ประกันสุขภาพ เหมาจ่าย vs แยกจ่าย แบบไหนดีกว่า เลือกยังไงให้ตอบโจทย์
เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ไม่ใช่ทุกคนในสังคมไทยจะมีโอกาสได้เข้าถึงการรักษาอย่างอิสระ การไปโรงพยาบาลรัฐไม่ใช่เรื่องสนุกเลยสักนิด เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากเข้ารับการรักษาด้วยสิทธิ์ประกันถ้วนหน้า ประกันสุขภาพ จึงเป็นสิ่งที่หลายคนมองหา เพราะช่วยให้มีทางเลือกในการรักษามากขึ้น และสำหรับใครที่ยังสงสัย เลือกไม่ถูกว่า ประกันสุขภาพ เหมาจ่าย vs แยกจ่าย แบบไหนดีกว่า เลือกยังไงให้ตอบโจทย์ เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน
ประกันสุขภาพ เหมาจ่าย vs แยกจ่าย แบบไหนดีกว่า
อาการเจ็บป่วยเป็นสิ่งที่อาจจะยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้ แต่ใครจะรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ถึงแม้ว่าในประเทศไทยของเรานั้นจะมีสิทธิ์ประกันถ้วนหน้า ให้การรักษาทุกคนอย่างเท่าเทียมในโรงพยาบาลรัฐ โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ถึงอย่างนั้น ถ้าเลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากใช้สิทธิ์นี้ เพราะเราต้องรอคิวนานเสียเหลือเกินกว่าจะได้เข้ารับการรักษา แพทย์มีจำนวนไม่เพียงพอต่อผู้ป่วย เวลาได้เข้าห้องตรวจน้อยเสียเหลือเกิน
ประกันสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจในการใช้ชีวิต ช่วยเพิ่มความมั่นคง เป็นหลักประกันให้กับเรายามเจ็บป่วย ถึงแม้ว่าเบี้ยประกันสุขภาพอาจจะราคาค่อนข้างสูง แถมเรายังต้องซื้อประกันชีวิตอีกต่างหาก แต่ถ้าเทียบกันดีๆ แล้ว การจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพจะประหยัดมากกว่าการจ่ายค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนด้วยตัวเองแน่นอน
คำถามต่อมาก็คือ ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย vs แยกจ่าย แบบไหนดีกว่า เพราะประกันสุขภาพสามารถแบ่งรูปแบบการเคลมได้ 2 รูปแบบ แต่ละรูปแบบก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เราสามารถเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน หรือความต้องการของเราได้ แต่ละแบบจะเป็นยังไง มีข้อดีข้อเสียยังไง เราได้รวบรวมข้อมูลให้เพื่อนๆ เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย
เริ่มต้นกันที่ประกันสุขภาพแยกจ่าย มันคือประกันที่ให้ความคุ้มครองแบบแยกหมวดค่าใช้จ่าย ความคุ้มครองที่เราจะได้รับจะได้ตามวงเงิน ไม่เกินกว่าความคุ้มครองที่มีการกำหนดเอาไว้แต่ละหนวดด้วยกัน แล้วแต่แผนที่เราเลือก แต่ละบริษัทก็อาจจะมีนโยบายที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ก่อนเข้ารับการรักษา เราขอแนะนำว่าให้ติดต่อสอบถามประกันให้เรียบร้อยก่อนว่าความคุ้มครองเป็นยังไง เราต้องสำรองจ่ายก่อนไหม มีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่วงเงินคุ้มครองน้อย หรือไม่มีวงเงินคุ้มครองเลย
พูดให้เห็นภาพได้ชัดก็คือประกันแบบแยกจ่ายจะมีการกำหนดวงเงินแต่ละส่วน แยกย่อยออกเป็นประเภทอย่างชัดเจน อย่างเช่น วงเงินสำหรับห้องพักรักษาตัว วงเงินค่าแพทย์ วงเงินค่าผ่าตัด แต่ละแผนก็จะมีวงเงินมากน้อยแตกต่างกันออกไป หากวงเงินน้อยแล้วเราใช้เกินขึ้นมา เราก็ต้องจ่ายส่วนต่างเอง และยังกำหนดวงเงินค่ารักษาในแต่ละครั้งด้วย อย่างเช่นครั้งละไม่เกิน 20,000 บาท เข้าโรงพยาบาลครั้งนึงก็ต้องรักษาไม่เกิน 20,000 บาท เราถึงจะได้ไม่ต้องเสียค่าส่วนต่างเพิ่มเติม
สำหรับผู้เอาประกันอย่างเรา เวลาเจ็บป่วยขึ้นมาเราสามารถเลือกได้ว่าจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ หรือจะไปที่โรงพยาบาลเอกชน ก่อนเข้ารับการรักษาเราสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายคร่าวๆ พวกค่าห้อง หรือค่าบริการได้ ช่วยให้เราวางแผนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ว่าค่าใช้จ่ายจะอยู่ในวงเงินคุ้มครองครอบคลุมหรือไม่
ข้อดี
- ไม่กำหนดวงเงินสูงสุดในแต่ละปี ขึ้นอยู่กับว่ากรมธรรม์แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขอย่างไร
- เราเลือกความคุ้มครองตามงบประมาณของเราได้ เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัด ให้เราเลือกโดยเปรียบเทียบค่าห้องให้เหมาะสำหรับโรงพยาบาลที่เราไปรับการรักษาเป็นประจำ
- ไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ข้อจำกัด
- วงเงินคุ้มครองมีการกำหนดแยกแต่ละประเภทอย่างชัดเจน ทำให้ความคุ้มครองอาจไม่ครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง ส่วนต่างที่เกิดขึ้น เราต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายส่วนต่างเองทั้งหมด
- บางกรมธรรม์อาจมีเงื่อนไขข้อจำกัดในการคุ้มครอง โดยเฉพาะหากเราเคยป่วยเป็นโรคเรื้อรัง หรือมีประวัติอาการเจ็บป่วยมาก่อนที่จะทำประกัน ยิ่งถ้าเราไม่ได้แจ้งทางบริษัท อาจเป็นการผิดสัญญาได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคเรื้อรัง หรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นมาก่อน เราต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด
- เราไม่สามารถเลือกรับการรักษากับโรงพยาบาล หรือแพทย์ที่ไม่คุ้มครองโดยประกันได้ เพราะเราจะไม่ได้รับสิทธิ์ความคุ้มครองจากประกัน ทำให้ต้องจ่ายเงินค่ารักษาด้วยตัวเองเหมือนกัน
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
เป็นประกันที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เลยไม่น่าแปลกใจถ้าเพื่อนๆ จะเคยได้ยินมาก่อน เพราะมันสะดวกสบายเป็นอย่างมาก ช่วยให้เราสบายใจเวลาเจ็บป่วยขึ้นมาได้แบบแทบจะปลิดทิ้งเลยทีเดียว เพราะประกันประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองเราทุกอย่าง ทั้งค่ารักษา ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วย มีทั้งแบบสำรองจ่ายก่อน และไม่ต้องสำรองจ่าย ให้ความคุ้มครองเราตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมง ตามช่วงเวลาที่กำหนดเอาไว้ในกรมธรรม์ วงเงินคุ้มครองมากน้อยขึ้นอยู่กับแผนประกันของเรา
พูดให้เห็นภาพได้ชัดก็คือ เป็นประกันที่จะจ่ายค่ารักษาให้กับเราแบบเหมาๆ ไม่มีการแยกประเภทค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่ให้ยุ่งยาก มีวงเงินกำหนดชัดเจน อย่างเช่นประกันสุขภาพเหมาจ่าย IPD วงเงินสูงสุด 200,000 บาท หากเราเข้ารับการรักษาด้วยการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เราสามารถใช้วงเงินได้สูงสุด 200,000 บาทเลย ไม่ต้องมานั่งเครียดว่าค่าใช้จ่ายแต่ละหมวดหมู่เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพียงแต่ว่าวงเงินเหล่านี้จะเป็นวงเงินเหมาต่อปี หากเรามีค่ารักษามากกว่า 200,000 บาทต่อปี ส่วนที่เหลือต้องจ่ายเอง
ข้อดี
- เราสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีหลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน
- ป้องกันไม่ให้เกิดภาระหนี้สินตามมาจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงจนกระทบสภาพคล่องทางการเงิน
- ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ค่าตรวจโรค ค่ารักษา ค่ารักษาโรคร้ายแรง ค่าผ่าตัด ค่าห้องพัก อยู่ที่ว่าแผนประกันของเราคุ้มครองค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง และคุ้มครองทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่
ข้อจำกัด
- ประกันเหมาจ่ายครอบคลุมค่าใช้จ่ายค่อนข้างครบถ้วน มันจึงตามมาด้วยค่าเบี้ยที่สูงไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งเราเลือกแผนที่มีวงเงินครอบคลุมสูงเท่าไหร่ ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วยเท่านั้น
- บางแผนอาจมีการจำกัดวงเงินค่าห้องพัก ไม่รวมอยู่ในวงเงินเหมาจ่าย หรืออาจมีกำหนดวงเงินว่าค่าห้องพักในแต่ละวันต้องไม่เกินจำนวนเงินเท่าไหร่ หากมีส่วนเกินเราก็ต้องจ่ายเองทั้งหมด
เลือกซื้อประกันสุขภาพ เหมาจ่าย หรือแยกจ่าย ดีกว่ากัน
ความจริงแล้วประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย และแยกจ่ายก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าเรามีงบประมาณมากน้อยแค่ไหน ต้องการความคุ้มครองที่ครอบคลุมเท่าไหร่ สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่ยังเลือกไม่ถูกว่าจะทำประกันแบบไหนดี เราจะพาทุกคนไปดูกันว่าประกันแต่ละแบบเหมาะสำหรับใครกันบ้าง
ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย
- คนที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรง ไม่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรังก่อนทำประกัน
- คนที่มีงบประมาณในการทำประกันไม่สูงมาก ไม่สามารถแบกรับภาระค่าเบี้ยประกันสูงๆ ในแต่ละปีได้
- คนที่สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บป่วย หรือหากเจ็บป่วยก็ไม่ใช่อาการป่วยหนัก
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
- คนที่ต้องการความสบายใจ ไม่อยากนั่งกังวลเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล
- คนที่เจ็บป่วยบ่อย ต้องเข้ารับการรักษาอยู่เป็นประจำ หรือมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป
- คนที่มีงบประมาณในการทำประกันค่อนข้างสูง สามารถแบกรับภาระค่าเบี้ยประกันสูงๆ ได้ทุกปี
สรุปแล้ว ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย vs แยกจ่าย แบบไหนดีกว่า ขึ้นอยู่กับว่าเรามีงบประมาณมากน้อยแค่ไหน และต้องการความคุ้มครองแบบใด ถ้ามีงบประมาณน้อย เป็นคนไม่ค่อยเจ็บป่วยอยู่แล้ว หรือเจ็บป่วยก็ไม่ถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล ประกันแบบแยกจ่ายก็คุ้มค่าเหมือนกัน แต่หากมีงบประมาณสูง อยากได้ความสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่ารักษาพยาบาล เป็นคนที่อาจจะเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ บ่อย อยากได้หลักประกันสุขภาพ เราขอแนะนำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเลย