ตราสารหนี้ คืออะไร ลงทุนแล้วดียังไง? แนะนำข้อควรรู้ก่อนลงทุน
รู้หรือไม่? การลงทุนด้วย ตราสารหนี้ เป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากมอบผลตอบแทนดี ความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนได้ในระยะยาว โดยไม่ต้องกังวลเรื่องความผันผวนของตลาดหุ้น จึงถือได้ว่าเป็นการลงทุนที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่ง หากใครหากใครสงสัยว่า ตราสารหนี้ คืออะไร ลงทุนแล้วดียังไง ปลอดภัยไหม บทความนี้จะมาแนะนำให้คุณรู้จักตราสารหนี้ พร้อมคำแนะนำสำหรับการลงทุนตราสารหนี้ ให้ทุกคนรับรู้กัน
ตราสารหนี้ (ฺBond) คืออะไร?
ตราสารหนี้ (Bond) เป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง โดยจะมีการทำสัญญาระหว่างผู้ออกตรา (ลูกหนี้) และผู้ถือตราสาร (เจ้าหนี้) ซึ่งมีเงื่อนไขระบุในสัญญาว่าผู้ออกตราจะต้องจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือตรา ตามที่สัญญากำหนด โดยอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจะขึ้นอยู่ผู้ออกตรา นอกจากนี้ การลงทุนด้วยตราสารหนี้ ยังจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่อยากลงทุนระยะยาว หากใครสนใจการลงทุนประเภทนี้ ทำความรู้จักกับประเภทตราสารหนี้ได้เลย
ตราสารหนี้มีกี่ประเภท
ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนตราสารหนี้ เราควรทำความรู้จักกับตราสารหนี้แต่ละประเภทก่อน โดยการลงทุนด้วยตราสารหนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond) และ ตราสารหนี้เอกชน (Corporate Bond)
ตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond)
- พันธบัตรรัฐบาล เป็นตราสารหนี้แบบระยะยาว โดยถูกกำหนดขึ้นจากกระทรวงการคลัง เพื่อนำมาใช้ในด้านการพัฒนาสังคม ปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะ เป็นต้น
- พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เป็นตราสารหนี้ที่ออกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก เพื่อนำมาลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคในด้านต่างๆ
- พันธบัตรออมทรัพย์ เป็นตราสารหนี้ที่เหมาะกับนักลงทุนทั่วไป ออกโดยกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเป็นทางเลือกในการออมและการลงทุน
- พันธบัตรออมทรัพย์พิเศษรุ่น เป็นตราสารหนี้รุ่นพิเศษ เช่น ตราสารหนี้ ก้าวไปด้วยกัน และ ตราสารหนี้ เราไม่ทิ้งกัน เป็นต้น
- พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตราสารหนี้ที่ออกโดย ธปท. เพื่อนำเงินไปใช้ดูแลสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- ตั๋วเงินคลัง เป็นตราสารหนี้ระยะสั้นที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี ออกโดยกระทรวงการคลัง
ตราสารหนี้เอกชน (Corporate Bond)
ตราสารหนี้ประเภทนี้ เป็นตราสารหนี้ที่ถูกออกโดยบริษัทเอกชน จุดประสงค์เพื่อใช้ในการสนับสนุนด้านการขายกิจการ โดยระยะเวลาจะกำหนด 3 ปี 5 ปี 7 ปี 10 ปี 20 ปี เป็นต้น ซึ่งถ้าใครเลือกลงทุนด้วยตราสารหนี้แบบไม่กำหนดระยะเวลา จะเรียกว่า หุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond)
การลงทุนตราสารหนี้ ปลอดภัยไหม
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ท่านไหน ที่สงสัยว่าการลงทุนด้วยตราสารหนี้ มีความปลอดภัยมากกว่าการลงทุนแบบอื่นไหม? บอกเลยว่าตราสารหนี้เป็นจุดเด่น ตรงที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนแบบอื่น แต่มอบผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถลงทุนได้ในระยะยาว จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่อยากสูญเสียเงินลงทุนเป็นจำนวนมาก และรอผลตอบแทนได้
แนะนำเคล็ดลับการลงทุน ตราสารหนี้ สำหรับมือใหม่
-
ศึกษาข้อมูลตราสารหนี้ให้ละเอียด
ถึงแม้ว่าการลงทุนตราสารหนี้ จะให้ความเสี่ยงต่ำ แต่การลงทุนทุกประเภท ย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ดังนั้น ก่อนที่เราจะลงทุนทุกครั้ง เราจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทผู้เปิดลงทุน และเงื่อนไขของสัญญาในการลงทุนด้วย เนื่องจากจะมีการกำหนดเงื่อนไขและดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน
-
กำหนดเป้าหมายและผลตอบแทน
ก่อนลงทุน เราควรกำหนดงบประมาณในการลงทุน รวมถึงกำหนดเป้าหมายและผลตอบแทน ว่าอยากได้ผลตอบแทนเท่าไหร่? ในช่วงระยะเวลาที่มีการลงทุน เช่น หากคุณต้องการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ สามารถลงทุนได้ในระยะยาว การลงทุนด้วยตราสารหนี้เป็นคำตอบ แต่ถ้าต้องการลงทุนระยะสั้น สามารถรับมือกับความเสี่ยงสูงได้ การลงทุนหุ้นอาจจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์มากกว่า
-
วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของตราสารหนี้
นอกจากจะศึกษาสัญญาและกำหนดเป้าหมายในการลงทุนแล้ว เรายังควรวิเคราะห์ข้อมูลตราสารหนี้ต่าง ๆ เพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นราคา ผลตอบแทนจากบริษัท ความเสี่ยงในการลงทุน แนวโน้มของตลาด อันดับเรต (Credit Rating) อัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
-
นึกถึงความเสี่ยงและความผันผวนของตลาด
การลงทุนมีความเสี่ยง ถึงแม้ว่าการลงทุนด้วยตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงต่ำและให้ผลตอบแทนค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แต่ก็มีปัจจัยที่อาจส่งผลต่อตราสารหนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ บริษัทที่เปิดลงทุนเกิดปัญหาทางการเงิน แนวโน้มของนักลงทุน และปัจจัยอื่น ๆ เป็นต้น
สรุปแล้ว การลงทุนตราสารหนี้ เป็นประเภทการลงทุนที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ ที่ไม่ต้องการลงทุนด้วยความเสี่ยงสูง สำหรับใครที่สนใจอยากลงทุนด้วยตราสารหนี้ ก่อนลงทุนทุกครั้ง เราจึงควรศึกษาเงื่อนไขและขั้นตอนการลงทุนให้ละเอียด เพื่อช่วยลดโอกาสในการสูญเสียเงินต้นได้