ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ คืออะไร ใครควรทำ ?
ปัจจุบัน หนึ่งในปัญหาการศึกษาไทยคือ หลายครอบครัวมีหนี้เยอะ มีรายได้ไม่เพียงพอในการส่งเสียลูกเรียนหนังสือ แต่ก็สามารถแบ่งเบาภาระทางนี้ได้ด้วยการกู้เรียนจากทาง กยศ. ที่หลังจากจบการศึกษาแล้วก็ต้องผ่อนชำระคืน เพื่อเป็นโอกาสให้เด็กรุ่นถัดไปนั่นเอง แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะสู้ดีของประเทศไทยช่วงปีหลัง ๆ หลายคนขาดความสามารถในการชำระหนี้ต่าง ๆ รวมถึง กยศ. ด้วยเช่นกัน ล่าสุดนี้ทางรัฐบาลจึงได้ออกมาตการช่วยเหลือผ่านการขอปรับโครงสร้างหนี้กยศ. ในวันนี้เราจึงจะพาทุกคนไปรู้จักกับ ปรับโครงสร้างหนี้กยศ. คืออะไร ใครควรทำ ต้องดำเนินการอย่างไร ไปดูกัน
กยศ. ปรับโครงสร้างหนี้ 67
กยศ. ย่อมาจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับการดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาในลักษณะต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
สำหรับกลุ่มนักเรียน นักศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระดับอาชีวศึกษา ระดับปริญญาตรี และเมื่อไม่นานมานี้ได้เพิ่มระดับปริญญาโทเข้ามาที่อยากเรียนต่อแต่ไม่มีทุนสนับสนุนค่าเล่าเรียน หรือค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อ
นโยบายล่าสุด ผู้กู้ที่ค้างสามารถปรับโครงสร้างหนี้ โดยจะเปิดให้ผู้กู้ไปยื่นเอกสารทำสัญญาตั้งแต่ 15 ก.พ.2567 เงื่อนไขของสัญญาฉบับใหม่คือจะให้มีการผ่อนชำระรายเดือนเท่ากันทุกเดือน เริ่มต้นที่ 270 บาท นอกจากนี้ยังขยายเวลาชำระนาน 15 ปี ที่สำคัญเมื่อชำระเงินเข้าไปแล้ว กยศ.จะนำเงินไปตัดเงินต้นก่อนดอกเบี้ย ส่วนคนที่ผิดนัดชำระมานานแล้วจะลดเบี้ยปรับให้ 100 % นอกจากนี้ผู้ค้ำจะถูกปลดภาระออกจากสัญญา รวมถึงผู้ค้ำที่กำลังถูกดำเนินคดีด้วย
วิธีการยื่นขอกู้ กยศ
ผู้กู้ยืมสามารถแจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ.Connect หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดยผู้กู้ยืมต้องตรวจสอบข้อมูลของตนเอง และผู้ค้ำประกัน และ Update ข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ e-mail ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ สถานที่ทำงาน โดยมีขั้นตอนการแจ้งความประสงค์เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
- ลงชื่อเข้าใช้งาน กรอกเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน
- เลือกเมนูขอปรับโครงสร้างหนี้ “ยื่นคำขอปรับโครงสร้างหนี้”
- เข้าสู่หน้ายืนยันข้อมูล ระบบจะให้ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏ
- พร้อมให้ระบุ “เบอร์โทรศัพท์มือถือ (เบอร์ปัจจุบันที่ติดต่อได้)
- พร้อมทำเครื่องหมายถูกหน้าช่อง “ข้าพเจ้ายืนยันข้อมูลฯ”
- จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
- หากสำเร็จระบบจะแสดงข้อความว่า “ระบบได้ส่งคำขอปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ท่านมีหน้าที่ตรวจสอบ และบันทึกข้อมูล
ช่องทางในการติดต่อสอบถามขอกู้ กยศ
- ผ่านเว็บไซต์ www.studentload.or.th
- ผ่านเบอร์มือถือ 02-016-4888
- ผ่านแอพลิเคชั่น กยศ. Connect ที่รองรับทั้งระบบ IOS และ Andriod
จากข้อมูลข้างต้นทุกคนคงพอเห็นภาพมากขึ้นแล้ว ว่ามาตรการนี้เป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้กู้ยืมอีกครั้งเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และเพิ่มโอกาสในการชำระหนี้มากขึ้นเนื่องจากในปัจจุบันมีจำนวนผู้กู้ยืมไม่น้อยที่ไม่ชำระเงินคืนจึงเกิดการฟ้องร้อง และลดโอกาสของผู้เรียนคนอื่น ๆ ที่รอคอยทุนจากส่วนนี้ในการนำไปศึกษาเล่าเรียน ดังนั้นผู้กู้ยืมจึงควรตระหนักถึงความสำคัญผ่านโอกาสที่ตนเองนั้นเคยได้รับเพื่อส่งต่อโอกาสเหล่านี้สู่รุ่นต่อ ๆ ไป