ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ttb 2568 ทำยังไง เตรียมตัวยังไงให้ผ่านง่าย
ในปี 2568 หลายคนยังคงได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนทั้งในและต่่างประเทศ ทำให้ภาระหนี้โดยเฉพาะ จากสินเชื่อรถยนต์ ที่กลายเป็นภาระหนัก การขอปรับโครงสร้างหนี้จึงเป็นทางเลือกที่หลายคนกำลังมองหา เพื่อให้สามารถผ่อนต่อได้ไหว ไม่เสียประวัติ และไม่เสี่ยงโดนยึดรถ บทความนี้จะพาไปกันว่า ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ttb 2568 ทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง และควรเตรียมตัวยังไงให้มีโอกาสอนุมัติสูงที่สุด
การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
เป็นการเจรจากับทางธนาคารเจ้าหนี้ เพื่อเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการผ่อนชำระใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถผ่อนต่อได้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ผิดนัด เช่น
- ลดค่างวดรายเดือน
- ยืดระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้น
- พักชำระหนี้บางงวด
- ปรับลดอัตราดอกเบี้ยชั่วคราว
ปรับโครงสร้างหนี้กับ ttb
ธนาคารธนชาติ มีบริการสินเชื่อรถยนต์ รวมถึงการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ซึ่งหากว่าผ่อนอยู่แต่เริ่มมีปัญหาด้านการเงิน อาจมีการค้างค่างวด หรือจ่ายล่าช้า แต่ยังอยากรักษาประวัติเครดิต ไม่อยากถูกยึดรถ ก็สามารถติดต่อธนาคารสาขาใกล้บ้านได้ พร้อมแสดงความตั้งใจ และหลักฐานความสามารถในการผ่อนใหม่
เอกสารที่ใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ttb
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนรถ (ถ้ามี)
- เอกสารรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน/รายการเดินบัญชี
- เอกสารแสดงภาระหนี้อื่น ๆ (ถ้ามี)
- เอกสารแสดงเหตุผลที่ขอปรับโครงสร้าง เช่น หนังสือลดเงินเดือน, ใบลาออก ฯลฯ
ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ มีกี่แบบ?
การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละแบบมีเป้าหมายหลักคือช่วยให้ลูกหนี้สามารถผ่อนต่อได้โดยไม่ผิดนัด และไม่เสียเครดิต โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบหลัก ดังนี้
1.ยืดระยะเวลาผ่อน (Extend Term)
- เป็นการขยายระยะเวลาผ่อนให้นานขึ้น เช่น จากเดิมเหลือ 24 เดือน อาจขยายเป็น 36 หรือ 48 เดือน เพื่อให้ค่างวดรายเดือนลดลง ทำให้ผ่อนสบายขึ้น
- เหมาะกับผู้ที่ยังมีรายได้สม่ำเสมอแต่รายจ่ายเยอะ อยากลดภาระรายเดือน
2.พักชำระหนี้ชั่วคราว (Payment Holiday)
- คือการขอ พักผ่อน แบบไม่ต้องจ่ายบางงวด เช่น พัก 2-3 เดือนแรก หรือพักเฉพาะเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย
- เหมาะกับผู้ที่ตกงาน ถูกลดเงินเดือน หรือมีเหตุฉุกเฉินชั่วคราว
3.ปรับลดอัตราดอกเบี้ย
- ธนาคารอาจพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงจากเดิม เพื่อช่วยให้ยอดผ่อนรวมตลอดสัญญาน้อยลง ผ่อนหมดไวขึ้น
- เหมาะกับลูกหนี้ที่มีประวัติผ่อนชำระดีมาตลอด แต่เริ่มมีปัญหาเรื่องรายได้
4.รวมยอดค้างชำระเข้าเป็นยอดใหม่
- สำหรับผู้ที่มีค้างชำระหลายงวด ttb อาจรวมยอดค้างเหล่านั้นเข้าไปในยอดหนี้ใหม่ และเริ่มต้นตารางการผ่อนใหม่ โดยอาจมีการรีเซ็ตสัญญา
- เหมาะกับผู้ที่เริ่มค้างชำระหลายงวด แต่อยากเริ่มต้นใหม่ไม่ให้เสียประวัติ
ข้อดีของการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์กับ ttb
- ไม่เสียเครดิตบูโร (ถ้าติดต่อก่อนผิดนัดชำระ)
- ลดภาระรายเดือน ทำให้ผ่อนต่อได้
- มีโอกาสยืดระยะเวลาออกไปอีกหลายเดือน
- ไม่ต้องขายรถหรือโดนยึด
- มีเจ้าหน้าที่ช่วยประเมินแนวทางเฉพาะราย
จุดที่ต้องพิจารณาของการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
- เสียเครดิตบูโรหากมีสถานะค้างชำระก่อนปรับ ซึ่งจะส่งผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคต เช่น กู้บ้าน กู้รถ หรือสมัครบัตรเครดิต
- ระยะเวลาผ่อนนานขึ้น = ดอกเบี้ยรวมมากขึ้น
- บางธนาคารไม่อนุมัติหากสถานะการเงินไม่ดี
- ค่าใช้จ่ายแฝง อย่างค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสาร หรือค่าธรรมเนียมเล็กน้อยหากมีการรีเซ็ตสัญญา
- เป็นหนี้นานเกินไป ไม่หมดสักที อาจส่งผลให้รู้สึกท้อใจหากไม่ได้วางแผนการเงินให้ดี
ปรับโครงสร้างหนี้ต่างจากรีไฟแนนซ์ยังไง?
หัวข้อ | ปรับโครงสร้างหนี้ | รีไฟแนนซ์รถยนต์ |
ธนาคาร | ทำกับธนาคารเดิม | ย้ายไปธนาคารอื่นได้ |
วัตถุประสงค์ | ลดภาระเฉพาะหน้าชั่วคราว | หาดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนสบายขึ้น |
เหมาะกับใคร | คนที่เริ่มจ่ายไม่ไหว | คนที่ยังจ่ายไหว แต่อยากลดดอกเบี้ย |
มีประวัติค้างได้ไหม | ได้ (แต่ควรติดต่อก่อนโดนฟ้อง) | ถ้าค้างชำระอาจไม่ผ่าน |
ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์คือหนึ่งในทางรอดของผู้ขาดสภาพคล่อง และหากคุณเป็นลูกค้า ttb และเริ่มผ่อนรถไม่ไหว อย่ารอให้กลายเป็นหนี้เสียจนโดนยึดรถ ควรรีบติดต่อธนาคารเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารเห็นความตั้งใจ และเพิ่มโอกาสที่จะได้รับทางเลือกที่เหมาะสมในการแก้ปัญหานี้