ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ทำยังไงได้บ้าง?
เริ่มผ่อนรถไม่ไหว ทำไงดี? สำหรับใครที่เผชิญกับปัญหาผ่อนค่างวดรถไม่ไหว เริ่มจ่ายหนี้ไม่ตรงงวด จนทำให้สภาพคล่องทางการเงินเริ่มติดขัด กว่าจะรู้ตัวอีกที รถยนต์คันโปรดก็ถูกยึดเพราะผ่อนจ่ายไม่ไหวอีกต่อไป แต่อย่าปล่อยเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นกับตัวคุณ! ยังมีวิธีช่วยแก้ปัญหาอย่าง การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ เพื่อให้คุณสามารถผ่อนรถได้หมดทุกงวด บทความนี้จะช่วยอธิบายว่า ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร ทำยังไงได้บ้าง? เพื่อช่วยให้คุณสามารถจัดการปัญหาและผ่อนงวดรถได้สบายขึ้น โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกยึดรถอีกต่อไป
ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คืออะไร?
การปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ คือการที่เจ้าของรถยนต์ต้องการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการผ่อนชำระสินเชื่อรถยนต์ หรือธนาคารที่เราสมัครขอสินเชื่อไว้ เพื่อทำการขอลดภาะการผ่อนชำระ รวมถึงยืดระยะเวลาในการผ่อนรถยนต์ให้นานขึ้น เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาทางการเงินขึ้น ผ่อนรถไม่ไหว แต่ไม่ต้องการขายดาวน์รถ หรือปล่อยให้รถยนต์ถูกยึดภายในระยะเวลาที่กำหนด
รู้ไหม? การปรับโครงสร้างหนี้มีกี่วิธี
หลังจากที่เรารู้จักกับความหมายของการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์แล้ว ทีนี้เราลองมาดูวิธีการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์กันบ้าง เพื่อให้คุณสามารถทำความเข้าใจและศึกษาความแตกต่างของการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์แต่ละแบบ โดบการปรับโครงสร้างหนี้มีทั้งหมด 6 ประเภทหลัก ๆ อันได้แก่
- ยืดระยะเวลาผ่อนชำระ: วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไป เพื่อให้ค่างวดต่อเดือนลดลง แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ยรวมทั้งหมดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น สัญญากู้รถฉบับเดิม มีระยะเวลากู้ได้ 10 ปี ค่างวดรถอยู่ที่ 20,000 บาท / เดือน เหลือเวลาอีก 4 ปีก็จะผ่อนรถหมด แต่เมื่อผู้กู้ผ่อนจ่ายไม่ไหว จะทำการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระจาก 4 ปี เป็น 8 ปี เพื่อให้ค่างวดรถจาก 20,000 บาท / เดือน ลดลงจากเดิม
- ลดอัตราดอกเบี้ย: ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ช่วยลดภาระดอกเบี้ยจากเงินต้น ทำให้เรามีเงินไปหมุนและจ่ายหนี้ได้หมดไวมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถยื่นขอการลดอัตราดอกเบี้ยได้ โดยเจ้าหนี้จะทำการประเมินคุณสมบัติในการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเลือกจากการมีประวัติการชำระหนี้ที่ดี อายุของลูกหนี้ ความสามารถในการชำระเงินจากรายได้ เป็นต้น
- รีไฟแนนซ์รถยนต์: สินเชื่อรถยนต์ หรือการรีไฟแนนซ์ (refinance) เป็นการกู้เงินก้อนจากสินเชื่อใหม่มาโปะสินเชื่อเดิม เพื่อลดดอกเบี้ยและทำให้ค่างวดรถถูกลงกว่าเดิม โดยสินเชื่อรถยนต์หลายแห่ง มักมอบข้อเสนอที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการมอบอัตราดอกเบี้ยถูกลง วงเงินสูง อนุมัติไว เป็นต้น ทั้งนี้ อาจมีค่าธรรมเนียมแฝงในการสมัครสินเชื่อด้วย
- ปิดหนี้ด้วยเงินก้อน : วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีทรัพย์สินส่วนตัวที่สามารถนำมาขาย หรือจำนอง เพื่อหาเงินก้อนมาโปะหนี้ได้ เช่นบ้าน ทอง คอนโดมิเนียม เป็นต้น
- พักชำระเงินต้น : เหมาะสำหรับคนที่มีรายได้ลดลงกระทันหัน แต่สามารถจ่ายเงินหลังจากหลายเดือนผ่านไปได้ โดยธนาคารจะให้ลูกหนี้ผ่อนจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และพักชำระเงินต้นก่อน
- เปลี่ยนประเภทสินเชื่อ : เช่น สินเชื่อเดิมให้เราผ่อนจ่าย 10 ปี ด้วยดอกเบี้ย 6% เราสามารถเปลี่ยนเป็นสินเชื่อรถยนต์ 15 ปี ดอกเบี้ยลดลงเหลือ 3% (ขึ้นอยู่กับนโยบายธนาคาร)
ปรับโครงสร้างหนี้ค้างค่างวดได้ไหม
เงื่อนไขในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ของแต่ละธนาคาร มักจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายของสินเชื่อรถยนต์เจ้านั้น ๆ ซึ่งถ้าหากเราต้องการค้างค่างวดรถ อาจจะต้องติดต่อหรือขอคำแนะนำจากธนาคารก่อน โดยธนาคารจะดำเนินการอนุมัติให้ค่างวดรถได้ แต่มีเบี้ยปรับในการจ่ายช้า หรืออาจส่งผลต่อประวัติการชำระเงิน ในกรณีที่ธนาคารไม่อนุมัติให้ค้างค่างวดด
แล้วการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ได้เงินคืนไหม? โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะไม่ได้เงินคืน แต่สินเชื่อรถยนต์หรือธนาคารบางแห่ง อาจมีเงื่อนไขในการพักชำระเงินต้น โดยให้ลูกหนี้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยแทน หรือถ้าสมัครสินเชื่อรถยนต์รีไฟแนนซ์ใหม่ ก็อาจจะได้ส่วนลดในการผ่อนชำระรถยนต์
ปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ต้องใช้อะไรบ้าง?
สำหรับใครที่สนใจอยากปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ เพื่อลดภาระในการผ่อนหนี้รถแต่ละเดือน หรือยืดระยะเวลาการผ่อนรถให้นานมากขึ้น เรามีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเอกสารที่ต้องใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ และขั้นตอนในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ สำหรับคนที่กำลังผ่อนรถอยู่ โดยมีข้อมูลดังนี้
เอกสารที่ต้องใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สลิปเงินเดือน
- หนังสือรับรองการทำงาน
- สัญญาเงินกู้
- เอกสารแสดงรายได้ รายจ่าย และภาระหนี้
ขั้นตอนในการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์
- ติดต่อธนาคารหรือไฟแนนซ์: แจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมแสดงหลักฐานแสดงรายได้ รายจ่าย และภาระหนี้
- เตรียมเอกสาร: สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองการทำงาน สัญญาเงินกู้ และเอกสารอื่น ๆ ตามที่ธนาคารหรือไฟแนนซ์
- ยื่นขอปรับโครงสร้างหนี้: ธนาคารหรือไฟแนนซ์จะพิจารณาอนุมัติ โดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ประวัติการชำระหนี้ และนโยบายของธนาคาร
- วางแผนจัดการเงิน : ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญมาก อย่าลืมวางแผนและจัดการบริหารการเงิน เพื่อไม่ให้ปัญหาการผ่อนชำระค่างวดไม่ไหวนั้นเกิดขึ้นอีก เริ่มต้นได้ด้วยการทำรายรับ-รายจ่าย หรือหารายได้เสริม เพื่อนำเงินก้อนนั้นมาช่วยปิดหนี้รถยนต์ได้ไวมากยิ่งขึ้น
สรุปแล้ว เราจะเห็นได้ว่าการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ผ่อนค่างวดรถไม่ไหว แต่ก่อนที่เราจะดำเนินการขอปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ เราควรศึกษาข้อมูล เงื่อนไขและผลที่ตามมาอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยง และวางแผนการผ่อนรถยนต์ได้ถูกต้อง