ใครๆก็คงคุ้นเคยกับเหตุการณ์ที่เคยเจอะเจอมาไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทที่ทำงานด้วยกัน หรือญาติ ๆ ต่างก็ต้องส่ายหัว เมื่อได้ยินคำว่าลองทำประกันไว้สักนิดไหม ? ก็มักจะได้รับการตอบกลับแบบไม่เอาไม่คุยกันไปทุกราย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้ ทั้งๆที่การทำประกันก็มีข้อดีอยู่นี่นา แล้วทำไมคนถึงไม่ค่อยชอบคุยเรื่องประกันกับพนักงานขายบ้างเลย
ที่จริงแล้วพวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ว่า ไม่ชอบการทำ ประกันชีวิต หรอกครับ เพียงแค่พวกเขาอาจจะมีปมความคิดฝังใจในเรื่องที่เกี่ยวกับพนักงานขายต่างหาก เช่น การโดนโกงเงิน หรือการถูกหลอกให้ซื้อประกันเพื่อที่จะได้ค่าคอมมิชชั่นเยอะๆ เป็นต้น เมื่อฝังเป็นความคิดเป็นเวลานานขึ้น ย่อมทำให้ใจมันปิด ไม่อยากรับฟังไม่อยากรับรู้หรือพูดคุยเสวนาด้วย แต่เดี๋ยวก่อนครับ ทุกอย่างล้วนต่างมีข้อดีข้อเสียในตัวมันเองเช่นกัน ฉะนั้นการทำประกันชีวิต ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายอะไร ข้อมูลต่อไปนี้อาจจะช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ก่อนทำประกันครับ
ประกันชีวิต เปรียบเสมือนกับการออมเงินในอย่างหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบของการคุ้มครองความเสี่ยงต่างๆ เช่น อุบัติเหตุ เจ็บป่วยกะทันหันต้องได้รับการรักษา ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ เสียชีวิต สูญเสียรายได้ในวัยชรา โดยเราผู้ที่ต้องการทำประกันจะมีฐานะเป็น “ ผู้เอาประกันภัย ” เมื่อเราทำสัญญากับบริษัทประกันภัย บริษัทใดบริษัทหนึ่งแล้ว จะต้องจ่ายค่ากรมธรรม์หรือหนังสือสัญญาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น จ่ายค่าประกันทุก ๆ 3 เดือน 6 เดือน หรือทุกๆ 1 ปี ไปจนครบกำหนดอายุกรมธรรม์
ซึ่งภายในระยะเวลาที่ทำประกันนี้ หากเรามีอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย เราก็สามารถเบิกใช้ตาม ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาได้ และพอเมื่อกรมธรรม์มีอายุครบกำหนด สิ้นสุดลง หรือผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ก็จะได้รับเงินในส่วนที่เป็นเงินเบี้ยประกันภัยหรือทุนประกันชีวิตนั่นเอง ทั้งนี้ประกันชีวิตก็มีให้เลือกหลายแบบตามความต้องการและวัตถุประสงค์ของการทำประกันภัย ซึ่งได้แก่
1. ประกันชีวิต แบบตลอดชีพ (Whole life Insurance)
หากเราคิดถึงอนาคตและวางแผนการใช้ชีวิตในวันข้างหน้าอยู่แล้ว ประกันชีวิตประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีครอบครัว มีลูกหลานและภาระที่ต้องดูแลรับผิดชอบ เป็นการทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงตลอดชีพ หากผู้ที่เอาประกันภัยเป็นอะไรขึ้นมาก็สามารถนำเงินประกันส่วนนี้ไปเบิกใช้จ่ายได้เลย ทั้งค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ต้องห่วงว่าจะไม่มีเงินรักษา แม้จะเสียชีวิตไปก็ไม่เป็นภาระให้กับคนที่อยู่ข้างหลัง สามารถโอนผลประโยชน์เป็นมรดกเก็บไว้ให้ลูกหลานได้ใช้ต่อไปได้
2. ประกันชีวิต แบบออมทรัพย์ (Endowment Insurance)
เหมาะกับผู้ที่ต้องการสะสมทรัพย์ในระยะยาวเช่น ช่วง 10 ปี เป็นต้นโดยจะเป็นไปในลักษณะของรูปแบบการประกันภัยไปด้วยและเป็นการฝากเงินไปด้วย อายุสัญญาจะไม่ตลอดชีพซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว หากไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ไม่ตาย ผู้เอาประกันภัยก็สามารถเบิกคืนได้เมื่อครบสัญญา
3. ประกันชีวิต แบบประจำ(Annuities Insurance)
เป็นการประกันภัยที่จะได้เงินประกันภัยเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ โดยเงินจำนวนนั้นจะค่อยๆถูกแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน เดือนละเท่ากันๆ จนครบตามจำนวนเงิน กว่าที่จะได้เงินคืนครบตามจำนวนอาจจะต้องใช้เวลาตั้ง 3 ปีขึ้นไป ถ้าภายในระยะเวลาที่รับเงิน ผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้เสียชีวิต ก็จะได้รับเงินในทุกๆเดือน โดยที่ไม่ต้องห่วงว่า ตนเองจะเป็นภาระให้ลูกหลานในการจ่ายค่าเลี้ยงดู และถ้าหากเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่ยังได้รับเงินทุกเดือนแต่ยังได้ไม่ครบตามจำนวน เงินส่วนที่เหลือก็จะได้รับคืนโดยผู้ที่เป็นทายาทรับแทน
4. ประกันชีวิต แบบชั่วคราว (Term Insurance)
เป็นการทำประกันชีวิตภายในระยะสั้นๆ เช่น 5 ปี 10 ปี 20 ปี เป็นต้น ซึ่งถ้าหากภายในระยะเวลานี้ที่ผู้ทำประกันได้เสียชีวิตลง บริษัทก็จะจ่ายเงินในส่วนที่เป็นเงินประกันภัยนั้น แต่ถ้ายังมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา จะไม่สามารถเอาเงินประกันคืนได้เพราะเบี้ยประกันภัยจะต่ำกว่าแบบอื่นๆ ประกันชีวิตประเภทนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองในระยะสั้นๆ
ประโยชน์ของการทำ ประกันชีวิต
นอกจากจะคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาแล้ว ประกันชีวิตบางประเภทยังเปรียบเสมือนเป็นการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่นคงในชีวิตอีกด้วย ยังไงก็ยังดีกว่าไม่มีหลักประกันอะไรเลย ถ้ายามเราเจ็บไข้ได้ป่วยก็สามารถเบิกจ่ายก่อนได้ สะดวกสบาย ไม่ต้องไปลำบากหรือเดือดร้อนหยิบยืมใคร นอกจากนี้ยังเป็นมรดกชิ้นสุดท้ายที่เราสามารถสร้างมันไว้ให้กับลูกหลานของเราได้ ในกรณีที่เราเสียชีวิตไป หรือแม้แต่เกิดอุบัติเหตุสูญเสียอวัยวะสำคัญ,พิการไม่สามารถทำงานได้ปกติ เงินจากการทำประกันไว้ ก็จะสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้ หากใครที่สนใจทำประกันภัยจริงๆ ควรตรวจสอบตนเองก่อนว่า เหมาะสมที่จะทำประกันภัยประเภทใดและจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน แต่ละปี เราสามารถที่จะหามาชำระเพียงพอ หรือกระทบต่อการดำเนินชีวิตหรือไม่ ถ้าเลือกได้แล้ว ก็ติดต่อทำประกันกับบริษัทที่ไว้ใจได้ มีความน่าเชื่อถือ อาจจะติดต่อกับทางบริษัทโดยตรงหรือผ่านตัวแทนก็ได้เช่นเดียวกันครับ.
เพราะพรุ่งนี้เราไม่สามารถคาดเดาอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การหาเบาะไว้เพื่อรองรับความเสี่ยง ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้เราไม่ต้องลำบากมากในชีวิตบั้นปลาย สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น หลักประกันความมั่นคงของชีวิตที่ดีที่สุดก็คงไม่พ้นการดูแลตนเองให้ดีที่สุด ในทุกๆวัน ฝากกันไว้เพียงเท่านี้ครับ.
อยากทำประกันชีวิต แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง ปรึกษาเราสิ! >> คลิกเลย <<