุดหมายที่เราจะเดินไปนั่นเองค่ะ หาไม่มีปรัชญาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจะรู้ได้เราก็ไม่ทราบและไร้กำลัง อีกทั้งมองไม่เห็นถึงเส้นทางและวิธีการเดินเพื่อไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ วันนี้ทางเราได้รวบรวมเป้าหมายที่เชื่อได้เลยว่าหลายๆคนต้องการมาฝากกันนะคะ บอกได้เลยว่าไม่ว่าใครต่างต้องการที่จะพบเจอกับสิ่งเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น นั่นคือ
- ความร่ำรวยไปด้วยเงินทรัพย์สินเงินทอง คนส่วนมากถือว่าความร่ำรวยเป็นความสำเร็จในชีวิตประการหนึ่ง และแน่นอนว่าการร่ำรวยที่จัดได้ว่าประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ได้มาจากการพึ่งพาโชคชะตา เราต้องหาและไขว่คว้ามันมา
- อำนาจ สำหรับการมีอำนาจนั้น มีพื้นฐานหลายอย่าง อาจจะมาจากความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงานที่สูงๆ ไม่ว่าจะในทางการเมือง ในราชการ หรือในองค์กรต่างๆ
- ความมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและยอมรับ ซึ่งอาจเกิดจากการกระทำความดี เป็นเลิศ และมีความงามเป็นเลิศ
- ความสุข ในที่นี้ หมายถึงความสุขทางใจ เพราะความสุขทางกาย แสวงหาได้จากความร่ำรวย ส่วนความสุขทางใจนั้นอาจเกิดจากความพอใจ เกิดจากความสงบ หรือการทำงานที่ตนพอใจ
- ความรู้ หรือการค้นพบสิ่งแปลกใหม่ เช่น การศึกษาถึงขั้นสูงสุด การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ หรือการสร้างระบบปรัชญา เป็นต้น
การตั้งจุดหมายนั้น จะต้องตั้งถึงจุดหมายสูงสุด และตั้งจุดหมายรองเป็นขั้น ๆ ลงมาตามลำดับ เพราะถ้าตั้งจุดหมายไว้ต่ำเกินไป เมื่อบรรลุถึงจุดหมายนั้นแล้ว ก็จะเป็นอันสิ้นสุด หรือมิฉะนั้น ก็ต้องตั้งจุดหมายใหม่ ซึ่งอาจจะเบี่ยงเบนออกไปจากจุดหมายเดิมก็ได้ ถ้าตั้งจุดหมายสูงสุดไว้เพียงอย่างเดียว เมื่อทำไม่สำเร็จตามจุดหมายนั้น ก็จะประสบความล้มเหลว ในทางปรัชญา ถือว่าการตั้งจุดหมายสูงสุดในสิ่งที่จะเป็นไปได้ และในขณะเดียวกันก็ต้องตั้งจุดหมายรองลงมาด้วย แม้จะทำได้ไม่ถึงจุดหมายสูงสุด ก็จะต้องถึงจุดหมายรองอันใดอันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าปฏิบัติตามหลักปรัชญาแล้ว จะไม่ประสบความผิดหวัง หรือความล้มเหลวเลย มีแต่จะประสบความสำเร็จเป็นขั้น ๆ เท่านั้น
ผู้ต้องการความสำเร็จ จะต้องจุดหมายสูงสุดในทางใดก็ย่อมมีเสรีภาพที่จะตั้งได้ และต้องตั้งด้วยตัวของตัวเอง ไม่ใช่ให้คนอื่นตั้งให้ แต่ในการตั้งจุดหมายนั้น ต้องคำนึงถึงหลักการดังจะกล่าวต่อไปนี้
- เลือกจุดหมายแห่งความสำเร็จที่ตนเองพอใจ มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะบรรลุถึงจุดหมายนั้น และใช้เหตุผลควบคุมความพอใจ และความปรารถนานั้นอย่างรอบคอบ กล่าวโดยสรุป ก็คือการใช้พลังจิตทั้งหมดตั้งอุดมการณ์ของตนเอง และยึดมั่นในอุดมการณ์ของตนเอง และยึดมั่นในอุดมการณ์นั้นไม่เสื่อมคลาย
- รู้จักตนเอง ทั้งในด้านกายภาพ และในด้านจิตภาพ การรู้จักตนเองในด้านกายภาพคือการรู้จักความสามารถทางกาย เช่น รูปร่าง ท่าทาง เสียง สุขภาพ เป็นต้น การรู้จักตนเองในด้านจิตภาพ คือการรู้จักความสามารถของตนในทางจิต อันได้แก่สติปัญญา ความถนัด ความสน และความเข้มแข็งในทางจิต
- การรู้จักกาละ เทศะ และสังคม ความสำเร็จอย่างนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะและสังคม จึงต้องรู้จักสภาพการเหล่านี้ให้ละเอียดถี่ถ้วน
- การรู้จักวิธีการที่จะให้บรรลุถึงจุดหมาย และสามารถใช้วิธีการนั้นได้เป็นอย่างดี กล่าวโดยสรุป หลักการในการตั้งจุดหมายตามหลักพุทธปรัชญา ได้แก่ สัปปุริสธรรม ประการ คือ การรู้จักเหตุ การรู้จักผล การรู้จักตน การรู้จักประมาณ การรู้จักกาล การรู้จักชุมชน และ การรู้จักบุคคล
ส่วนวิธีการที่จะให้บรรลุถึงความสำเร็จมีดังต่อไปนี้
- มุ่งมั่นและตั้งใจทำในสิ่งที่วางแผนไว้ให้ประสบความสำเร็จ
- เตรียมความพร้อมด้านร่างกาย เพื่อที่จะได้เต็มที่กับการทำงาน
- รู้จักสังเกต และเป็นเลือกเอาตัวอย่างที่ดีมาประยุกต์ใช้
- อย่าคิดว่าตนเองเก่ง ให้หมั่นทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา
- วางตัว และใส่ใจเรื่องบุคลิกภาพให้เหมาะสม
- ขยันหมั่นเพียร ทำงานอย่างมีสติ รอบคอบ ไม่ประมาท
- ฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ และที่สำคัญอย่าย่อท้อต่อความยากลำบากเสียก่อนล่ะ
- หมั่นหากลยุทธใหม่ๆ เพื่อความก้าวหน้า
- ฝึกจิตให้เข้มแข็ง ให้เป็นสมาธิ จนรวมพลังจิตสูง และมีความเฉียบแหลมแห่งความคิด
กล่าวโดยสรุป วิธีการเพื่อบรรลุความสำเร็จตามพุทธปรัชญาคือ อิทธิบาท 4 ได้แก่
- ฉันทะ พอใจในสิ่งที่ตนเองมี และจงค่อยๆขยับขยาย อย่าไปอิจฉา หรือโลภมากจนเกินไป
- วิริยะ ความขยัน และตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด
- จิตตะ อย่าละเลยงาน ตั้งใจและเอาใจใส่อย่างเต็มที่ อย่าคิดว่าทำเพื่อเงิน จงสนุกและมีความสุขไปกับงาน
- วิมังสา ใช้ความคิดและตั้งมั่นในสติเพื่อที่จะทำงานได้ดีขึ้น