สินเชื่อเงินสด หลักประกัน มีอะไรบ้าง แบบไหนเหมาะกับใคร?
เชื่อว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ และจำเป็นของทุกคน สำหรับใครที่ขาดสภาพคล่อง วางแผนการเงินไม่ได้ ต้องการเงินด่วน หรือเงินก้อนพร้อมใช้ สินเชื่อถือเป็นตัวเลือกของหลาย ๆ คน โดยเฉพาะ สินเชื่อเงินสดแบบมีหลักประกัน ด้วยข้อดีที่วงเงินสูง และดอกเบี้ยต่ำกว่าแบบอื่น ในวันนี้เราจึงมาแนะนำให้ได้ทราบกันว่า สินเชื่อเงินสด หลักประกัน มีอะไรบ้าง? แต่ละแบบเหมาะกับใคร ไปดูกันเลย
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน คืออะไร?
สินเชื่อแบบมีหลักประกัน หรือแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นการที่ผู้ขอสินเชื่อนำหลักทรัพย์ที่ตัวเอง เป็นเจ้าของ และมีมูลค่าไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน โดยหากผู้ขอสินเชื่อ ไม่ชำระเงินคืนตามสัญญากู้ยืมเงินที่ทำกันไว้ ผู้ให้กู้ก็สามารถทำการยึดหลักทรัพย์ที่นำไปค้ำประกันได้ ทันทีตามชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับคนที่ต้องการขอสินเชื่อเงินสด แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบไม่มีหลักประกัน และมีหลักประกัน วันนี้เรากำลังจะพูดถึง สินเชื่อเงินสดแบบมีหลักประกัน หรือสินเชื่อที่มีสินทรัพย์มาค้ำประกันนั่นเอง ซึ่งความโดดเด่นของสินเชื่อประเภทนี้ ส่งผลต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น วงเงินสูง และได้รับ ดอกเบี้ยต่ำนั่นเอง
หลักทรัพย์ค้ำประกันที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง?
สำหรับสินเชื่อแบบมีหลักประกัน หรือสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ต้องการเงินก้อนใหญ่มาเสริมสภาพคล่องทางการเงิน แล้วหลักทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ ค้ำประกันสินเชื่อมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- ที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง
เช่น บ้าน คอนโด บ้านพร้อมที่ดิน ทาวเฮาส์ ตึกแถว อาคาร พาณิชย์ เป็นต้น โดยปกติการนำหลักทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยไปใช้ค้ำประกัน เราก็ยังสามารถพักอาศัย ได้เป็นปกติ เพียงผู้กู้ต้องทำการจดจำนองที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันสินเชื่อ และกำหนดระยะเวลาการ ผ่อนชำระหนี้ได้ยาวนาน และสูงสุดไม่เกิน 30 ปี
- รถยนต์ไม่ติดภาระผูกพัน
ต้องเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง และผ่อน ชำระหนี้หมด เรียบร้อยแล้ว อายุรถยนต์ใช้เป็นหลักประกันสูงสุด 15-17 ปี รวมระยะเวลาผ่อนแล้วอายุ ไม่เกิน 20 ปี คิดอัตราดอกเบี้ยแบบ Fate Rate สินเชื่อประเภทนำรถยนต์เป็นหลักประกัน เรียกสินเชื่อประเภทนี้ว่า สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังต่อไปนี้
1.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบโอนเล่มทะเบียน
- เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ ต้องโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ให้สินเชื่อเพื่อเป็นหลักประกัน
- วงเงินสินเชื่อ โดยประมาณ 80% –120% ของราคาประเมิน
- ระยะเวลาผ่อนชำระ โดยประมาณ 72–84 งวด
สรุป คือ วงเงิน และระยะเวลาการผ่อน มากกว่าแบบไม่โอนเล่ม
2.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบไม่โอนเล่มทะเบียน หรือโอนลอย
- เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ ไม่ต้องโอนทางทะเบียนให้แก่ผู้ให้สินเชื่อ แต่จะต้องลงนามล่วงหน้า ไว้ในเอกสารการโอน และมีผู้ค้ำประกัน
- วงเงินสินเชื่อ โดยประมาณ 70%–80% ของราคาประเมิน
- ระยะเวลาการผ่อน โดยประมาณ 60 งวด น้อยกว่าแบบโอนเล่ม
สรุป สินเชื่อรูปแบบนี้จะเน้นกลุ่มลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี และลดความเสี่ยงจากการที่ไม่มีการโอน ทะเบียน
- บัญชีเงินฝากค้ำประกัน
สำหรับสินเชื่อที่ใช้บัญชีเงินฝากค้ำประกัน คิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่นำมาค้ำ ประกันบวกด้วย 1-3% วงเงิน และระยะเวลาผ่อนชำระจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของสินเชื่อ และเงื่อนไขที่ แต่ละธนาคารกำหนดไว้ จะไม่สามารถใช้เงินฝากที่ใช้ค้ำประกันได้ แต่ส่วนดอกเบี้ยสามารถถอนได้
- บำเหน็จตกทอดค้ำประกัน
ใช้หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดโดยกรมบัญชีกลางมาเป็นหลักประกัน ในการขอสินเชื่อ ผู้ขอสินเชื่อ มีอายุไม่เกิน 60 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 30 ปี สำหรับผู้รับ บำเหน็จตกทอด เช่น ข้าราชการ บำนาญ ลูกจ้างประจำ รับบำนาญเมื่อเกษียณอายุ และไม่มีเงินเดือน
- บุคคลค้ำประกัน
สามารถใช้บุคคลค้ำประกันสินเชื่อได้ สินเชื่อที่นิยม เช่น สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ หลักเกณฑ์ที่ธนาคารจะพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อ จะพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของ ผู้ค้ำประกันประกอบร่วมด้วย
- ทรัพย์สินอื่น ๆ ค้ำประกัน
ทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่ามาค้ำประกัน เช่น เครื่องประดับ เครื่องจักร ที่มี มูลค่าสูง ถือเป็นทรัพย์สินที่นำมาค้ำประกันสินเชื่อได้ และรวมถึงหลักทรัพย์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เช่น หุ้นสามัญ ตราสารหนี้ เป็นต้น สามารถนำมาเป็นหลักทรัพย์ ใช้ในการค้ำประกันได้ เป็นต้น
เห็นแล้วใช่ไหมว่า การมีทรัพย์สินก็สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้ หากต้องการขอสินเชื่อเงินสดแบบมีหลักประกัน ก็ลองสำรวจตัวเองว่ามีสินทรัพย์ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามข้อไหนบ้าง ก็จะช่วยให้ได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น รับวงเงินอนุมัติก็สูงตาม และที่สำคัญรับอัตราดอกเบี้ยก็ถูกกว่า สินเชื่อแบบไม่มีหลักประกันอย่างแน่นอน