เงินคืนภาษี ได้ตอนไหน? เทคนิคการขอคืนภาษีในปี 2567
ภาษีถือเป็นเรื่องของทุกคน เป็นหน้าที่ของทุกคนที่มีรายได้ เมื่อมีการยื่นภาษี หลาย ๆ คนที่ชำระเกินไว้ก็คงเฝ้ารอเงินคืนภาษี ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระทางการเงินได้บ้าง เนื่องจากทำให้เราได้รับเงินคือจากภาษีที่จ่ายไป และนำเงินก้อนนั้นไปใช้ต่อในเรื่องอื่น ๆ ได้ แล้ว เงินคืนภาษี ได้ตอนไหน? เทคนิคการขอคืนภาษีในปี 2567 บทความนี้จะมาคลายกังวลให้คุณ พร้อมไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นภาษีกี่วันถึงจะได้เงินคืน เพื่อให้คุณได้รับเงินได้อย่างไม่ยากเย็น และถูกต้องมากที่สุด แล้วได้เงินภาษีคืนเท่าไหร่ เช็กยังไง ใช้เวลากี่วัน มาดูคำตอบในบทความนี้
เงินได้พึงประเมิน คืออะไร? มีกี่ประเภท
เงินได้พึงประเมิน หมายถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นใด ที่ได้มาโดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทน หรือได้มาโดยเสียน้อยกว่ามูลค่าที่ควรได้ ตามมาตรา 39 โดนประเภทของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี มีทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่
- เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
- เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการทำงานให้
- เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาลจากการทำงาน
- เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
- เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น
- เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
- เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
- เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว
ขั้นตอนการขอเงินคืนภาษี ปี 2567
ตรวจสอบสถานะการขอเงินคืนภาษี
- เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th > เลือกเมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี > ระบุหมายเลขผู้ใช้ รหัสผ่าน Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน หรือเข้าสู่ระบบด้วย Digital ID > เลือกเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลที่ได้แจ้งไว้ เพื่อรับรหัส OTP > กรอกรหัส OTP และกดยืนยัน > ติดตามสถานะและส่งเอกสาร
- ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center : 1161)
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในหน้าแบบแสดงรายการ
ช่องทางการส่งเอกสาร
ช่องทางการส่งเอกสาร เพื่อประกอบการพิจารณาคืนภาษี สำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เราสามารถส่งเอกสารผ่านอินเทอร์เน็ต หรือส่งเอกสารผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
- ส่งด้วยตนเอง
- โทรสาร (FAX) ตามหมายเลขโทรสารที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
- ไปรษณีย์ โดยส่งตามที่อยู่ที่ระบุใน “ใบนำส่งเอกสาร”
- Upload เอกสารทางอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th
ช่องทางการคืนเงินภาษีเงินได้
- การคืนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรมสรรพากรจะทำการโอนเงินภาษีที่ได้อนุมัติคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ สำหรับบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนกับบัญชีเงินฝากธนาคารและได้แจ้งความประสงค์ขอรับเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าว
- การคืนเงินผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กรณีผู้ขอคืนเงินภาษีไม่ประสงค์รับเงินภาษีคืนด้วยการโอนเงินภาษีคืนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ กรมสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เป็นหลักฐานเพื่อนำไปติดต่อรับเงินคืนที่สาขาธนาคารธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ดังนี้
- การคืนเงินสำหรับผู้ขอคืนที่ไม่สามารถลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก กรณี ชาวต่างชาติ ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล วิสาหกิจชุมชน และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง กรมสรรพากรจะออกหนังสือ ค.21 (หนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา) พร้อมเช็ค โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ตามที่อยู่บนแบบแสดงรายการให้ผู้ขอคืน เพื่อนำไปเข้าบัญชีเงินฝากที่สาขาธนาคารเท่านั้น
วิธีตรวจสอบบัญชีธนาคารคืนเข้าพร้อมเพย์
- ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th > เมนู My Tax Account ตรวจสอบข้อมูลทางภาษี > Login เข้าระบบ > ติดตามสถานะและส่งเอกสาร > สอบถามชื่อธนาคารที่นำเงินคืนภาษีเข้าบัญชีพร้อมเพย์
- ตรวจสอบจากสมุดบัญชีเงินฝากทุกบัญชีธนาคารที่มี ว่าเคยเปิดบัญชีไว้กับธนาคารใดบ้าง
- ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร, ตู้ ATM หรือ Application Mobile ของแต่ละธนาคาร โดยเลือกบริการ พร้อมเพย์ เมื่อระบุเลขประจำตัวประชาชน ระบบของธนาคารจะแจ้งว่าได้เคยลงทะเบียนไว้กับธนาคารใด จากนั้นขอให้ติดต่อธนาคารโดยตรง
เงินคืนภาษี ได้ตอนไหน
ตามปกติแล้ว ทางกรมสรรพากรจะดำเนินการคืนเงินภาษี ภายใน 3-5 วัน หากลงทะเบียนพร้อมเพย์ไว้แล้ส หรือ 3 เดือน กรณีมีเอกสารชัดเจนแสดงว่าได้มีการเสียภาษีไว้เกิน ผิด ซ้ำหรือไม่มีหน้าที่ต้องเสีย นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอคืนเงินภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.90/91 ที่แจ้งความประสงค์ขอคืนเงินภาษี หรือแบบ ค.10
จะเห็นได้ว่าการยื่นภาษี และการขอเงินคืนภาษีนั้นไม่ยากเลย เราสามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง และรับเงินผ่านช่องทางบัญชีออนไลน์ได้ ทั้งนี้ เราควรตรวจสอบมูลค่าของภาษีที่จะต้องจ่าย และคำนวนวันที่ต้องจ่ายภาษี เพื่อไม่ให้เราเผชิญกับปัญหาด้านภาษีหรือถูกค่าปรับในอนาคต