ในการทำหรือก่อตั้ง ธุรกิจ SME ขนาดย่อมนั้นจัดได้ว่าในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ถือว่าเป็นความเสี่ยงหรือเป็นจุดเสี่ยงเป็นอย่างมากเลย แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะเสมอไปนะคะ เพราะบางครั้งเราสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสอย่างที่คาดไม่ถึงได้เช่นกัน
วันนี้เรามีเทคนิคและเคล็ดลับในการพลิกวิกฤติเหล่านั้นให้พยุงตัวธุรกิจหรือทำให้ ธุรกิจ SME ขนาดย่อมดำเนินได้และสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วดังนี้ค่ะ
1. ลดค่าใช้จ่าย
พยายามสร้างรายจ่ายให้อยู่ในขั้นต่ำเข้าไว้คือพยายามลดจำนวนในค่าใช้จ่ายโดยการเริ่มจากสิ่งเล็กๆน้อยๆเพื่อดูลู่ทางหรือแนวทางความเป็นได้เสียก่อนที่จะทำ หรือจะดำเนินการขยายกิจการ ให้เติบโตไปกว่าเดิม โดยใช้ระยะเวลาสักเดือน สองเดือน หรือสามเดือน เพื่อเป็นสิ่งที่ยืนยันความก้าวหน้า หรือระดับความมั่นคงและสามารถสร้างความเติบโตได้เป็นอย่างดีในเศรษฐกิจที่ย่ำแย่แบบนี้
2. บัญชีสำคัญ !
ไม่ควรเป็นอย่างยิ่งเลยนะคะสำหรับผู้ที่ริเริ่มทำธุรกิจ จะต้องมีความรอบคอบ ไม่ละเลยจุดเล็กๆน้อยๆ และควรที่จะมีระบบป้องกันตัวเองเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะถ้าวันนี้บริษัทคุณเพิ่งจะเริ่มต้น การจ้างพนักงานมาทำบัญชี จ้างนักกฎหมายมาดูสัญญาระหว่างคุณกับคู่ค้า หรือเปิดโรงงานเอง คงจะเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น การจ้างพนักงานทำบัญชีในช่วงเริ่มแรก เป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาดมาก เพราะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กนั้น ค่าใช้จ่ายนี้เพียงแค่ 2-3 หมื่นบาทต่อปีเท่านั้นเป็นการลดภาระหน้าที่ในรายจ่ายได้ดีไม่น้อย ส่วนเรื่องสินค้าคุณก็ควรจะจ้างคนอื่นผลิตก่อน เพราะคุณยังไม่รู้เลยว่าสินค้าคุณจะขายได้หรือเปล่า ถ้าลงทุนเปิดโรงงานไปเป็นล้านบาท สุดท้ายขายของไม่ได้ เงินคุณจะจมไปกับโรงงาน กลับตัวก็ไม่ได้ เปลี่ยนไปขายอย่างอื่นก็ไม่ได้ เจ๊งสถานเดียว
3. ต้องเรียนรู้การตลาด
ควรมีการตลาดที่ดีและคุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตลาดที่ดี เพื่อเป็นการรักษาเงินสดให้อยู่กับคุณ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถึงแม้ว่าการโฆษณา และทำการตลาดจะมีความสำคัญ ต่อการผลักดันสินค้าจากคุณ ไปสู่ผู้บริโภคได้แต่จะดีกว่าไหม ถ้าวันนี้คุณทำการตลาดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ผ่านทางสื่อยุคใหม่ สามารถทำได้โดยแทบไม่ต้องใช้เงินเลย และยังช่วยนำเสนอสินค้าของคุณได้เป็นอย่างดี เพราะปัจจุบันนี้เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนสามารถเข้าถึง และจัดได้เลยว่าเป็นการตลาดที่ดีเยี่ยมเลยนั่นเองค่ะ
4. ทุนฉุกเฉิน
จัดเงินทุนสำรองไว้ในกรณีเร่งด่วนหรือกรณีที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆที่ไม่คาดคิดหรือคาดฝัน จะดีมากเลยนะคะถ้าคุณมีวงเงินกู้จากธนาคาร ไว้รองรับเหตุฉุกเฉินของธุรกิจ และมันคงจะดีมาก ถ้าคุณมีวงเงินกู้จากธนาคาร เก็บไว้รองรับการเติบโตของธุรกิจเหมือนอย่างที่คำโบราณกล่าวไว้ว่า “ตีเหล็กต้องตีตอนร้อน” หากคุณไม่ลงทุนเพิ่ม ในเวลาที่มีจังหวะและโอกาส มันก็เป็นการยากที่จะพบกับโอกาสนั้นอีกแต่ถ้าคุณตั้งบริษัทไว้ล่วงหน้า จัดทำบัญชีอย่างเป็นระบบ คุณก็จะขอวงเงินสินเชื่อกับธนาคารได้ง่าย
5. ตรวจตราตลอด
คุณต้องทำงบประมาณรายรับรายจ่ายไว้อย่างชัดเจน และต้องรอบคอบที่สุดไม่ควรที่จะไว้วางใจ หรือเชื่อใจในตัวผู้อื่น ควรจะหมั่นตรวจสอบและตรวจตราเป็นอย่างดี ถ้าคุณเริ่มทำบัญชีให้เป็นระบบ และทำประมาณการรายรับ รายจ่ายของธุรกิจล่วงหน้า เพื่อดูว่า เมื่อไรที่คุณขาดว่าจะขาดเงิน จะได้หาเงินมาเติมสภาพคล่องของธุรกิจได้ทัน
หรือการเก็บหนี้ของธุรกิจทำได้ดีหรือไม่ สินค้าคงคลังอยู่ในสต็อกเรานานไปมั้ยนอกจากนี้ ยังสามารถบอกได้ว่า ฝ่ายขาย หรือฝ่ายการตลาดของคุณ ทำหน้าที่ได้ตามเป้าหมายที่คุณวางไว้หรือเปล่า ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นว่าทุกส่วนของธุรกิจยังปฏิบัติงานได้ดีหรือไม่ จุดอ่อน และจุดแข็งของธุรกิจคุณอยู่ที่ไหน
6. ค่อยเป็นค่อยไป
ไม่ควรรีบเร่งในธุรกิจให้รวดเร็วจนเกินไป ควรริเริ่มที่ละเล็กละน้อย โดยพยายามสร้างจุดเด่นให้กับตัวสินค้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก่อน ที่จะไปหลากหลายชิ้น เพราะหากเราพยายามสร้างการขายหรือโฟกัสไปที่สินค้าโดยรวมแล้วทำให้การเข้าถึงหรือการดูแลก็เป็นไปอย่างยากลำบาก พาลจะทำให้เสียงาน และพาลจะพาให้ธุรกิจเกิดปัญหาด้วยนะคะ
ดังนั้น การโฟกัสไปที่สิ่งของชิ้นใดชิ้นหนึ่งแล้วค่อยๆมีความเป็นไปจะสามารถสร้างการเจริญเติบโตของธุรกิจได้เป็นอย่างดี และมีแนวโน้มว่าจะสามารถสร้างความเจริญเติบโตได้ดีไม่น้อยเลยนะคะ
ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตลาดของตัวสิ้นค้านั้นๆ ด้วยว่ามีความต้องการหรือตรงต่อความต้องการมากน้อยเพียงไหน
7. ตามทันเศรษฐกิจ
สำรวจแนวโน้มความเป็นมาของเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ โดยต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด เพื่อการเตรียมความพร้อม และมองหาโอกาสที่จะขยายธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่วันหนึ่งเมื่อโอกาสมาถึง จะได้ไม่พลาดที่จะได้ลงทุนสร้างความเติบโตให้กับ ธุรกิจขนาดย่อม ของคุณ
คุณจึงต้องสำรวจความต้องการของตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดูว่าสินค้าที่คุณมีอยู่ ยังมีคนต้องการอีกหรือไม่ หรือมันเก่าไปแล้วตกยุคไปแล้ว และคุณก็ต้องหาโอกาสใหม่ๆที่จะขยายธุรกิจ อาจจะฟังจากความเห็นของลูกค้า คุยกับคู่ค้าของคุณ หรือสอบถามพนักงานที่อยู่หน้างานของคุณ